การทุจริตต่อหน้าที่|การทุจริตต่อหน้าที่

การทุจริตต่อหน้าที่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การทุจริตต่อหน้าที่

  • Defalut Image

บุคคลที่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้อื่น

บทความวันที่ 28 มี.ค. 2562, 10:29

มีผู้อ่านทั้งหมด 1145 ครั้ง


การทุจริตต่อหน้าที่

              บุคคลที่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้อื่น หรือมีอาชีพที่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เช่น กรรมการผู้จัดการบริษัท หรือผู้จัดการมรดก หากทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอกเงินหรือทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ก็เป็นความผิดฐานยักยอกตามกฎหมายอาญาได้  

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2558 (กรรมการบริษัทค้ำประกันผู้อื่นโดยไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน)
             จำเลยที่1 และที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์โดยจำเลย 1 เป็นกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย การที่โจทก์โดยจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญกระทำการแทนโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 5 ต่อธนาคารรวม 5 ครั้ง โดยไม่ปรากฏว่าได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการของโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าเหตุใดที่โจทก์ต้องค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 5 โดยที่โจทก์ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ ในอันที่จะถือว่าจำเลยที่ และที่ 2 กระทำตามอำนาจหน้าที่และอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ซึ่งประกอบธุรกิจหากำไร การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นการกระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริตเพราะได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลยที่ 5 และก่อให้เกิดภาระของโจทก์ที่จะต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ใน              ลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 353 ประกอบมาตรา 83 รวม 5 กระทง
              ข้อที่แตกต่างกับความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 ในส่วนของผู้กระทำ คือผู้ได้รับมองหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่จำเป็นต้องครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นก็ได้ ในส่วนของการกระทำ เพียงแต่ผู้กระทำได้กระทำผิดหน้าที่ของตนจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ส่วนกรณีมาตรา 352 ต้องเป็นการเบียดบังทรัพย์ที่ตนครอบครองด้วย

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2522  (พนักงานบัญชี ไม่ถือว่าเป็นผู้มีอาชีพ)
            สมุห์บัญชีและพนักงานบัญชีของกลุ่มเกษตรกรไม่ใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สิน หรือมีอาชีพธุรกิจที่ประชาชนไว้วางใจการยักยอกไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,354

3. คำพิพากษาศาลฎีกา 47/2519 (ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกในข้อหายักยอกได้)
            ผู้จัดการมรดกฟ้องว่าจำเลยยักยอกโฉนดของเจ้ามรดกระหว่างที่ศาลตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องตาม มาตรา 352 ได้ศาลสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลให้ครบในคำขอให้คืนโฉนดก่อนมีคำพิพากษา ศาลสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา18
            จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่ศาลไม่รับเพราะอุทธรณ์เกิน 15 วันเมื่อโจทก์ยังฎีกาให้ลงโทษจำเลย จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอีกได้ แม้ถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์เพราะเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เมื่อศาลฎีกายกฟ้องโจทก์อยู่แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในข้อนี้

4.คำพิพากษาที่ 556/2541 (ผู้จัดการถอนเงินที่ลูกค้าชำระค่าสินค้าไปใช้ ผิดยักยอก)
           การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้นำปลายข้าวหักจำนวน 360 กระสอบของโจทก์ร่วมไปขายให้แก่ ค. นั้นจำเลยไม่ได้ทำในนามส่วนตัว แต่ได้ทำในนามของโจทก์ร่วมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม ดังนั้น เงินที่ค.ส่งมาชำระค่าสินค้าโดยผ่านเข้าบัญชีของจำเลยจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วม แม้ ค.จะส่งฝากไว้ในบัญชีเงินฝากของจำเลยแต่ก็เพื่อให้จำเลยนำไปชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมอีกทีหนึ่งโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ จำเลยได้ และเมื่อฟังว่าเงินในบัญชีของจำเลยเป็นเงิน ค่าสินค้าของโจทก์ร่วมที่ผู้ซื้อสินค้ามาชำระให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมจึงมีหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาเงินนั้นไว้ไม่ให้สูญหาย แต่จำเลยกลับถอนเงินจำนวนนั้นไปเสียไม่ส่งคืนให้โจทก์ร่วมตามหน้าที่ การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 353 กรณีหาใช่ผู้ซื้อสินค้าฝากเงิน ค่าสินค้าไว้กับจำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปชำระให้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยจะนำเงินจำนวนใดไปชำระก็ได้ตามฎีกาของจำเลยไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อ จากโทษของจำเลยในคดีอาญาก่อน แต่จำเลยให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลได้สอบถามจำเลยว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาก่อนหรือไม่จนกระทั่งบัดนี้แม้โจทก์จะฎีกาอ้างว่าได้มีคำพิพากษาแล้วในคดีอาญาก่อนก็ตามแต่ไม่ปรากฏเป็นที่กระจ่างชัดว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาก่อนหรือไม่และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยอย่างไร ศาลจึงไม่อาจนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาก่อนได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก