หน่วงเหนี่ยวกักขังลูกจ้าง นายจ้างต้องรับผิดอย่างไรบ้าง|หน่วงเหนี่ยวกักขังลูกจ้าง นายจ้างต้องรับผิดอย่างไรบ้าง

หน่วงเหนี่ยวกักขังลูกจ้าง นายจ้างต้องรับผิดอย่างไรบ้าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หน่วงเหนี่ยวกักขังลูกจ้าง นายจ้างต้องรับผิดอย่างไรบ้าง

  • Defalut Image

จากข่าวนายจ้างฝรั่ง ขังลูกจ้างไว้ในคอกสุนัข ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้

บทความวันที่ 24 ธ.ค. 2562, 11:18

มีผู้อ่านทั้งหมด 1258 ครั้ง


หน่วงเหนี่ยวกักขังลูกจ้าง นายจ้างต้องรับผิดอย่างไรบ้าง

           จากข่าวนายจ้างฝรั่ง ขังลูกจ้างไว้ในคอกสุนัข ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้ ทำให้อยู่ในที่จำกัดหรือที่แคบ เป็นความผิดต่อเสรีภาพ และเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 310
  ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 มาตรา 297 หรือมาตรา 298 นั้น

มาตรา 312  ผู้ใดเพื่อจะเอาคนลงเป็นทาส หรือให้มีฐานะคล้ายทาส นำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พามาจากที่ใด ซื้อ ขาย จำหน่าย รับหรือหน่วงเหนี่ยวซึ่งบุคคลหนึ่งบุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 15189/2556
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุ 14 ปีเศษ ทำงานเป็นคนรับใช้ภายในบ้านของจำเลยเกินกว่าความสามารถและสภาพร่างกายในวัยของโจทก์ร่วม อีกทั้งไม่ได้จัดอาหารให้โจทก์ร่วมได้รับประทานอย่างเพียงพอ ไม่จ่ายค่าตอบแทนให้เหมาะสมแก่สภาพการจ้างงาน จนกระทั่งพนักงานแรงงานต้องมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแรงงานเพิ่มอีก ทั้งไม่มีกำหนดเวลาในการจ่ายค่าตอบแทนเป็นที่แน่นอน รวมทั้งจำกัดสิทธิเสรีภาพและความเป็นอยู่ของโจทก์ร่วมเพื่อให้ทำงานอย่างหนักตามความพอใจของจำเลย ประการสำคัญคือจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมด้วยวิธีการทารุณโหดร้ายโดยอ้างว่าเป็นการลงโทษเพื่อให้โจทก์ร่วมทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิ์โดยชอบด้วยกฏหมายที่จะกระทำเช่นนั้นได้ และเมื่อเกิดบาดแผลจำเลยมิได้ให้การรักษาพยาบาลแก่โจทก์ร่วมตามสมควร การกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อจะเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 และเป็นการกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 312 ทวิ วรรคสอง (2) จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 รวมเจ็ดครั้ง และทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยกระทำทารุณโหดร้ายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 298 ประกอบมาตรา 297 (8) เป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาแท้จริงเพื่อเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาสเป็นสำคัญ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 312 ทวิ วรรคสอง (1) (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2520  
ล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่ ทำให้โจทก์ออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ โจทก์ต้องปีนกำแพงรั้วกระโดดลงมาได้รับบาดเจ็บ เป็นความผิดตาม ประมวกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก