ลูกจ้างได้รับเงินเดือนเกิน ต้องคืนมิฉะนั้นติดคุก|ลูกจ้างได้รับเงินเดือนเกิน ต้องคืนมิฉะนั้นติดคุก

ลูกจ้างได้รับเงินเดือนเกิน ต้องคืนมิฉะนั้นติดคุก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างได้รับเงินเดือนเกิน ต้องคืนมิฉะนั้นติดคุก

  • Defalut Image

มีข่าวว่าลูกจ้างได้รับเงินเดือนเกินมา 5 ปีแต่ไม่ยอมคืน ทวงหลายครั้งก็ไม่ยอมคืน

บทความวันที่ 10 มี.ค. 2562, 14:16

มีผู้อ่านทั้งหมด 1425 ครั้ง


ลูกจ้างได้รับเงินเดือนเกิน ต้องคืนมิฉะนั้นติดคุก

               มีข่าวว่าลูกจ้างได้รับเงินเดือนเกินมา 5 ปีแต่ไม่ยอมคืน ทวงหลายครั้งก็ไม่ยอมคืนนายจ้างสามารถไปแจ้งความตำรวจเพื่อดำเนินคดีอาญา ข้อหายักยอกทรัพย์สินที่ผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดได้เพราะการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคสอง สามารถร้องทุกข์ได้ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเนื่องจากเป็นความผิดอันยอมความได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96

1.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2512
                ผู้เสียหายทำปากกาของตนตกอยู่ในบริเวณร้านขายกาแฟที่ผู้เสียหายขายของอยู่. ผู้เสียหายได้ออกไปขายขนมที่อื่นห่างเพียงประมาณ 1 เส้น เป็นเวลาไม่เกิน 5นาที ก็รู้ว่าปากกาหายจึงรีบกลับไปค้นและสอบถาม. ได้ความจาก ป. ว่าเป็นผู้เก็บปากกานั้นได้และถามหาเจ้าของ. จำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของ ป. จึงมอบปากกาให้จำเลยไป.ผู้เสียหายไปถามจำเลย จำเลยปฏิเสธ. ดังนี้ ถือว่าทรัพย์ยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย ไม่ใช่ทรัพย์ตกหาย.การที่มีผู้อื่นเก็บได้มิใช่จะทำให้ความยึดถือของผู้เสียหายขาดตอนไป. จำเลยเอาไปจากผู้อื่น โดยรู้อยู่ว่าไม่ใช่ของตน. จึงเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ต้องด้วยความผิดฐานลักทรัพย์. (อ้างฎีกาที่ 519/2502).

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2539
                 คำเบิกความของพยานคนใดจะรับฟังได้หรือไม่ต้องแล้วแต่เหตุผลในคำพยานนั้นเองแม้เป็น พยานคู่กันก็ไม่จำต้องรู้เห็นเหตุการณ์หรือเบิกความได้ตรงกันหมดทุกคนจึงจะรับฟังได้พยานอาจเบิกความสนับสนุนบางตอนเท่าที่ตนรู้เห็นจริงเท่านั้นก็ได้ เอกสารที่พยานโจทก์เป็นผู้จัดทำตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามหน้าที่ซึ่งพยานรับผิดชอบทั้งจำเลยก็มิได้โต้แย้งว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงกับความจริงจึงมีน้ำหนักและการเบิกความของพยานโจทก์เป็นการเบิกความประกอบเอกสารและเอกสารก็มีรายละเอียดชัดเจนอยู่แล้วเมื่อฟังประกอบกับพยานบุคคลจึงเชื่อได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นดัง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา พนักงานของโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้แก่จำเลยที่นำเช็คมาเบิกเงินเกินจำนวนไปเนื่องจากมิได้ดูจำนวนเงินในเช็คให้รอบคอบถือว่าเป็นการส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปเมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนจึงเป็นความผิดฐานยักยอก

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2539
                เจ้าหน้าที่ของธนาคารผู้เสียหายได้นำเงินฝากจำนวน60,000บาทของลูกค้ารายอื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดย ผิดพลาด ปรากฏว่าจำเลยประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าซึ่งเป็นกิจการเล็กๆมีเงินทุนหมุนเวียนเข้าออกบัญชีจำนวนเล็กน้อยสามารถตรวจสอบและรู้ถึงการนำเงินเข้าออกบัญชีได้โดยง่ายจึงฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่ามีการนำเงินของผู้อื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดยผิดพลาดการที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินดังกล่าวออกไปจากบัญชีของจำเลยเป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นไป โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคสอง

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2540
                 พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมรับฝากเงินจากบริษัท ท. จำนวน 2,132,770 บาท เพื่อโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของบริษัท ท.แต่พนักงานของโจทก์ร่วมป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาดไปเป็นเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ธนาคารโจทก์ร่วม สำนักงานใหญ่ ต่อมาเมื่อจำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีในวันดังกล่าวจึงทราบว่ามีเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยโดยการผิดพลาด จากนั้นจำเลยได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวในบัญชีของจำเลยไปจากธนาคารของโจทก์ร่วมสำนักงานใหญ่ โดยการปิดบัญชี การที่จำเลยได้ถอนเงินที่เข้าบัญชีผิดพลาดนั้นออกไปตั้งแต่ในขณะที่โจทก์ร่วมก็ยังไม่ทราบว่าเงินจำนวนนั้นไม่ใช่เป็นเงินของจำเลยก็ตามแม้จำเลยจะเป็นฝ่ายทราบแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยโจทก์ร่วมยังไม่ทราบว่าเงินจำนวน 2,132,770 บาท นั้นเข้าบัญชีของจำเลยผิดพลาดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีเจตนาทุจริตถอนเงินดังกล่าวไป และโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้แก่จำเลยไปแล้วเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเงินจำนวน 2,132,770 บาท นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยเพราะโจทก์ร่วมได้ส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง

5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8552/2552
                 เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่า บัตรเอทีเอ็มที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เบิกถอนเงินไปนั้นเป็นของบุคคลอื่น ก็ต้องฟังว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของจำเลยคนใดคนหนึ่งหรือเป็นของจำเลยทั้งสองเอง และยังต้องรับฟังต่อไปอีกว่า สาเหตุที่จำเลยทั้งสองสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มดังกล่าวเบิกถอนเงินออกไปได้นั้น เป็นเพราะมีเงินตามจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนโอนเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองโดยการผิดพลาด ข้อเท็จจริงตามฟ้องที่โจทก์บรรยายมาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเงินจำนวนที่จำเลยเบิกถอนไปนั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ร่วมส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง หาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก