WebBoard :กฎหมาย|ปล่อยเงินกู้ร้อยละ20ผิดกฏหมายหรือไม่

ปล่อยเงินกู้ร้อยละ20ผิดกฏหมายหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ปล่อยเงินกู้ร้อยละ20ผิดกฏหมายหรือไม่

  • 5803
  • 10
  • post on 3 ต.ค. 2554, 23:55

มีเพื่อนปล่อยเงินกู้รอ้ยละ20ต่อเดือนก็เลยเป็นที่ถกเถียงกันว่ามีความผิดกับไม่มีความผิดบางคนบอกว่าไม่มีความผิดเพราะมีสัญญากู้ยืมถ้า้มีปัญหาลูกหนี้เบี้ยวก็ฟ้องได้เฉพาะเงินต้นส่วนดอกเบี้ยนั้นฟ้องไม่ได้เพราะเป็นโมฆะส่วนอีกคนบอกว่ามีความผิดเพราะปล่อยเงินกู้โดยไม่จดทะเบียนแล้วก็มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนด้วย

โดยคุณ จิราพร นครเขต (49.230.xxx.xxx) 3 ต.ค. 2554, 23:55

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 8

 จะถามว่าจำนำฉโหนเที่ดินไว้แต่เจ้าหนี้คิดร้อยละยี่ แล้วตอนนี้ที่ดินสองแปลงประมาณยี่สิบไร่ได้โดนเจ้าหนี้ยึดเป็นของเค้เปล่ง อย่างนี้ต้องทำอย่างไรค่ะ และทุกๆวันยังมาเก็บทั้งรายวันไม่สิ้นสุดสักทีช่วยหน่อยค่ะ

โดยคุณ วิภวานี 14 ธ.ค. 2559, 19:57

ตอบความคิดเห็นที่ 8

 กรณีตามปัญหา หนี้นอกระบบหมายถึงการกู้หนี้ยืมสินที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน เช่น การกู้ยืมกันระหว่างเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้อง ซึ่งการกู้ยืมเงินดังกล่าวจะไม่มีกฎกติกามารยาทที่เป็นมาตรฐาน เช่น การทำสัญญากู้ยืมเงินอาจจะใช้กระดาษเปล่าเขียน

การคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดซึ่งตามกฎหมายแล้วจะเรียกดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี   แต่ในทางปฏิบัติการกู้ยืมเงินนอกระบบจะคิดดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมาย 
แนะนำให้ลองเข้าไปคุยกับเจ้าหนี้ดูก่อน   เพื่อยืดระยะเวลาในการจ่ายหนี้ออกไปอีก โดยขอตกลงว่าจะแบ่งจ่ายก็งวด
 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 23 ธ.ค. 2559, 10:52

ความคิดเห็นที่ 7

 รุ้ทั้งรุ้ว่าดอกมันแพงจะไปกู้ทำไม เอาเงินเขามาแล้วยังจะมาแจ้งจับเขาอีก สันดาน จริงๆ

โดยคุณ Jk 15 มิ.ย. 2559, 22:48

ความคิดเห็นที่ 6

โทษน่าจะนักกว่านั้นอีกสักหมื่นเท้าเป็นการเอาเปลียบคนกู้มากเกินไปเอาผิดทั้งผู้รับสินบนผู้รับสินบนผิดจนให้ออกจากงานไปเลย

โดยคุณ คำสิงห์ ชัยแก้ว 28 ต.ค. 2558, 21:03

ความคิดเห็นที่ 5

 การกระทำเช่นนี้น่าจะอายั้ดเข้ากระทรวงให้หมดทั้งประเทศเลยไม่ให้มีคนที่เก็บเงินรายวันในประเทศไปเลย

โดยคุณ คำสิงห์ ชัยแก้ว 28 ต.ค. 2558, 20:56

ความคิดเห็นที่ 4

 ที่เขาเก็บรายวันร้อยละสามสิบบาทต่อวัน แค่ซื้อสัญญาที่ใหนส้กแห่งมาทำมันผิดหรือไม่ทำไมเขายังทำได้ทุกวันนี้เลย

โดยคุณ คำสิงห์ ชัยแก้ว 28 ต.ค. 2558, 20:49

ความคิดเห็นที่ 3

 ต้องแจ้งไคร มาจับกุมและต้องใช้หลักฐานอะไร

โดยคุณ boonpun yamar 7 พ.ค. 2558, 06:00

ความคิดเห็นที่ 2

การเรียกดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนดคือ เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ปพพ. ม.654 มีโทษ  ตามกฎหมาย  คือ พระราชบัญญัติเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช ๒๔๗๕ มาตรา 3...แต่ผู้กู้ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องผู้ให้กู้ได้  และดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด  ไม่สามารถเรียกคืนได้  เพราะเป็นการใช้หนี้ตามอำเภอใจตาม ปพพ.407   และสัญญากู้ไม่เป็นโมฆะ  ผู้ให้กู้สามรถฟ้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทั้งหมด   และสามารถเรียกดอกเบี้ยที่ผิดนัดได้ ร้อยละ  7.5 ต่อปี  สำหรับความผิดของเจ้าหนี้ต้องร้องให้อัยการดำเนินคดีครับ....
 

มาตรา ๓ บุคคลใด

(ก) ให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ

(ข) เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราท่านบัญญัติไว้ในกฎหมาย บังอาจกำหนดข้อความอันไม่จริงในเรื่องจำนวนเงินกู้หรืออื่น ๆ ไว้ในหนังสือสัญญา หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ หรือ

(ค) นอกจากดอกเบี้ย ยังบังอาจกำหนดจะเอา หรือรับเอาซึ่งกำไรอื่นเป็นเงินหรือสิ่งของ หรือโดยวิธีเพิกถอนหนี้ หรืออื่น ๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืม

ท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 4 ต.ค. 2554, 13:18

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ขอบพระคุณพี่มากคะ

โดยคุณ จิราพร นครเขต 5 ต.ค. 2554, 15:26

ตอบความคิดเห็นที่ 2

 ขอบคุณมากๆคะ

โดยคุณ จิราพร นครเขต 5 ต.ค. 2554, 15:27

ความคิดเห็นที่ 1

หากผู้ให้กู้ไม่ใช่สถาบันการเงิน การให้กู้ยืมเงินย่อมอยู่ภายใต้บังคับ พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา 2478 ถ้าและเจ้าหนี้ผู้ให้กู้มให้กู้ยืมโดยเรียกดอกเบี้นเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มีความผิดมีโทษจำคุกทางอาญาด้วย

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 4 ต.ค. 2554, 11:54

แสดงความเห็น