ผลทางกฎหมายเมื่อถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา|ผลทางกฎหมายเมื่อถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

ผลทางกฎหมายเมื่อถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผลทางกฎหมายเมื่อถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

  • Defalut Image

ปัจจุบันเมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ผู้เสียหายมักจะแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาเบื้องต้นก่อน

บทความวันที่ 28 ก.พ. 2562, 11:20

มีผู้อ่านทั้งหมด 3306 ครั้ง


ผลทางกฎหมายเมื่อถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

           ปัจจุบันเมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ผู้เสียหายมักจะแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาเบื้องต้นก่อน หลังจากนั้นถ้าตกลงกันได้ ก็จะถอนคำร้องทุกข์ ตามกฎหมายถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดินถึงแม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีสิทธิดำเนินคดีต่อไปได้ เช่น คดีทำร้ายร่างกาย พยายามฆ่า เป็นต้น   แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เช่น คดีจ่ายเช็คเด้ง คดีหมิ่นประมาท ถ้าผู้เสียหายได้รับการเยียวยาก็จะถอนคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็ต้องยุติคดี เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามกฎหมาย ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการถอนคำร้องทุกข์ทั้งคดีความผิดต่อส่วนตัวและคดีอาญาแผ่นดิน มีดังนี้
ความผิดต่อส่วนตัว เมื่อถอนคำร้องทุกข์คดีอาญาระงับ
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2551 (ทนายความโจทก์ถอนคำร้องทุกข์ได้)

    คดีความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเมื่อใดก็ได้ โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ทนายโจทก์ร่วมมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและเจรจาทำความตกลงประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ร่วมได้ แม้โจทก์ร่วมมิได้มอบอำนาจให้ทนายโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล ทนายโจทก์ร่วมก็มีอำนาจยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง และมีผลผูกพันโจทก์ร่วม การที่ทนายโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน จึงมีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2551 (ถอนคำร้องทุกข์ในศาลฎีกาก็ได้)
    คดีความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ในระหว่างระยะเวลาฎีกา และศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องดังกล่าวได้ เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง แล้วจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะอนุญาตให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ได้ แม้ต่อมาจำเลยฎีกา คดีก็ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาในชั้นฎีกาต่อไป ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายอีก แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่งอีก
คดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว ถอนคำร้องทุกข์ คดีอาญาไม่ระงับ
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2548 (ถอนคำร้องทุกข์ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท)
    แม้ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลล่างลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดและความผิดฐานดังกล่าวไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358 เท่านั้น
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2
    ในประมวลกฎหมายนี้
(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4,5 และ 6
(7) “คำร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
มาตรา 39  สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
มาตรา 126  ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้
     ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อมไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้น
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก