ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีใช้ประโยชน์ในที่ดินของนิคมสร้างตนเอง|ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีใช้ประโยชน์ในที่ดินของนิคมสร้างตนเอง

ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีใช้ประโยชน์ในที่ดินของนิคมสร้างตนเอง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีใช้ประโยชน์ในที่ดินของนิคมสร้างตนเอง

  • Defalut Image

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2533

บทความวันที่ 8 ก.ค. 2568, 11:10

มีผู้อ่านทั้งหมด 404 ครั้ง


ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีใช้ประโยชน์ในที่ดินของนิคมสร้างตนเอง
#จอนนี่มือปราบ

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2533
         ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำตะคองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ พ. จะครอบครองอยู่ ก็ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่จะโอนสิทธิไปให้แก่ผู้ใดเมื่อมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้น ผู้ใดจะได้สิทธิในที่ดินต้องตกอยู่ในเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาทมาก่อนเลย โดยมี พ. เป็นผู้ครอบครองอยู่ ทั้งเมื่อมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นแล้วโจทก์ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองและขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แต่พ. เป็นผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แม้โจทก์จะอ้างว่าได้รับโอนขายที่ดินมาจาก พ.ตั้งแต่ก่อนที่พ. จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แต่เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามเงื่อนไขและวิธีการของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่ได้สิทธิในที่พิพาทและถือว่าการโอนขายที่ดินระหว่าง พ. กับโจทก์เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งครอบครองที่พิพาทอยู่และเป็นสมาชิกของนิคมให้ออกจากที่พิพาทได้

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2542
         โจทก์และจำเลยต่างเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและต่างได้รับจัดสรรที่ดินคนละหนึ่งแปลง ต่อมาจำเลย ขายที่ดินซึ่งได้รับการจัดสรรให้โจทก์แต่ไม่สามารถโอนสิทธิให้โจทก์ได้เนื่องจากติดเงื่อนไขข้อห้ามโอนตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 จำเลยจึงได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองเพียงอย่างเดียวโดย มีข้อตกลงระหว่างกันเองว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนสิทธิให้โจทก์เมื่อมีกฎหมายหรือกฎระเบียบอนุญาตให้ทำได้ ดังนี้เมื่อโจทก์และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ และในเมื่อจำเลยก็ปฏิบัติฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ การที่จำเลยได้สละสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิทุกประการเหนือ ที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทเช่นกัน
 
3. คำพิพากษาฎีกาที่ 547/2562 (หน้า 87 เล่ม 1) 
          การครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511  ที่รัฐจัดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองเข้าทำประโยชน์ตามมาตรา 6 เป็นการครอบครองโดยได้รับอนุญาตจากนิคมสร้างตนเองที่โจทก์เป็นสมาชิกอยู่  ซึ่งโจทก์จะต้องใช้เพื่อการเกษตรตามระเบียบที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการหรืออธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินแล้วแต่กรณีกำหนดให้  ถ้าจะทำการอื่นต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีตามาตรา 9  รวมทั้งระเบียบของนิคมสร้างตนเอง  ซึ่งหากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามอาจถูกอธิบดีสั่งให้ออกจากนิคมตามมาตรา 28  แสดงว่านิคมได้รับมอบอำนาจตามกฎหมายจากรัฐให้จัดที่ดินให้แก่สมาชิกนิคม  เมื่อที่ดินพิพาททางนิคมได้จัดสรรให้แก่โจทก์และยังอยู่ในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดที่ดิน  โจทก์จึงเป็นผู้ที่มีสิทธิเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท  จำเลยไม่ใช่สมาชิกผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทไม่อาจยกเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทย่อมได้สิทธิครอบครอง  ส่วนโจทก์ไม่เคยเข้าครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิมาโดยชอบด้วยกฎหมายได้  ต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามเงื่อนไขและวิธีการจัดสรรที่ดินของนิคม   เมื่อจำเลยเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิดีกว่าโจทก์  จำเลยต้องออกไปจากที่ดินพิพาท
 (หมายเหตุ)
  1.คดีนี้  จำเลยอ้างว่า  จำเลยและบิดาของโจทก์ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาท  และได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดคนละ 12 ไร่  แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511  ที่รัฐจัดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองเข้าทำประโยชน์
 2.ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  การครอบครองที่ดินของโจทก์เป็นการครอบครองโดยได้รับอนุญาตจากทางนิคมสร้างตนเองที่โจทก์เป็นสมาชิกอยู่  โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท   จำเลยไม่ใช่สมาชิกจึงไม่อาจเอาเรื่องสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2563
           ผู้ตายครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมสร้างตนเอง เมื่อยังไม่มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นที่ดินของรัฐ การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่ บ. มิใช่การตกทอดโดยมรดก เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว ผู้ตายมีเพียงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทถือเป็นทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย เมื่อทายาททุกคนของผู้ตายตกลงให้ บ. เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินของผู้ตายตามที่พระราชกฤษฎีกานิคมสร้างตนเองกำหนดให้ทายาทเข้ารับสิทธิได้เพียงผู้เดียว บ. จึงเป็นแต่เพียงผู้มีชื่อในหนังสือแสดงการทำประโยชน์แทนบุตรทุกคนของผู้ตายเท่านั้น ต่อมา บ. ไปขอออกโฉนดที่ดินจนได้รับโฉนดที่ดินพิพาท ก็ยังต้องถือว่าเป็นการดำเนินการแทนทายาทอื่น ทายาททุกคนมีส่วนเท่า ๆ กันและเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท บ. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ขอรับโอนมรดกที่ดินใส่ชื่อของตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ก็ยังคงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้รับโอนคงมีสิทธิในทำนองเดียวกันกับสิทธิของ บ. ผู้โอน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แบ่งแยกที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทของผู้ตาย แต่หากการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองไม่อาจดำเนินการได้ ก็ต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง

ปรึกษาข้อกฎหมายสอบถาม 02-948-5700 หรือ 081-616-1425 หรือ 081-625-2161, 081-821-7470

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก