ตร. แจ้งข้อหาแจ้งความเท็จ ! เจ้าสาว รับสารภาพซองเงินกว่า 3 แสนไม่ได้หาย|ตร. แจ้งข้อหาแจ้งความเท็จ ! เจ้าสาว รับสารภาพซองเงินกว่า 3 แสนไม่ได้หาย

ตร. แจ้งข้อหาแจ้งความเท็จ ! เจ้าสาว รับสารภาพซองเงินกว่า 3 แสนไม่ได้หาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตร. แจ้งข้อหาแจ้งความเท็จ ! เจ้าสาว รับสารภาพซองเงินกว่า 3 แสนไม่ได้หาย

  • Defalut Image

จากข่าวที่มีเจ้าสาวรายหนึ่งอ้างว่า ถอนเงินออกจากบัญชีมาเพื่อจัดงานแต่งจำนวน 300,000 กว่าบาทนั้น

บทความวันที่ 2 ธ.ค. 2562, 11:10

มีผู้อ่านทั้งหมด 998 ครั้ง


ตร. แจ้งข้อหาแจ้งความเท็จ ! เจ้าสาว รับสารภาพซองเงินกว่า 3 แสนไม่ได้หาย

    จากข่าวที่มีเจ้าสาวรายหนึ่งอ้างว่า ถอนเงินออกจากบัญชีมาเพื่อจัดงานแต่งจำนวน 300,000 กว่าบาทนั้น แต่ขณะเดินทางไปรับรูปพรีเวดดิ้ง แถวซอยอิสรภาพ 43 เกิดอาการวิงเวียน เป็นลม กลางถนน โดยมีพลเมืองดีและเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลายคนเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ซึ่งต่อมาได้ความกับตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางกอกน้อยว่า เงินจำนวนดังกล่าวที่เบิกมา หายไป
    หลังจากตำรวจได้รับแจ้งจึงลงพื้นที่สืบสวน ไล่ภาพวงจรปิด เชิญพยานที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือ วินจักรยานยนต์ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ทุกคนต่างให้การว่าไม่เห็นซองน้ำตาลที่เจ้าสาวอ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าวอยู่ในซองนั้น จึงสอบถามกลับไปที่เจ้าสาว ซึ่งให้การยอมรับว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องจริง พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาแจ้งความเท็จและนำตัวส่งศาลจังหวัดตลิ่งชัน
(ที่มา : www.js100.com )

กรณีจากข่าว ข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานนั้น มีหลายรูปแบบ
            1. การแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานในเรื่องทั่วๆไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 อาจทำโดยวิธีการแจ้งแก่เจ้าพนักงานโดยตรง ตอบคำถามเจ้าพนักงาน หรือเป็นการกรอกข้อความเท็จในเอกสารแล้วนำไปยื่นต่อเจ้าพนักงานก็ได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2546) ผู้กระทำความผิดดังกล่าว จะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ    
            2. แจ้งความเท็จทางอาญาผิดไปจากความจริง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 คือ การที่แจ้งความแก่พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ว่ามีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น แต่แจ้งความให้ผิดไปจากความจริง เช่น จำเลยยิงผู้เสียหายฝ่ายเดียว แต่กลับไปแจ้งความว่า ผู้เสียหายใช้มีดแทงจำเลยและพยายามจะเอาทรัพย์จำเลยไป โดยผู้เสียหายไม่ได้ทำอย่างที่จำเลยแจ้ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2519) ผู้กระทำความผิดดังกล่าว จะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ    
            3.รู้ว่าไม่ได้มีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น แต่กลับไปแจ้งว่า มีความผิดทางอาญาเกิดขึ้น ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 173 คือ การที่ไม่มีความผิดในทางอาญาเกิดขึ้นเลย แต่กลับไปแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เช่น  จำเลยได้ไปแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้าย 2 คน ร่วมกันเอารถจักรยานยนต์ของจำเลยไป โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่ได้มีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7799/2543) ผู้กระทำความผิดดังกล่าว จะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ    
            4.หากการแจ้งข้อความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา เป็นการแจ้งเพื่อแกล้งให้บุคคลอื่น ต้องรับโทษทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 174 วรรคสอง  เช่น จำเลยไปแจ้งความว่า นาย ก ลักทรัพย์ของจำเลย ทั้งที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่กลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่ามีการกระทำความผิด และยังมีเจตนาเพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่า นาย ก เป็นคนเอาทรัพย์ของจำเลยไปเพื่อให้นาย ก. ได้รับโทษ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8611/2553) ผู้กระทำความผิดดังกล่าว จะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 137
  ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 172  ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 173   ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
มาตรา 174   ถ้าการแจ้งข้อความตามมาตรา 172 หรือมาตรา 173 เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
    ถ้าการแจ้งตามความในวรรคแรก เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8611/2553  

จำเลยรู้ว่ามิได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้นแต่กลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์อันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงานสอยสวนเชื่อว่าได้มีความผิดข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้นเพื่อให้โจทก์ร่วมได้รับโทษ การกระทำจองจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 173 จำเลยยังมีเจตนาแจ้งความเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อันเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามเพื่อให้โจทก์ร่วมถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และเสียชื่อเสียง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอีกด้วย
   

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก