WebBoard :กฎหมาย|น้องชาย โอนที่ดิน ให้พี่ชาย (เนื่องจากน้องชาย ยืมเงิน พี่ชาย แล้วไม่มีเงินจ่าย เลยโอนที่ดินให้ 1 แปลง) แล้วพี่ชาย โอนที่

น้องชาย โอนที่ดิน ให้พี่ชาย (เนื่องจากน้องชาย ยืมเงิน พี่ชาย แล้วไม่มีเงินจ่าย เลยโอนที่ดินให้ 1 แปลง) แล้วพี่ชาย โอนที่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

น้องชาย โอนที่ดิน ให้พี่ชาย (เนื่องจากน้องชาย ยืมเงิน พี่ชาย แล้วไม่มีเงินจ่าย เลยโอนที่ดินให้ 1 แปลง) แล้วพี่ชาย โอนที่

  • 421
  • 1
  • post on 5 พ.ค. 2565, 14:08

น้องชาย(นายA) โอนที่ดิน ให้พี่ชาย(นายB) (เนื่องจากน้องชาย ยืมเงิน พี่ชาย แล้วไม่มีเงินจ่าย เลยโอนที่ดินให้ 1 แปลง) แล้วพี่ชาย(นายB) โอนที่ดินแปลงนี้ต่อให้ลูกชายตนเองแล้ว เป็นชื่อลูกของ พี่ชาย(นายB)แล้ว
- ถามว่า น้องชาย(นายA) จะสามารถเรียกคืนที่ดินแปลงนี้ได้หรือไม่
- ถ้าลูกของพี่ชาย(นายB) อยากครอบครงที่แปลงนี้แบบถูกต้องตามกฏหมาย โดยไม่สามารถให้ใครเรียกคืนได้ ต้องทำอย่างไรบ้าง


-ขอบคุณครับ

โดยคุณ ยุพ (202.151.xxx.xxx) 5 พ.ค. 2565, 14:08

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การโอนที่ดินเพื่อใช้หนี้

  ต้องปฏิบัติตาม  ปพพ. ม.656 วรรคสองคือ..."ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน  และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ไซร้  หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น  ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ
   วรรคสาม  "ความตกลงใดๆขัดต่อข้อควา่มดังกล่าวนี้ท่านว่าเป็นโมฆะ"

คำอธิบาย.....ถ้าจะใช้ที่ดินตีราคาเพื่อใช้หนี้   และโอนที่ดินให้เจ้าหนี้  ต้องตีราคาที่ดินตามราคาท้องตลาด ในวันเวลาและสถานที่ส่งมอบ(วันโอน)
   ตามข้อเท็จจริง  ในเมื่อโอนที่ดินให้พี่ชายเพื่อใช้หนี้  โดยไม่ได้ระบุว่า มีการตีราคาที่ดินตามท้องตลาดในขณะนั้น การโอนใช้หนี้นั้นจึงเป็นโมฆะ   เจ้าของที่ดินสามารถเพิกถอนการโอนได้....ถ้าตกลงกันไม่ได้ต้องฟ้องศาล
  คำถาม  ถ้าบุตรของนาย บี  ต้องการครอบครองที่ดิน  อย่างถูกต้อง  ก็ต้องใช้การเจรจากับเจ้าของที่ดิน(นาย เอ)  โดยตีราคาที่ดินตามราคาท้องตลาดในขณะโอน  และจ่ายเงินส่วนต่างนั้นให้เจ้าของที่ดิน และทำบันทึกไว้ให้ชัดเจนว่า  เจ้าของที่ดิน ได้รับราคาที่ดินตามราคาท้องตลาดแล้ว  ไม่ขอใช้สิทธิฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงนี้อีก...แต่ก็มีความเห็นของนักกฎหมายอีกแง่มุมหนึ่งว่า  ทำบันทึกไว้ก็ไม่มีผล   เพราะการซื้อขายเป็นโมฆะแล้ว   ต้องเพิกถอนการซื้อขายเท่านั้น...

หมายเหตุ   ราคาท้องตลาด  คือราคาที่ซื้อขายกันในช่วงเวลานั้นๆ  ไม่ใช่ราคาประเมินของ กรมที่ดิน  เพราะราคาท้องตลาดมักจะมีราคาที่สูงกว่า ราคาประเมินฯ มากมายพอสมควร  ถ้ามีคดีโต้แย้งกัน  ก็ต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่า ราคาท้องตลาดในช่วงเวลาที่โ อนที่ดินนั้น  ตารางวาละเท่าไร...
  อย่างไรก็ตาม การโอนที่ดินเพื่อใช้หนี้  ตามข้อเท็จจริงข้างต้น  แม้จะเป็นโมฆะ แต่เป็นเรื่องทางแพ่ง  ถ้าเจ้าของที่ดินไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องใดๆว่า การโอนเป็นโมฆะ และปล่อยวันเวลาล่วงเลยเกิน 10 ปี เจ้าของที่ดินก็คงไม่สามารถฟ้องร้องอะไรได้อีก... 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 6 พ.ค. 2565, 11:41

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ขอบพระคุณมากครับ 
โดยคุณ ขอบพระคุณมากครับ 6 พ.ค. 2565, 13:14

แสดงความเห็น