ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด|ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด

ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด

  • Defalut Image

การทำธุรกิจบางครั้งคู่สัญญาไม่สามารปฏิบัติตามสัญญาได้

บทความวันที่ 10 ม.ค. 2562, 10:04

มีผู้อ่านทั้งหมด 2896 ครั้ง


ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด

                 การทำธุรกิจบางครั้งคู่สัญญาไม่สามารปฏิบัติตามสัญญาได้ อันสืบเนื่องมาจากบุคคลภายนอก ซึ่งถูกราชการสั่งระงับการก่อสร้าง ถูกราชการระงับการดำเนินกิจการ หรือสำนักงานที่ดินไม่อนุญาตให้จดทะเบียน ศาลไม่อนุญาตใหขายที่ดินของผู้เยาว์ซึ่งมิใช่ความผิดของคู่สัญญา จะถือว่าคู่สัญญาผิดนัดไม่ได้ ตัวอย่างฎีกาที่ผ่านมาเกี่ยวกับเหตุขัดข้องจากบุคคลภายนอก อันมิใช่ความผิดของคู่สัญญา
1.คำพิพากษาฎีกาที่ 16173/2557 (โอนห้องชุดไม่ได้ เพราะศาลมีคำสั่งห้ามจดทะเบียน)
           การที่โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนโอนห้องชุดพิพาทให้แก่พ.ได้ภายในกำหนดเวลาตามสัญญาเป็นเพราะศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับห้องชุดพิพาท ซึ่งแม้คำสั่งดังกล่าวเกิดจากคำร้องขอของจำเลย ก็ถือว่าเป็นเพราะเหตุอื่นที่โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบตามป.พ.พ. มาตรา 205 โจทก์จึงไม่ได้ผิดนัดและถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหาย 500,000 บาทแก่พ. แม้โจทก์ชำระเงินค่าเสียหายแก่พ.ไปแล้วก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดตามมาตรา 420 
2.คำพิพากษาฎีกาที่ 4521-4522/2553 (สำนักงานเขตห้ามใช้หรือเข้าไปในที่พิพาท)
           การที่สำนักงานเขตมีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้จนกว่าจะมีการตรวจสอบแก้ไข จำเลยไม่สามารถเข้าไปทำการก่อสร้างอาคารในช่วงเวลาที่มีคำสั่งห้ามดังกล่าว จึงเป็นเหตุจำเป็นอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ประมาณไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่าที่ทำกับโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย ต่อมาหลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รับมอบห้องพักที่จองไว้และเข้าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่าหลายครั้ง แต่โจทก์เพิกเฉยจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์ได้
3.คำพิพากษาฎีกาที่ 1768/2549  (ชำระหนี้ไม่ได้ เพราะรัฐห้ามดำเนินกิจการ)
           สาเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ทั้งที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้วเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการอันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระหนี้ เพราะเหตุนี้จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่ จึงเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ด้วยเช่นกัน
4.คำพิพากษาฎีกาที่ 7618/2542 (โอนที่ดินไม่ได้ เพราะยังไม่ครบระยะเวลาขาย)
           โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เมื่อถึงกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดิน โจทก์จำเลยต่างไปยังสำนักงานที่ดิน แต่ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้ เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปิดประกาศ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
5.คำพิพากษาฎีกาที่ 89/2536 (ศาลไม่อนุญาตให้ขายที่ดินแทนบุตร)
              จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตขายที่ดินแทนผู้เยาว์ภายหลังทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์เพียงเดือนเศษ ไม่ปรากฏว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำเข้าไต่สวนในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยจงใจจะไม่ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์จะถือว่าเป็นพฤติการณ์จำเลยต้องรับผิดชอบหาได้ไม่ จำเลยไม่ผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา
6.คำพิพากษาฎีกาที่ 797/2556 (ผู้ขายไม่ก่อสร้าง ผู้ซื้อไม่ชำระเงิน ไม่ถือว่าผิดสัญญา)
             เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฎิบัติชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 ดังนั้นการที่โจทก์ชำระเงิน 800,000 บาท แก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ย่อมมีความหวังจะได้เห็นจำเลยปฏิบัติชำระหนี้ตอบแทนคือการเริ่มลงมือก่อสร้าง  แต่เมื่อจะครบกำหนดเวลาชำระเงินดาวน์งวดแรกได้ความว่าจำเลยยังไม่เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารพาณิชย์ทำให้โจทก์เกิดความไม่มั่นใจในโครงการของจำเลย เพราะเงินค่าวดที่จ่ายแต่ละงวดเป็นจำนวนมากถึงงวดละ 334,000 บาท โจทก์จึงไม่ยอมจ่ายค่างวดและไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำเลยเองก็ไม่ได้แสดงความสุจริตโดยการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือหรือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดอีก จึงถือได้ว่าการชำระหนี้ของโจทก์มิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 205 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการริบมัดจำไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจึงมีผลให้สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 205
 ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก