ทำประกันชีวิตแล้วตายไม่ได้เงิน แก้ไขอย่างไร ต้องอ่าน|ทำประกันชีวิตแล้วตายไม่ได้เงิน แก้ไขอย่างไร ต้องอ่าน

ทำประกันชีวิตแล้วตายไม่ได้เงิน แก้ไขอย่างไร ต้องอ่าน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทำประกันชีวิตแล้วตายไม่ได้เงิน แก้ไขอย่างไร ต้องอ่าน

  • Defalut Image

หลายท่านทำประกันชีวิต ต่อมาเสียชีวิต บริษัทประกันไม่ยอมจ่าย อ้างปกปิดข้อมูล

บทความวันที่ 3 ก.ค. 2561, 09:55

มีผู้อ่านทั้งหมด 1757 ครั้ง


ทำประกันชีวิตแล้วตายไม่ได้เงิน แก้ไขอย่างไร ต้องอ่าน

หลายท่านทำประกันชีวิต ต่อมาเสียชีวิต บริษัทประกันไม่ยอมจ่าย อ้างปกปิดข้อมูล ทนายคลายทุกข์ได้รวบรวมข้อมูล ตัวบทกฎหมายและตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาทีี่เป็นประโยชน์มาให้ศึกษาดังนี้

1. บุคคลที่มีหน้าที่เปิดเผย คือ ผู้เอาประกันภัย  (อ้างอิงฎีกาที่ 654/2535) 
2. ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่รู้ความจริง  ไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งความจริง ไม่ทราบความร้ายแรง ไม่รู้หนังสือ  เป็นเด็ก  ถือไม่ได้ว่า รู้แล้วไม่เปิดเผย อาจจะเป็นเพราะตัวแทนกรอกข้อมูลประวัติเอง (อ้างอิงฎีกาที่ 1277/2524, ฎีกาที่ 4457/2536)
3. ไม่ทราบแน่ชัดว่าป่วยโรคร้ายแรง ถือไม่ได้ว่าไม่เปิดเผย (อ้างอิงฎีกาที่ 4457/2536)
4. การบอกล้างสัญญาประกันชีวิต ต้องรู้ข้อมูลอันจะบอกล้าง แต่ถ้าเกิน 1 เดือนหมดสิทธิบอกล้าง (อ้างอิงฎีกาที่ 1247/2514)
5. วิธีการบอกล้างกรมธรรม์  ต้องแสดงเจตนาต่อผู้รับประโยชน์ ซึ่งถือว่าเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง จดหมายต้องไปถึงผู้รับผลประโยชน์ไม่เกิน 1 เดือน การบอกล้างจึงมีผลตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 178,169 และมาตรา 865 วรรคสอง
6. เรื่องความประมาทของผู้รับประกันภัย  เนื่องจากขาดความระมัดระวัง  ตาม ป.พ.พ.มาตรา 866  

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 169
 การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา แต่ถ้าได้บอกถอนไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้น ก่อนหรือพร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา การแสดงเจตนานั้นตกเป็นอันไร้ผล
             การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังการแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

มาตรา 178  การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน

มาตรา 865  ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
             ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป

มาตรา 866  ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดังกล่าวในมาตรา 865 นั้นก็ดีหรือรู้ว่าข้อแถลงความเป็นความเท็จก็ดี หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดังจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่าสัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2535

              การที่สัญญาประกันชีวิตจะเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ต้องเป็นกรณีที่บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจ จะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้ บอกปัด ไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ ซึ่ง กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นคือบุตรโจทก์ หาใช่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความ จริง ที่ บุตร โจทก์เป็นโรคลมชักให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบ ก็ไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2524
    การที่ผู้เอาประกันภัยละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 นั้น ต้องเป็นข้อความซึ่งผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วว่าจะเป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา
    ผู้เอาประกันภัยเป็นคนอ่านหนังสือไม่ออก และมิได้ทราบถึงความร้ายแรงแห่งโรคที่ตนเป็นอยู่ เพราะยังคงทำงานได้เช่นคนปกติทั่วไป ทั้งตัวแทนของจำเลยก็มิได้สอบถามประวัติความป่วยเจ็บของผู้เอาประกันภัย เพียงแต่สอบถามอายุและให้ลงลายมือชื่อในแบบคำขอเอาประกัน แล้วตัวแทนจำเลยก็นำแบบคำขอเอาประกันภัยนั้นไปกรอกข้อความ เสียเอง ผู้เอาประกันภัยจึงไม่มีโอกาสจะได้รู้ข้อความจริง ที่ตนเคยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน อันจะเป็นเหตุจูงใจให้จำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันภัยหรือไม่ เมื่อผู้เอาประกันภัยไม่รู้เช่นนี้จึงจะถือว่าผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสีย ไม่เปิดเผยข้อความจริงนั้นหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิ บอกล้าง สัญญาประกันชีวิตรายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2536
    นายล.ตัวแทนหาประกันชีวิตของจำเลยเอาแบบคำขอเอาประกันชีวิตให้เด็กหญิง ป. อายุเพียง 8 ปี ลงลายมือชื่อ ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความ แล้วนายล.นำแบบคำขอเอาประกันชีวิตดังกล่าวไปกรอกข้อความเอง เด็กหญิง ป. จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งข้อความเกี่ยวกับความป่วยเจ็บของตนให้ทราบได้ และไม่สามารถจะทราบความร้ายแรงของโรคที่ตนเป็นอยู่ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 865 วรรคแรก คำขอเอาประกันชีวิตไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2514
    อายุความบอกล้างสัญญาประกันภัยตอนแรกของมาตรา 865 วรรคสองนั้นหมายถึงว่า ผู้รับประกันภัยต้องใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้
    โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งผู้ตายทำไว้กับบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2509 พร้อมด้วยรายงานของนายแพทย์โรงพยาบาลผู้รักษาผู้ตายครั้งสุดท้ายว่า ผู้ตายป่วยเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่และตายด้วยโรคดังกล่าว และได้ระบุไว้ในรายงานนั้นอีกว่าผู้ตายเคยรับการผ่าตัดด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นเวลาก่อนผู้ตายเอาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลย เช่นนี้ถือว่าบริษัทจำเลยย่อมมีเหตุควรทราบได้แล้วว่าผู้ตายได้ปกปิดข้อความจริงดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2509 บริษัทจำเลยจะอ้างว่ารายงานแพทย์ดังกล่าวนั้น ยังไม่แน่นอน บริษัทจำเลยยังต้องสืบสวนต่อไปจนได้ความจริงแน่นอนเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 ว่าผู้ตายได้ป่วยและรับการผ่าตัดด้วยโรคดังกล่าวมิได้ เพราะอายุความกฎหมายกำหนดให้เริ่มนับแต่วันที่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้เท่านั้นมิใช่เริ่มนับแต่วันที่ทราบความจริง ฉะนั้นเมื่อบริษัทจำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2509 ซึ่งเป็นเวลาเกินหนึ่งเดือนแล้วกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงมีผลบังคับบริษัทจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2550
    แม้ ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จะให้สิทธิผู้รับประกันภัยบอกล้างโมฆียะกรรมได้แต่สัญญาประกันชีวิตเป็นนิติกรรมสองฝ่าย การบอกล้างโมฆียะกรรมต้องแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 178 เมื่อจำเลยต้องการบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตย่อมต้องแสดงเจตนาแก่โจทก์ทั้งสามผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่าย มิใช่เพียงแสดงหลักฐานฝ่ายเดียวว่าตนได้ใช้สิทธิบอกล้างแล้ว การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 คดีนี้จำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปถึงโจทก์ทั้งสามที่จังหวัดพิจิตรทางไปรษณีย์ อันเป็นการแสดงเจตนาแก่บุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง การบอกล้างโมฆียะกรรมย่อมมีผลนับแต่เวลาที่หนังสือไปถึงโจทก์ทั้งสาม เมื่อนับจากวันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ถึงวันที่การแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมมีผลในวันที่ 7 หรือ 8 กันยายน 2540 จึงพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมนั้น การบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตให้โจทก์ทั้งสาม

ปรึกษาข้อกฎหมายกับทีมทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700, 081-6161425
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ขอปรึกษาดังนี้ครับ ผมเป็นพนักงานธนาคาร ลูกค้าผู้กู้เงินอายุมากเลยไม่ได้ทำประกันชีวิตให้แต่ได้ให้บุตรเป็นคนทำประกันแทนโดยให้มารดาเป็นผู้รับผลประโยชน์ ต่อมาบุตรได้เดินทางไปทำงานต่างประเทศและได้เสียชีวิตที่ต่างประเทศ ระยะเวลาทำประกัน 6 เดือน เมื่อทายาทมาติดต่อเพื่อขอเงินชดเชย แต่บริษัทกลับปฏิเสธและบอกว่าไม่ได้ทำเอกสารลูกหนี้ร่วม ซึ่งเป็นเอกสารของธนาคาร ปรึกษาดังนี้

1.บริษัทจะบอกปฏิเสธไม่จ่ายโดยไม่มีเอกสารได้หรือไม่

2.ไปตรวจใบมรณะไม่ได้ระบุสาเหตุเสียชีวิตจะเป็นเหตุอ้างได้ไหมว่าเป็นโรคประจำตัว

ขอบคุณครับ ชัชวาลย์

โดยคุณ ชัชวาลย์ หนาดเสน 25 ก.ย. 2566, 21:35

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก