ความรับผิดของกรรมการบริษัทเกี่ยวกับภาษีอากร|ความรับผิดของกรรมการบริษัทเกี่ยวกับภาษีอากร

ความรับผิดของกรรมการบริษัทเกี่ยวกับภาษีอากร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความรับผิดของกรรมการบริษัทเกี่ยวกับภาษีอากร

  • Defalut Image

บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านต้องระมัดระวังเพราะมิจฉาชีพสามารถนำไปจดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่ในบริษัทจำกัด

บทความวันที่ 17 ม.ค. 2562, 14:54

มีผู้อ่านทั้งหมด 2682 ครั้ง


ความรับผิดของกรรมการบริษัทเกี่ยวกับภาษีอากร

             บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านต้องระมัดระวังเพราะมิจฉาชีพสามารถนำไปจดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่ในบริษัทจำกัด ทำให้เกิดความรับผิดทั้งทางอาญาในกรณีไปฉ้อโกงบุคคลอื่น อาจต้องติดคุกไปด้วย ในทางแพ่งต้องรับผิดชอบในกรณีนิติบุคคลกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นเกี่ยวกับสรรพากร อาจต้องรับผิดทางอาญา เช่น ความผิดฐานไม่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษี และความผิดฐานฉ้อโกงค่าภาษี หรือหลีกเลี่ยงภาษี ตัวอย่างกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องความรับผิดทางภาษีอากรของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทและผู้ถือหุ้น

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลรัษฎากร

มาตรา 37  ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
              (1) โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือเพื่อขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้ หรือ
              (2) โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้
มาตรา 37 ทวิ  ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นตามลักษณะนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 90/4 บุคคลดังต่อไปนี้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
             (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86 วรรคสอง หรือมาตรา 86/1
            (2) ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคหนึ่ง
            (3) ผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86/13
            (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ลงรายการหรือลงรายการเป็นเท็จในรายงานตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
           (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ หรือใบแทนเอกสารดังกล่าว
           (6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน
           (7) ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอมหรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี
มาตรา 90/5  ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
                (5) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเลิกกันโดยมีการชำระบัญชี ได้แก่ ผู้ชำระบัญชีและกรรมการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกนิติบุคคลนั้น
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4143/2532 (ผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นครบแล้ว ไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากร)

             เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก