เมื่อไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผลตามมามีดังนี้|เมื่อไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผลตามมามีดังนี้

เมื่อไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผลตามมามีดังนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เมื่อไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผลตามมามีดังนี้

  • Defalut Image

1. ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ในความผิดต่อส่วนตัว

บทความวันที่ 14 ก.พ. 2562, 10:54

มีผู้อ่านทั้งหมด 1426 ครั้ง


เมื่อไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผลตามมามีดังนี้

1. ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ในความผิดต่อส่วนตัว
2. คำร้องทุกข์ไม่ชอบพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
3. พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องและบุคคลนั้นไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาเองไม่ว่าจะเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือต่อแผ่นดินและไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ 
คำพิพากษาฎีกาที่ 1596/2549
                 เหตุเกิดรถชนกันผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่บ้าง ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดตาม ป.อ. 291 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา 5 (2) โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30
4.แม้ศาลอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์คำสั่งศาลก็ไม่ชอบไม่ก่อให้เกิดสิทธิ์ในการอุทธรณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 8357/2550
                พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกับพวกบุกรุกเข้าไปในบ้านพักของโจทก์ร่วมแล้วทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมและในฐานะมารดาของผู้เสียหายที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยได้ความว่า ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายด้วยการผูกคอตาย ไม่ได้ตายเพราะถูกจำเลยทั้งสองกับพวกทำร้ายตามฟ้อง ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5(2) ผู้บุพการีจะจัดการแทนผู้เสียหายได้เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ดังนั้น โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่ 2 ในการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดฐานบุกรุกที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มี่โทษหนักสุด เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยมาก็เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยไม่รอการลงโทษและคุมความประพฤติ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 15
5.บุคคลนั้นไม่มีสิทธิเรียกค่า สินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 หากศาลพิพากษาให้ชดใช้คำพิพากษาก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  
คำพิพากษาฎีกาที่ 5419/2554
                 ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ ซึ่งมาตรา 2(4) ให้ความหมายของคำว่า "ผู้เสียหาย" ว่า หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองต่างขับรถจักรยานยนต์ด้วยความประมาท จำเลยที่ 2 จึงมีส่วนในการกระทำความผิดทางอาญาด้วยดังนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่าจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(4)
              ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ต้องพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนดไว้และข้อเท็จจริงในขณะที่ยื่นคำร้องว่าเป็นผู้เสียหายหรือไม่ เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายเท่านั้นที่ยื่นคำร้องได้และขณะยื่นคำร้องจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าว

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก