คดียาเสพติดมีไว้เพื่อเสพหรือจำหน่ายศาลพิจารณาจากอะไร|คดียาเสพติดมีไว้เพื่อเสพหรือจำหน่ายศาลพิจารณาจากอะไร

คดียาเสพติดมีไว้เพื่อเสพหรือจำหน่ายศาลพิจารณาจากอะไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คดียาเสพติดมีไว้เพื่อเสพหรือจำหน่ายศาลพิจารณาจากอะไร

  • Defalut Image

ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ถูกจับมักจะต่อสู้ว่า มีไว้เพื่อเสพ ไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย

บทความวันที่ 24 ก.พ. 2563, 14:20

มีผู้อ่านทั้งหมด 1631 ครั้ง


คดียาเสพติดมีไว้เพื่อเสพหรือจำหน่ายศาลพิจารณาจากอะไร

           ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ถูกจับมักจะต่อสู้ว่า มีไว้เพื่อเสพ ไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย   ทนายคลายทุกข์แนะนำว่า FC อย่าพยายามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเป็นภัยสังคมอย่างร้ายแรง  แนวคำตัดสินของศาลพิจารณาจากสิ่งดังต่อไปนี้
1. ของกลางมีจำนวนเล็กน้อย ไม่เกินสมควรในการมีไว้เพื่อเสพ  ฎีกาที่ 2777/2541
2. ไม่มีพฤติการณ์แบ่งเป็นส่วนย่อยหรือแบ่งขาย  ฎีกาที่ 2459/2542
3. กฎหมายคำนึงถึงความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเนื่องมาจากการกระทำที่มีความผิด ฎีกาที่ 9239/2544
4. การนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฎพฤติการณ์แบ่งบรรจุจำหน่าย  อันเป็นวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรง  ฎีกาที่ 9275/2544 (ประชุมใหญ่)
5. การซื้อมาจำหน่าย 7 เม็ดเพื่อความสะดวกในการใช้เสพต่อไปเพราะเป็นคนติดยาเสพติด  ไม่มีลักษณะร้ายแรงเป็นอันตรายแก่สังคม  ฎีกาที่ 2777/2541
6. จำนวนยาเสพติดเกินกว่าวิสัยมีไว้เพื่อเสพเอง แต่มีปริมาณมากพอที่จะจำหน่ายให้บุคคลอื่นได้  ฎีกาที่ 6651/2541
7.  บทสันนิษฐานกฎหมายจะสันนิษฐานในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลย โดยไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนไม่ได้  ฎีกาที่ 4288/2542

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
มาตรา 15
  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เว้นแต่รัฐมนตรีได้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
           การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
           การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
          (1) เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ศูนย์จุดเจ็ดห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่สามร้อยมิลลิกรัมขึ้นไป
          (2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป
          (3) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 นอกจาก (1) และ (2) มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามกรัมขึ้นไป
 
มาตรา 66  ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม แต่ไม่เกินยี่สิบกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท
          ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไปต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต

มาตรา 67  ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างอิง
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2541

        ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4คำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุด้วยนั้นต้องหมายถึงการกระทำอันมีลักษณะที่เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อสังคมในทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำผสม ปรุง แปรสภาพเปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการใช้หรือเสพของตนเอง ย่อมมีเป็นธรรมดาของบุคคลที่ต้องการใช้เสพ ไม่มีลักษณะร้ายแรงดังเช่นที่กล่าวมา จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า "ผลิต" ฉะนั้นการแบ่งบรรจุกรณีใดจะอยู่ในความหมายของคำว่า "ผลิต"ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป หาใช่ว่าเมื่อมีการแบ่งบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 แล้วต้องถือว่าเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เสมอไปไม่ เฮโรอีนของกลางที่ยึดได้จากจำเลยมีน้ำหนักเพียง 0.26 กรัมกรณีถือได้ว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย การแบ่งบรรจุในหลอดกาแฟจำนวน 11 หลอด จะถือว่าเป็นจำนวนเกินสมควรยังไม่ถนัดทั้งจำเลยให้การในชั้นสอบสวนและชั้นศาลตลอดมาว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อเสพ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่า จำเลยลักลอบขายยาเสพติดและลักลอบมั่วสุมเสพยาเสพติด จึงได้มีการออกหมายค้นที่อยู่อาศัยของจำเลยก็ตาม แต่เป็นเพียงคำเบิกความลอย ๆมิได้นำพยานแวดล้อมอื่นใดมาสืบประกอบว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ กรณียังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยแบ่งบรรจุยาเสพติดดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ให้แก่ประชาชน จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตน้ำหนัก 0.26 กรัมนับว่ามีปริมาณไม่มาก และจำเลยให้การรับสารภาพว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพตลอดมาจนถึงชั้นศาลประกอบกับจำเลยถูกต้องขังในระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณา ตลอดมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2542
        ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยกำลังแบ่งบรรจุ เมทแอมเฟตามีนของกลางจริง การกระทำของจำเลยดังกล่าวตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4ถือว่าเป็นการผลิตเมทแอมเฟตามีนแล้ว และพฤติการณ์ของจำเลย ที่แบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางออกเป็นส่วนย่อยและบรรจุลง ในหลอดดูดเครื่องดื่มแล้วจำนวน 1 หลอด ทั้งยังมีหลอดดูด เครื่องดื่มเปล่าตัดเป็นท่อน ๆ จำนวนหนึ่งวางอยู่ เป็นการกระทำ เพื่อความสะดวกในการจัดจำหน่ายนั่นเอง จำเลยย่อมมีความผิด ฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุจากถุงพลาสติกใส่หลอดเครื่องดื่มเสร็จแล้ว 1 หลอด จำนวน 2 เม็ด เพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย เป็นการ ฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์สืบสมตามที่โจทก์บรรยายฟ้องแล้ว ที่โจทก์ อ้างขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 และมาตรา 85 แทนที่จะอ้างมาตรา 65จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลย ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า กรณีหาใช่ศาลฟังข้อเท็จจริงในทางพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องในข้อที่มิใช่สาระสำคัญ อันจะต้องพิจารณาว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ด้วยหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคสอง จึงไม่เกินคำขอของโจทก์

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2544
        แม้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 บัญญัติว่าการผลิตให้หมายความรวมถึงการแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุด้วยแต่เมื่อคำนึงถึงโทษฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตเท่ากับโทษฐานนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ในขณะที่โทษฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัมตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีหรือถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับด้วยแล้ว เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไม่ว่าด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของยาเสพติดให้โทษหรือเป็นการทำให้ยาเสพติดให้โทษนั้นแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษสูง เมื่อความมุ่งหมายของกฎหมายเป็นเช่นนี้ คำว่า "การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุ"ในมาตรา 4 ดังกล่าว จึงต้องหมายถึงการแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
        ข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลาง ซึ่งอาจทำขึ้นเพื่อเก็บไว้เสพเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำเลยทั้งสองคงมีความผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการกระทำความผิดฐานนี้เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1และในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9275/2544
        เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 แบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางโดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 อาจแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการเสพของตนก็เป็นได้ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่เป็นการผลิตตามมาตรา 4,65
        กระบอกและเข็มฉีดยาของกลางมิใช่สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) เพราะโจทก์มิได้ฟ้องในความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย แม้ทรัพย์ดังกล่าวจะมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด แต่ก็เป็นความผิดฐานอื่นไม่เกี่ยวกับฐานความผิดในคดี จึงไม่อาจริบกระบอกและเข็มฉีดยาของกลางได้

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2541
        สภาพและลักษณะกัญชาของกลางมีปริมาณมากโดยมีน้ำหนัก รวมถึง 474.30 กรัม เกินกว่าวิสัยแห่งการมีไว้เพื่อเสพเอง แต่เป็นปริมาณมากพอจะนำไปจำหน่ายจ่ายแจกได้และกัญชาของกลาง ถูกจัดแบ่งบรรจุถุงเล็ก ๆ ไว้ถึง 23 ถุง ซึ่งรวมบรรจุใน ถุงหิ้วบรรจุกัญชาแห้งอีกส่วนหนึ่ง อันแสดงลักษณะว่าจำเลย ได้จัดแบ่งไว้เพื่อขายหรือจำหน่ายแก่บุคคลอื่น ประกอบกับ ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหามี กัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และยังนำชี้ที่เกิดเหตุแสดงท่าทางประกอบคำรับสารภาพ ทั้งเจ้าพนักงานผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนต่างก็เบิกความยืนยันว่าจำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ จึงไม่มีเหตุสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลย ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานรู้เห็นว่าจำเลยได้จำหน่ายกัญชาก็ตาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาก็มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4288/2542
        จำเลยครอบครองยาเสพติดให้โทษของกลางซึ่งบรรจุอยู่ในหลอดพลาสติก จำนวน32 หลอด ซึ่งลักษณะของการบรรจุเป็นการสะดวกแก่การจำหน่าย จะสันนิษฐานในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยว่า จำเลยเป็นผู้แบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางบรรจุในหลอดพลาสติกเพื่อเตรียมจำหน่ายให้แก่ผู้อื่นโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยการแบ่งบรรจุในหลอดพลาสติกผนึกหัวท้าย แล้วมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องย่อมรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้าย

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ในบันทึกจับกุม ได้ระบุไว้ว่าจับกุมที่ห้องพักเลขที่.... แต่ศาลตัดสินในข้อหาขับเสพ ได้หรือไม

โดยคุณ Akarapat 29 ก.พ. 2563, 00:24

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก