งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ปลอมลายมือชื่อผู้โอน ผู้รับโอนก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2564
การจดทะเบียนขายที่ดินทั้ง 3 แปลง จำเลยที่ 1 ใช้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ทั้ง 2 เป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าโจทก์ทั้ง 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มาทำนิติกรรมดังกล่าว เมื่อหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ทั้ง 2 ทั้ง 2 ฉบับ จำเลยที่ 1 ได้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 ลงในช่องผู้มอบอำนาจ โดยโจทก์ที่ 1 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยจึงถือได้ว่าหนังสือมอบอำนาจทั้ง 2 ฉบับเป็นเอกสารปลอม การที่จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่มีลายมื่อปลอมของโจทก์ที่ 1 ไปแสดงต่อโจทก์ที่ 2 เพื่อลอกลวงว่า โจทก์ที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการแก้ไขชื่อโจทก์ที่ 2 ในโฉนดที่ดินแล้วเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ลงเชื่อว่าโจทก์ที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจจริงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อของตนในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวร่วมกับโจทก์ที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 1 ไปโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 รู้เห็นหรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไปทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาท ดังนี้แม้โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อของตนในช่องผู้มอบอำนาจร่วมกับลายมือชื่อปลอมของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้หนังสือมอบอำนาจที่เป็นเอกสารปลอมอยู่แต่เดิมกลับมามีผลสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด หนังสือมอบอำนาจที่มีลายมือชื่อปลอมของโจทก์ที่ 1 ก็ยังคงเป็นเอกสารปลอมอยู่เช่นเดิม เมื่อที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงเป็นกรรมสิทธิรวมของโจทก์ทั้ง 2 การทำนิติกรรมเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันเจ้าของรวมจะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันผู้ทำนิติกรรม ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงของโจทก์ทั้ง 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เนื่องจากเจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อว่าหนังสือมอบอำนาจอันเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 นำไปใช้แสดงเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า โจทก์ทั้ง 2 ร่วมกันมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มาทำนิติกรรมแทน เจ้าพนักงานที่ดินจึงยอมทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้ง 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ดังนั้น ถือได้ว่านิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้ง 2
การที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารปลอมโดยไม่ได้สอบถามโจทก์ที่ 1 เสียก่อนว่าได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจตามที่จำเลยที่ 1 นำมาให้โจทก์ที่ 2 ลงชื่อหรือไม่ และโจทก์ที่ 2 ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่มีการกรอกข้อความเช่นนี้ จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ทั้ง 2
โจทก์ทั้ง 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาททั้งหมด การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ทั้ง 2 ก็เนื่องมาจากจำเลยที่ 1 กระทำการปลอมลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 ลงในหนังสือมอบอำนาจและกรอกข้อความระบุว่าโจทก์ทั้ง 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นเอกสารปลอม ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทั้ง 2 ให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิในที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในการที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงให้แก่ตัวจำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงให้แก่บุคคลอื่นเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ก็หาทำให้จำเลยที่ 4 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงไม่ เพราะเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิที่จะโอนให้แก่ผู้รับโอน ผู้รับโอนจะได้สิทธิซึ่งไม่มีอยู่ไม่ได้ ดังนั้น จำเลยที่ 4 จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลง
การที่จำเลยที่ 4 นำที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ไว้กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่มีอำนาจขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 705 การจำนองดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ทั้ง 2 ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 5 รับจำนองที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงจากจำเลยที่ 4 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างยันแก่โจทก์ทั้ง 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2563
ปลอมลายมือชื่อเจ้าของที่ดินในหนังสือมอบอำนาจและเอกสารประกอบการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ผู้รับมอบอำนาจไปจดทะเบียนโอนขายที่ดิน ต่อมาผู้ซื้อนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนอง เจ้าของที่ดินที่แท้จริงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับจำนอง ได้รับจำนองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เป็นไปตามหลักที่ว่า “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” เช่นเดียวหรือคล้ายกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2564
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161
#ปลอมลายมือชื่อ #โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน #ปลอมหนังสือมอบอำนาจ
#ทนายคลายทุกข์