งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ย่าตายายและลุงป้าน้าอา ตามหลักกฎหมายมรดกถือตามความเป็นจริง หรือหลักสายเลือด
ทายาทตามประมวลกฏหมายแพ่ง มาตรา 1629(3)(4)(5)(6) กฏหมายถือตามความเป็นจริง ดังนั้น เมื่อทายาทตามมาตรา 1629(6) เป็นลุงป้าน้าอาตามความเป็นจริง และเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย จึงเป็นผู้เสียหาย สามารถฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ตายได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 14230/2557
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นอาของผู้ตาย โดยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับบิดาของผู้ตาย ส่วนจำเลยเป็นน้าของผู้ตาย โดยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับมารดาของผู้ตาย เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 1629 รวมทั้งบรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดกมิได้กำหนดว่าการเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ย่าตายายและลุงป้าน้าอา ตามมาตรา 1629 (3) (4) (5) และ (6) จะต้องชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อโจทก์เป็นอาของผู้ตาย ถือเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (6) แม้บิดามารดาของผู้ตายจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่เมื่อการเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (6) ถือตามความเป็นจริง และข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1ถึงที่ 5 โจทก์ย่อมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1620 มาตรา 1629 และมาตรา 1630 เมื่อจำเลยปลอมพินัยกรรมของผู้ตายโดยระบุว่า พินัยกรรมดังกล่าวผู้ตายยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม จึงเป็นบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยโดยตรง จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง