การเพิกถอนการประกันตัว|การเพิกถอนการประกันตัว

การเพิกถอนการประกันตัว

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเพิกถอนการประกันตัว

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537

บทความวันที่ 3 ธ.ค. 2562, 17:01

มีผู้อ่านทั้งหมด 794 ครั้ง


การเพิกถอนการประกันตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537
           แม้คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 จะไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ทวิ วรรคสาม ตามที่จำเลยที่ 4 ฎีกาก็ตาม แต่คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า การปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 อาจก่อให้เกิดภัยอันตรายแก่พยานและเกิดความเสียหายแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่เกิดความเสียหายแก่คดีในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนกรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 มาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4มีสิทธิฎีกา

คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 1663/2548
            คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยให้หาหลักประกันเพิ่มเป็นคนละ 12 ล้านบาท จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งว่าศาลชั้นต้นเรียกหลักประกันสูงเกินไป ขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ปล่อยจำเลยทั้งสองชั่วคราวโดยเรียกหลักประกันไมเกินคนละ 1 ล้านบาท ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า "ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสองในระหว่างพิจารณา จึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ ให้ยกคำร้อง" คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้น อันเป็นคำสั่งที่เป็นที่สุดตามป.วิ.อ. มาตรา 119 ทวิ วรรคท้าย จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 119 ทวิ  ในกรณีที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ดังต่อไปนี้
            (1) คำสั่งของศาลชั้นต้น ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์
            (2) คำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา
ให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งรีบส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความ หรือสำเนาสำนวนความเท่าที่จำเป็นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณา และมีคำสั่งโดยเร็ว
            คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องให้ปล่อยชั่วคราวใหม่

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก