WebBoard :กฎหมาย|กู้เงินโดยสัญญาเงินกู้สูงกว่ายอดจริง

กู้เงินโดยสัญญาเงินกู้สูงกว่ายอดจริง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

กู้เงินโดยสัญญาเงินกู้สูงกว่ายอดจริง

  • 399
  • 1
  • post on 26 มิ.ย. 2565, 03:49

ดิฉันเคยได้ตกลงกับเจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้นำเงินมาให้ฉันไปปล่อย จำนวนหนึ่ง ประมาณ 2 เเสนบาท โดยที่เรียกเก็บดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน เเล้วนำดอกเบี้ยมาเเบ่งกัน ต่อไป ฉันเก็บเงินไม่ได้ เเต่กลัวเจ้าหนี้ด่า เลยไม่ได้นำเงินดอกเบี้ยไปส่งให้เจ้าหนี้ เเต่บอกเจ้าหนี้ว่า มีคนมาขอกู้เพิ่ม ได้นำดอกเบี้ยไปให้กู้เเล้ว ก็ทำเเบบนี้ไปประมาณ1ปี ดอกทบต้นทบดอกไปเรื่อยๆ จนเจ้าหนี้รู้ว่าเงินมันสูญไปเเล้ว เจ้าหนี้ทำการรวมดอกเบี้ยกับเงินต้น จนยอดเงินประมาณ 6 เเสนกว่าบาท เเละจับดิฉันเซ็นสัญญาเงินกู้ พร้อมกับให้ลูกดิฉันเซ็นค้ำประกัน (ลูกอายุ 19 ปี ยังเป็นผู้เยาว์) 

อยากทราบว่า

1. สัญญาเงินกู้ฉบับนั้น ดิฉันต้องชดใช้ตามยอด 6 เเสนกว่าบาท หากโดนฟ้องร้องหรือไม่คะ ศาลจะตัดสินให้ตามยอดในสัญญาไหมคะ

2. เเล้วลูกดิฉัน ต้องรับผิดในฐานะคนค้ำด้วยไหมคะ ตอนค้ำให้อายุเเค่ 19  ปัจจุบัน 23 เเล้ว ไม่อยากให้น้องมาเกี่ยวข้อง มีข้อต่อสู้อย่างไรคะ

ขอบพระคุณค่ะ

โดยคุณ พรทิพย์ (xxx) 26 มิ.ย. 2565, 03:49

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การกู้ยืมเงิน

1. สัญญาเงินกู้ฉบับนั้น ดิฉันต้องชดใช้ตามยอด 6 เเสนกว่าบาท หากโดนฟ้องร้องหรือไม่คะ ศาลจะตัดสินให้ตามยอดในสัญญาไหมคะ

ตอบ...ตามข้อเท็จจริง  คงไม่ใช่การกู้ยืมเงิน  แต่เจ้าของเงิน นำเงินไปให้คุณปล่อยกู้  เพื่อนำดอกเบี้ยมาแบ่งกัน  จึงเป็นการทำหุ้นส่วนร่วมกัน  คือ เขาเป็นผู้ออกเงิน  คุณเป็นผู้ออกแรง(นำไปปล่อยกู้  และเก็บดอกเบี้ย)  เมื่อเกิดความเสียหาย  หุ้นส่วนต้องร่วมกันรับผิดชอบ   การให้คุณทำสัญญากู้ยืมเงิน จำนวน 6 แสนบาท  จึงเป็นสัญญากู้ที่ไม่มีมูลหนี้จริง   เพราะเป็นการให้คุณนำไปปล่อยกู้  เมื่อเก็บเงินไม่ได้ หุ้นส่วนก็ต้องรับผิดร่วมกัน  คือเมื่อหนี้สูญ  จะให้คุณผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งรับผิดทั้งหมด ย่อมไม่ถูกต้อง   ต้องรับผิดร่วมกัน   เมื่อเก็บหนี้ไม่ได้   ก็ต้องร่วมกันไปฟ้องร้องผู้กู้ยืมเท่านั้น  ถ้าคุณถูกฟ้องร้องให้รับผิดในหนี้ 6 แสนบาท  ต้องยื่นคำให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ให้ชัดเจน   สรุปคุณจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินนี้  เรื่องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย    ถ้าถูกฟ้องตามสัญญากู้ยืมเงิน 6 แสนบาท  ต้องยื่นคำให้การต่อสู้ให้ทันกำหนด  ถ้านิ่งเฉยไม่ใช้สิทธิโต้แย้ง อาจจะต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมนั้น...

2. เเล้วลูกดิฉัน ต้องรับผิดในฐานะคนค้ำด้วยไหมคะ ตอนค้ำให้อายุเเค่ 19  ปัจจุบัน 23 เเล้ว ไม่อยากให้น้องมาเกี่ยวข้อง มีข้อต่อสู้อย่างไรคะ

ตอบ..ผู้เยาว์ทำนิติกรรม (ค้ำประกัน) โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาล  นิติกรรมนั้นจึงเป็นโมฆะ  ใช้บังคับไม่ได้ ตาม ปพพ. ม.1574(10) และแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2558...ในขณะทำนิติกรรมเป็นผู้เยาว์ (ย่อมเป็นโมฆะมาแต่แรก)  แม้ต่อมาจะบรรลุนิติภาวะ (อายุ 23 ปี) นิติกรรม(การค้ำประกัน)ก็ย่อมเป็นโมฆะ...และสัญญากู้ยืมกู้เงิน ที่ไม่มีมูลหนี้  ตามข้อ  1  จึงไม่ต้องกังวลว่าลูกจะต้องรับผิด....ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 26 มิ.ย. 2565, 11:06

แสดงความเห็น