งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
การขอสินเชื่อโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน
ทนายคลายทุกข์ขอนำหลักเกณฑ์การขอสินเชื่อโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน และเอกสารที่ใช้ประกอบในการขอสินเชื่อ จาก
www.smebank.co.th เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้บริการสินเชื่อ นำไปประกอบในการเตรียมเอกสารการขอสินเชื่อ ซึ่งหลักเกณฑ์ต่างๆ มีดังต่อไปนี้
สินเชื่อโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน
เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม
ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยธนาคารทำหน้าที่เป็นกลไกในการส่งเสริมสนับสนุนตามนโยบายรัฐบาล
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่
และส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการรายเดิมในระบบเศรษฐกิจ เกิดกระบวนการสร้างงาน
สร้างรายได้ ทำให้ประเทศมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
1.
หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน
1.1 คำจำกัดความ
ทรัพย์สินทางปัญญาที่ใช้เป็นหลักประกัน
หมายความว่า ทรัพย์สินทางปัญญาที่จะใช้
เป็นหลักประกันในหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อโครงการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุน
ประกอบด้วย
1) สิทธิบัตร ( Patent) หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครอง การ ประดิษฐ์
หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (ความหมายตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ ( Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
อนุสิทธิบัตร
( Petty Patent)
หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์(ความหมายตาม
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ ( Utility
Model) ที่มีลักษณะคล้ายกับการประดิษฐ์
แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก
หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
2) เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับ สินค้า
หรือบริการ ได้แก่
- เครื่องหมายการค้า (Trademark) หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือ จะ
ใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมาย ของ
เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของ บุคคลอื่น(ความหมายตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534)
- เครื่องหมายบริการ (Service Mark) หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้
หรือจะ ใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับบริการ
เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมาย
ของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการ
ของบุคคลอื่น (ความหมายตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534)
- เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) หมายความว่า เครื่องหมาย
ที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้ หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้า
หรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ
วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น
หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
(ความหมายตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534)
- เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) หมายความว่า เครื่องหมายการค้า
หรือ เครื่องหมายบริการที่ใช้ หรือจะใช้โดยบริษัท หรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน
หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือ องค์กรอื่นใดของรัฐ
หรือเอกชน (ความหมายตาม พ.ร.บ. เครื่องหมาย การค้า พ.ศ. 2534
)
3) ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายความว่า
สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆเกี่ยวกับ งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
(ความหมายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537) ได้แก่
งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์
สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใด ในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์
หรือแผนกศิลปะ
การกลั่นกรองของจังหวัด หมายความว่า
ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือบุคคล หรือหน่วยงาน ที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบหมายให้รับผิดชอบในการกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ขอกู้
ตามที่มีข้อตกลงร่วมกับธนาคาร
เครื่องหมายของจังหวัด หมายความว่า
เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้ กับสินค้า หรือบริการที่จังหวัดกำหนด
และได้จดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และอนุญาตให้ใช้
1.2 วงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ 3,000 ล้านบาท
1.3 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
วิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อมที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาทั้งที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่
หรือผู้ประกอบการรายเดิมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาประกอบธุรกิจอยู่แล้ว
ซึ่งในเบื้องต้นกำหนดทรัพย์สินทางปัญญาที่จะใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อ มีดังนี้
1. สิทธิบัตร
รวมถึงอนุสิทธิบัตร
2.
เครื่องหมายการค้า
3. ลิขสิทธิ์
1.4 คุณสมบัติของผู้กู้
1.4.1 บุคคลธรรมดา
หรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาตามที่ธนาคารกำหนด
1) กรณีบุคคลธรรมดา ต้องมีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะ และมีความสามารถเข้าทำ นิติกรรมตามกฎหมาย
และเมื่อรวมอายุของผู้กู้กับระยะเวลาการกู้ยืมแล้วต้องไม่ เกิน 65 ปี
2) กรณีนิติบุคคล มีจำนวนหุ้นที่บุคคลสัญชาติไทยถืออยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบ ของ
จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด หรือตามที่กฎหมายกำหนด
1.4.2 บุคคลธรรมดา
หรือนิติบุคคลที่ไม่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือล้มละลาย
1.4.3
กรณีอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ต้องสามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข แล้วไม่
น้อยกว่า 3 เดือน หรือ 3 งวด
แล้วแต่เงื่อนไขตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
1.5 วัตถุประสงค์ในการกู้
1.
เพื่อจัดตั้ง ขยายธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ หรือสถานประกอบการ
2. เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการ
3.
เพื่อเป็นเงินลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.6 ประเภทสินเชื่อ
เป็นสินเชื่อระยะยาว ( Term Loan
) หรือสินเชื่อระยะสั้น ( Short Term Loan ) ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 3 ปี
1.7 วงเงินสินเชื่อ
วงเงินสินเชื่อ ตั้งแต่ 50,000 ? 500,000 บาท ต่อราย
1.8 อัตราดอกเบี้ย
1.8.1 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี สำหรับผู้กู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายของจังหวัด
1.8.2 อัตราดอกเบี้ย MLR + 3 % ต่อปี สำหรับผู้กู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย ของจังหวัด
1.9 ค่าธรรมเนียม
ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการอนุมัติสินเชื่อโครงการนี้
จำนวน 2,000 บาทต่อวงเงิน
1. หลักประกัน
1.2 ประเภทของหลักประกัน
1) ทรัพย์สินทางปัญญาประกอบด้วยสิทธิบัตรรวมถึงอนุสิทธิบัตรเครื่องหมาย
การค้า ลิขสิทธิ์
2) กรณีที่หลักประกันทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่งเริ่มนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์
หรือมีมูลค่าต่ำ หรือเพิ่งจะได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน
หรือหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ให้มีหลักประกันประเภทอื่นๆ
หรือผู้ค้ำประกันตามระเบียบของธนาคารเป็นหลักประกันเสริม
3) กรณีใช้หลักประกันเสริมที่มีบุคคลค้ำประกัน
กรณีบุคคลธรรมดา
- ต้องมีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะ
และมีความสามารถเข้าทำนิติกรรมตาม กฎหมาย
และเมื่อรวมอายุของผู้ค้ำประกันกับระยะเวลากู้ยืมแล้วต้องไม่เกิน 65 ปี
- ไม่เป็นบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
หรือล้มละลาย
- ผ่านการวิเคราะห์แล้วว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ที่ค้ำประกันได้
- กรณีที่ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ที่มีภาระหนี้สินอยู่กับธนาคารอยู่ก่อนแล้วต้อง
มีประวัติการผ่อนชำระดี ไม่มียอดค้างชำระ
- ผู้ค้ำประกันแต่ละรายสามารถค้ำประกันผู้กู้ในโครงการนี้ได้ไม่เกิน
2 ราย
กรณีนิติบุคคล
- ต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลสัญชาติไทยถืออยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวน
หุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด หรือตามที่กฎหมายกำหนด
- ผลประกอบการต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น ( Net Worth) เป็นบวก
มีทุนจดทะเบียน และชำระแล้วไม่ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน
- วงเงินค้ำประกันให้ผู้กู้ทุกรายรวมกันไม่เกินร้อยละ
80 ของส่วนผู้ถือหุ้น ( Net
Worth) ของนิติบุคคลนั้น โดยให้พิจารณาจากงบการเงินที่ผ่านการ
รับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ไม่เป็นนิติบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
หรือล้มละลาย
- ผ่านการวิเคราะห์แล้วว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ที่ค้ำประกันได้
- กรณีที่ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ที่มีภาระหนี้สินอยู่กับธนาคารอยู่ก่อนแล้วต้อง
มีประวัติการผ่อนชำระดี ไม่มียอดค้างชำระ
- ผู้ค้ำประกันแต่ละรายสามารถค้ำประกันผู้กู้ในโครงการนี้ได้ไม่เกิน
2 ราย
ทั้งนี้
ในกรณีที่ผู้กู้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการ แทนนิติบุคคลนั้น
เป็นผู้ค้ำประกันส่วนตัวเต็มวงเงินด้วย
1.10 สัดส่วน
การคิดราคาประเมินเป็นหลักประกันสินเชื่อ
1) ทรัพย์สินทางปัญญา
ใช้หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันเป็นแบบคำนวณ จากรายได้การดำเนินธุรกิจ ( Income Approach ) โดยใช้วิธีคิดลดกระแส เงินสด ( Discounted cash flow Method ) และกำหนดสัดส่วนคิดเป็นมูลค่าหลักประกัน สำหรับโครงการนี้ไม่เกิน 75
% ของราคาประเมินที่ธนาคารรับราคา
2) หลักประกันเสริมประเภทอื่นๆให้คิดสัดส่วนเป็นหลักประกันตามระเบียบ
ธนาคาร
1.11 คุณสมบัติของหลักประกัน
1) ต้องเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่จดทะเบียน(สิทธิบัตรรวมถึงอนุสิทธิบัตร เครื่องหมาย
การค้า) หรือมีหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์)
กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
2) ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง ( Protection Period ) มากกว่าระยะเวลากู้ยืมไม่น้อย
กว่า 3 ปี
เอกสารประกอบการขอสินเชื่อ
รายการเอกสารที่ใช้ประกอบการขอสินเชื่อ
กรณีบุคคลธรรมดา
ผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจและ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้
ผู้ค้ำประกัน คู่สมรส
2.หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว หรือ
ชื่อสกุลของผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน คู่สมรส (ถ้ามี)
3.สำเนาทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า
ใบมรณะบัตรของคู่สมรส (ถ้ามี)
4.รายละเอียดการติดต่อกับ
ธพว. หรือ
สถาบันการเงินอื่นวงเงิน ภาระหนี้ หลักประกัน (ถ้ามี)
5.หลักฐานการฝากเงินกับสถาบันการเงิน
และ/หรือ Bank Statement ย้อนหลัง 6
เดือน (ถ้ามี)
6.ทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์
(ถ้ามี)
7.บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
และหลักฐานการชำระภาษีของผู้กู้ (ถ้ามี)
8.หนังสือรับรองการทำงานพร้อมรับรองเงินเดือน ใบสลิปเงินเดือน
และ/หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี (สำหรับผู้ค้ำประกัน)
9.เอกสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เสนอเป็นหลักประกันออกให้โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา
(เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์)
10.หนังสือหรือเอกสารการได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายของจังหวัด
(ถ้ามี)
11.ใบอนุญาตประกอบกิจการ (ถ้ามี)
12. แผนธุรกิจ (สำหรับผู้กู้)
13.แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ
และ/หรือ ที่อยู่ของผู้กู้ และผู้ค้ำประกัน
เอกสารประกอบการขอสินเชื่อ
รายการเอกสารที่ใช้ประกอบการขอสินเชื่อ กรณีบุคคลธรรมดา
ผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน
1. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์รายละเอียดวัตถุประสงค์ข้อบังคับของนิติบุคคล(ถ้ามี) (ไม่เกิน 1 เดือน)
2.สำเนาทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองตราสำคัญ สำเนาบัญชีผู้ถือหุ้น(บอจ. 5 )
3.สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ. 20) หรือสำเนาคำขอจดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม(ภพ.
01) (ถ้ามี)
4.บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
หลักฐานการชำระภาษีของผู้กู้ (ถ้ามี)
5.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ
หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ และสำเนาทะเบียนบ้าน
ของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
6.หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว
หรือชื่อสกุลของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (ถ้ามี)
7.รายละเอียดการติดต่อกับ
ธพว. หรือสถาบันการเงินอื่น
วงเงิน ภาระหนี้ หลักประกัน (ถ้ามี)
8.หลักฐานการฝากเงินกับสถาบันการเงิน
และ/หรือ Bank Statement ย้อนหลัง 6
เดือน (ถ้ามี)
9.งบการเงินที่ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของกิจการย้อนหลัง
1 ปี (ถ้ามี)
10. เอกสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เสนอเป็นหลักประกัน
ออกให้โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา (เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์)
11.หนังสือหรือเอกสารการได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายของจังหวัด
(ถ้ามี)
12.แผนธุรกิจ (สำหรับผู้กู้)
13.แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ
และ/หรือ ที่อยู่ของผู้กู้ และผู้ค้ำประกัน
ขอขอบคุณ www.smebank.co.th ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ