ตำรวจออกหมายเรียกพ่อพันตำรวจโทสันธนะมารับทราบข้อกล่าวหา|ตำรวจออกหมายเรียกพ่อพันตำรวจโทสันธนะมารับทราบข้อกล่าวหา

ตำรวจออกหมายเรียกพ่อพันตำรวจโทสันธนะมารับทราบข้อกล่าวหา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตำรวจออกหมายเรียกพ่อพันตำรวจโทสันธนะมารับทราบข้อกล่าวหา

  • Defalut Image

 ตำรวจออกหมายเรียกพ่อพันตำรวจโทสันธนะมารับทราบข้อกล่าวหากรณีให้ที่พักพิงผู้ต้องหา

บทความวันที่ 15 พ.ค. 2561, 15:57

มีผู้อ่านทั้งหมด 776 ครั้ง


ตำรวจออกหมายเรียกพ่อพันตำรวจโทสันธนะมารับทราบข้อกล่าวหา

             ตำรวจออกหมายเรียกพ่อพันตำรวจโทสันธนะมารับทราบข้อกล่าวหากรณีให้ที่พักพิงผู้ต้องหา ตามกฎหมายแล้วประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 ผู้ใดช่วยผู้กระทำความผิดมิให้ต้องรับโทษ มีบทลงโทษทางอาญา มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

แยกออกเป็น 3 กรณี
กรณีแรก
              เป็นกรณีที่เป็นผู้ต้องหาแล้วเช่น ถูกแจ้งความแล้วแต่ไม่ได้อยู่ระหว่าง ถูกจับกุมตามหมายจับ เพียงแต่ให้ที่พำนักก็มีความผิดแล้วครับ
กรณีที่สอง
              เป็นกรณีมีหมายจับแล้วและอยู่ระหว่างตามจับตัว และหลบหนีอยู่และให้ที่พักพิงหรือให้ที่พำนักโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อไม่ให้ต้องรับโทษ จึงจะมีความผิด
กรณีที่สาม
         ถ้าบุคคลที่ช่วยเหลือเป็นบิดาช่วยเหลือบุตรของตัวเองศาลจะไม่ลงโทษก็ได้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 193
            การที่ตำรวจออกหมายเรียกพ่อของพลตำรวจโทสันธนะอาจเป็นการกดดันผู้ต้องหา ทางหนึ่งส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะคนที่อายุ 91 ปีแก่เกินไปที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องคดีความ หาข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ารู้เรื่องเกี่ยวกับลูกชายถูกดำเนินคดีหรือไม่ได้มีเจตนาที่จะ ไม่ให้ต้องรับโทษก็ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
            การที่ตำรวจจะออกหมายเรียกบุคคลใดนั้นส่วนตัวผมมองว่าต้องคำนึงถึง สิทธิมนุษยชนด้านขั้นพื้นฐานด้วยนะครับ  อ้างอิงฎีกาที่ 2449/2522 ฎีกาที่ 2448/2521 ฎีกาที่ 1670/2522 ฎีกาที่ 1671/2512 ฎีกาที่ 490/2519

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2522
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 บัญญัติถึงการกระทำเพื่อช่วยเหลือมิได้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษโดยมิให้ถูกจับกุมเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยถีบรถจักรยานให้ บ. ซึ่งเป็นผู้กระทำผิดนั่งซ้อนท้ายพาออกจากที่เกิดเหตุไปในขณะที่ยังไม่มีผู้มีอำนาจจับกุมคนใดจะจับกุม บ. และยังได้ความอีกว่า จำเลยถีบรถจักรยานพา บ. นั่งซ้อนท้ายไปบ้าน จึงส่อให้เห็นเจตนาว่าไม่ใช่เพื่อหลบหนีหรือเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมอีกด้วย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2521
เจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าทำการจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันไฮโลว์โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" พวกที่เล่นการพนันบางคนหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานไปได้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวก็ด้วยมีเจตนาที่จะให้ผู้เล่นการพนันรู้ตัวเพื่อจะหลบหนีไป การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะของการช่วยด้วยประการใดๆ แก่ผู้กระทำความผิดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2522
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 นั้น เจ้าพนักงานผู้ติดตามจับกุมผู้กระทำผิดหาจำต้องแจ้งแก่ผู้ให้ที่พำนักซ่อนเร้นทราบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดได้กระทำความผิดฐานใด เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าบุคคลที่ตนให้ที่พำนักซ่อนเร้นเป็นผู้กระทำผิดก็พอแล้ว ส่วนจะเป็นความผิดฐานใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องและนำสืบ

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2512
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 บัญญัติถึงการกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด ไม่ให้ต้องรับโทษหรือไม่ให้ถูกจับกุม. เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าผู้ที่จำเลยได้ช่วยเหลือได้ถูกจับกุมในข้อหานั้นไปก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยความผิดตามมาตรานี้.

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2519
ผ. แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนระบุว่า ถ. เป็นผู้ทำร้ายตน อันมิใช่ความผิดลหุโทษ ฐานะของ ถ. ขณะนั้นจึงเป็นผู้ต้องหาหรือผู้กระทำผิดแล้ว ต่อมาก่อน ถ. ถูกจับกุมจำเลยได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าตนเป็นผู้ทำร้าย ผ. เพื่อแสดงว่า ถ.ไม่ใช่เป็นผู้ทำร้าย ดังนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ ถ. ต้องโทษ โดยช่วย ถ. ผู้กระทำผิดหรือต้องหาว่ากระทำผิด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุมตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 แล้ว
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก