WebBoard :กฎหมาย|สอบถามข้อกฎหมายเรื่องพินัยกรรม

สอบถามข้อกฎหมายเรื่องพินัยกรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

สอบถามข้อกฎหมายเรื่องพินัยกรรม

  • 340
  • 1
  • post on 10 มิ.ย. 2562, 16:40

เหตุ ด้วย ด.ต.สมชาย  เดือนอุ่ม ตำรวจ สภ.เมืองราชบุรี  ได้เกิดเสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ เมื่อวันที่ 30 พ.ค.62 เวลา 23.41 น.  ด้านสวัสดิการจากการเสียชีวิต  จะได้จากเงินฌาปนกิจ ตร. ประมาณ 6 แสนกว่าบาท โดยในใบมอบให้ ภรรยา ชื่อนางมาลัย เดือนอุ่ม กับนายเศรษฐพงศ์ เดือนอุ่ม 2 คนเท่านั้น  , เงินบำเหน็จตกทอดจากการเสียชีวิต เงินเดือนเดือนสุดท้าย X อายุราชการ จะได้อยู่ประมาณ 8-9 แสน  , เงินช่วยเหลือของ ภ.7 ได้ 2 หมื่นบาท , เงินช่วยเหลือภายใน สภ.ฯ อีก 2 หมื่นกว่าบาท  , เงินสวัสดิการ X 3 เท่าของเงินเดือนสุดท้าย ประมาณ 7-8 หมื่น  แต่ความเป็นจริง ด.ต.สมชายฯ มีภรรยาทั้งหมด 4 คน ลำดับที่ 1-3 หย่าร้างแล้ว มีบุตรกับภรรยาที่ 1-3 รวม 3 คน (รับรองบุตร)  ภรรยาที่ 4 คนปัจจุบัน สมรสกันเมื่อเดือน พ.ย.61 ไม่มีบุตร  แต่หลังจากที่ทาง สภ.เมืองราชบุรี ได้นัดผู้มีสิทธิในมรดกของ ด.ต.สมชาย ฯ ทั้งหมดคือ 4 คน  มาเพื่อดำเนินการด้านสวัสดิการต่าง ๆ ที่พึ่งจะได้เท่า ๆ กันของทายาททั้ง 4 คน  แต่นางมาลัย เดือนอุ่ม ซึ่งเป็นภรรยาคนที่ 4 ปัจจุบัน ได้นำพินัยกรรมที่แจ้งว่า ด.ต.สมชาย ฯ ได้ทำไว้ เป็นพินัยกรรมฉบับแบบเอกสารฝ่ายเมือง โดยสาระสำคัญดังนี้ 1. ยกโฉนดที่ดิน 1 แปลงให้นางมาลัยฯ 2. เงินสหกรณ์ออมทรัพย์ ยกให้นางมาลัยฯ  3. เงินบำเหน็จตกทอดยกให้นางมาลัย  4. เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ยกให้นางมาลัย  5. รถยนต์ 1 คัน ยกให้นางมาลัย  โดยมอบพินัยกรรมให้นางโชติกา สารีจันทร์ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนางมาลัย ฯ เป็นผู้จัดการมรดก  อนึ่ง ด.ต.สมชาย ฯ เป็นผู้มีร่างกายเป็นอัมพฤกษ์ ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้สะดวกนัก และพึ่งจดทะเบียนสมสรกับนางมาลัย ฯ เมื่อปี 2560 และทำพินัยกรรม ปี 2561 สอบถามว่า สิทธิต่าง ๆ จะตกกับนางมาลัย ฯ ผู้เดียวหรือไม่ แล้วสิทธิต่าง ๆ จะได้กับทายาทอื่น ๆ หรือไม่  และถ้ามีจะมีข้อต่อสู้อย่างไร เพราะเหตุผลคำเดียว คือ สงสารบุตรเขาอีก 3 คน  

โดยคุณ สุชาติ สุขาภิรมย์ (172.68.xxx.xxx) 10 มิ.ย. 2562, 16:40

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

พินัยกรรม

   ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินให้ใคร   ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของผู้ตาย ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น โดยเฉพาะพินัยกรรมที่เป็นเอกสารฝ่ายเมือง มีเจ้าหน้าที่ดูแลในการทำพินัยกรรม  โอกาสผิดพลาดน่าจะมีน้อย..ดังนั้น ทรัพย์ตามข้อ 1  ข้อ 2  และข้อ 5  ย่อมเป็นของนางมาลัยฯ...ก็มีข้อสงสัย ที่ต้องไปสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง คือตาม ข้อ  3 และข้อ4  เพราะเงินบำเหน็จฯ เงินฌาปนกิจฯ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตาย  จะได้มาต่อเมื่อ ผู้ทำพินัยกรรมได้ตายลงแล้ว  ดังนั้น เขาจึงไปทำพินัยกรรม มอบให้ใครไม่ได้  แต่จะตกทอดแก่ทายาท ตามวิธีการของเงินบำเหน็จบำนาญ โดยเฉพาะ( จะขออธิบายไว้ข้างล่าง  ดังนั้นบุตร 3 คนอาจจะมีโอกาสได้รับส่วนแบ่งบ้าง)


.....การแบ่งปันเงินบำเหน็จบำนาญ...ตามพรบ.บำเหน็จบำนาญ พ.ศ.2494..ม48

   1  บุตรได้รับ 2 ส่วน ถ้าบุตรมี 3 คนจะได้ 3 ส่วน

   2.  ภรรยาได้ 1 ส่วน

    3. บิดามารดา ได้ 1 ส่วน...

ขอแนะนำให้ไปร้องของความช่วยเหลือจากอัยการคุ้มครองสิทธิ ในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนา อัยการท่านคงวิธีการ ในการแบ่งปันเงินบำนาญในส่วนนี้ได้...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 11 มิ.ย. 2562, 18:33

แสดงความเห็น