ตำแหน่งงานที่ไม่ถือว่าเป็นลูกจ้าง|ตำแหน่งงานที่ไม่ถือว่าเป็นลูกจ้าง

ตำแหน่งงานที่ไม่ถือว่าเป็นลูกจ้าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตำแหน่งงานที่ไม่ถือว่าเป็นลูกจ้าง

  • Defalut Image

ปัจจุบันมีการว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ มากมาย

บทความวันที่ 14 มี.ค. 2562, 10:55

มีผู้อ่านทั้งหมด 4635 ครั้ง


ตำแหน่งงานที่ไม่ถือว่าเป็นลูกจ้าง

 

                 ปัจจุบันมีการว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ มากมาย บางกรณีไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายจ้าง กรณีดังกล่าวไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน รายละเอียดของคำพิพากษาฎีกาที่ผ่านมา

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2545

                จำเลยจ้างโจทก์เป็นนักร้องประจำห้องอาหารโดยให้โจทก์ทำงานตั้งแต่ 18.30 น. ถึง 1.30 น. เงินเดือน 18,630 บาท ต้องตอกบัตรลงเวลาทำงาน มาทำงานช้าหักค่าจ้างนาทีละ 10 บาท ไม่ตอกบัตรลงเวลาเลิกงาน จะไม่ได้ค่าจ้างวันนั้น ลงหรือไม่มาทำงานเกิน 1 วันในแต่ละเดือนจะถูกหักค่าจ้างในวันนั้น หยุดโดยไม่มีใบลาจะตัดค่าจ้าง 2วัน ช่วงเวลาทำงานต้องอยู่ในบริเวณโรงแรมและห้องอาหารต้องร้องเพลงตามที่หัวหน้าวงดนตรีกำหนด ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นได้ว่า โจทก์อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย จึงมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6067/2545

การพิจารณาว่าโจทก์และจำเลยเป็นลูกจ้างและนายจ้างหรือไม่นั้น นอกจากจะพิจารณาว่าโจทก์และจำเลยมีความสัมพันธ์กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 แล้ว ยังต้องปรากฏว่าโจทก์อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ด้วย คดีนี้โจทก์รับจ้างจำเลยทำงานตำแหน่งมัคคุเทศก์อิสระ อัตราค่าจ้างขึ้นกับการทำงานแต่ละครั้งโดยนำนักท่องเที่ยวไปตามตารางทัวร์ที่กำหนดไว้ หากไม่มาทำงานก็จะไม่ได้ค่าจ้าง กำหนดวันทำงานไม่แน่นอน ไม่มีการกำหนดวันหยุดวันลาและสวัสดิการสำหรับโจทก์ แสดงว่าโจทก์มีอิสระในการทำงานกับจำเลยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ใช่การจ้างแรงงานหรือเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันตามบทกฎหมายข้างต้นโจทก์ไม่เป็นลูกจ้างของจำเลย

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2547

ลักษณะการทำงานของโจทก์ไม่มีรูปแบบแผนที่แน่นอน ไม่เคร่งครัดเรื่องเวลาทำงาน ผิดไปจากลักษณะการทำงานของพนักงานอื่นในหน่วยงานของจำเลย การทำงานของโจทก์มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือตามคำขอของ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย มิใช่เป็นการทำงานตามคำสั่งของจำเลย ขณะที่โจทก์ทำงานให้จำเลย จำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ แต่มีลักษณะว่าโจทก์มีอำนาจบริหารกิจการจำเลยทุกอย่างแล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรเอง แม้จะมีการจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์กับมีหนังสือของ ส. ขอให้โจทก์เข้ามาทำงานให้ก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวก็มิใช่นายจ้างและลูกจ้างกัน เมื่อโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลย

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2548

โจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด โจทก์ต้องมาทำงานทุกวัน บางวันหรือส่วนใหญ่จะอยู่ที่ไซด์งาน การดำเนินงานหรือการแก้ปัญหาตามปกติ โจทก์ทำได้เองโดยอิสระ เว้นแต่เรื่องใหญ่ๆ หรือมีจำนวนเงินสูงๆ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ โจทก์ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมของกรรมการหรือปรึกษา ส. กรรมการบริษัทจำเลยก่อน โจทก์ไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย โจทก์จึงทำงานในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมา แม้โจทก์จะได้รับเงินเดือนจากจำเลย ก็ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลย เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินใดๆ ตามสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2525

การที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและมีตำแหน่งเป็นกรรมการจัดการบริษัทจำเลยนั้น แม้โจทก์จะได้รับตำแหน่งด้วยการเลือกจากผู้ถือหุ้น และต้องอยู่ในตำแหน่งตามวาระที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ตำแหน่งของโจทก์คือผู้บริหารงานของบริษัทซึ่งมีรายได้เป็นเงินเดือนหรือที่เรียกว่าค่าตอบแทนรายเดือนและโจทก์ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ในสวัสดิการของบริษัทเช่นเดียวกับพนักงานอื่นอีกด้วย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้ตกลงทำงานให้แก่บริษัทเพื่อรับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรายเดือน อันนับได้ว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยก ขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกัน เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าว ให้โจทก์

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8785/2550

โจทก์เป็นหนึ่งในผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำเลยและเป็นผู้ถือหุ้นมาตั้งแต่เริ่มบริษัทจำนวน 16,000 หุ้น เป็นอันดับสามจากผู้ถือหุ้น 8 คน แต่ในปี 2544 ถือหุ้นจำนวน 40,000 หุ้น เป็นอันดับหนึ่ง และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมและประทับตราสำคัญของบริษัทตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2536 ซึ่งเป็นวันเริ่มตั้งบริษัทจนถึงวันที่ 22 มกราคม 2546 ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2546 โจทก์ได้โอนหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ ก. โจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทจนถึงเดือนมกราคม 2546 การบริหารงานของโจทก์ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการทำงาน จะมาทำงานในเวลาใดก็ได้ไม่ต้องบันทึกเวลาทำงาน โจทก์จึงมิใช่พนักงานที่ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่โจทก์ได้รับเงินเดือนจากจำเลยจึงมิใช่ได้รับในฐานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ส่วนการที่โจทก์บริหารงานภายใต้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นนั้นก็เป็นเพียงวิธีการครอบงำบริษัทจำกัดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1144 เท่านั้น หาได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยอันมีลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2555

                โจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมายของจำเลย ในปีแรกโจทก์เข้าประชุมในฐานะเป็นทนายที่ปรึกษา ปีต่อมาเรียกตำแหน่งของโจทก์ว่า ที่ปรึกษากฎหมาย โจทก์มาทำงานเฉพาะวันเสาร์ ไม่มีกำหนดเวลาการทำงานที่แน่นอน ไม่มีการบันทึกเวลาเข้าออกจากที่ทำงาน ไม่มีการกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของพนักงานและลูกจ้าง เมื่อพิจารณาลักษณะการทำงานของโจทก์ ความมีอิสระในการทำงาน ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ใดอย่างแน่ชัด ไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่ใช้แก่พนักงานและลูกจ้างทั่วไป ไม่ใช่ลูกจ้าง

            หากต้องการมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สัญญาจ้างควรจะเขียนให้ชัดเกี่ยวกับวันเวลาทำงานและวันหยุด มิฉะนั้นต้องมานั่งถกเถียงกันในชั้นศาล

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก