การฟ้องขับไล่ผู้เช่า|การฟ้องขับไล่ผู้เช่า

การฟ้องขับไล่ผู้เช่า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การฟ้องขับไล่ผู้เช่า

ปัจจุบันมีการให้เช่าอาคารสถานที่และที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประโยชน์ทางการค้าเป็นจำนวนมาก

บทความวันที่ 15 ก.ย. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 12953 ครั้ง


 การฟ้องขับไล่ผู้เช่า

 
            ปัจจุบันมีการให้เช่าอาคารสถานที่และที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประโยชน์ทางการค้าเป็นจำนวนมาก แต่มีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขับไล่ผู้เช่าออกจากพื้นที่เช่า เนื่องจากไม่ยอมย้ายออกเมื่อผิดนัดชำระค่าเช่า ถ้าจะต้องฟ้องศาลเพื่อบังคับให้ขับไล่ รื้อถอนก็ใช้เวลานาน ผู้ให้เช่าเสียประโยชน์ในการที่จะนำเอาทรัพย์ที่เช่าออกให้ผู้อื่นเช่า ทำให้ผู้ให้เช่าขับไล่ผู้เช่าโดยทางลัด เช่น ตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดกุญแจ เปลี่ยนกุญแจ ขนย้ายรื้อถอนทรัพย์สินของผู้เช่าออกไป บางรายใช้วิธีการรื้อและเผา จนทำให้ผู้ให้เช่าบางรายต้องติดคุกติดตารางตามที่เป็นข่าวมาแล้ว 
              ทนายคลายทุกข์จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับการฟ้องขับไล่ โดยพลการ ไม่ได้อาศัยอำนาจศาลและการขับไล่โดยอาศัยอำนาจศาล เพื่อเป็นประโยชน์ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า จะได้นำไปใช้ประโยชน์ในกรณีผิดสัญญาเช่า ตามตัวอย่างข้างล่างนี้
               1.ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วไม่ยอมออก ขับไล่ได้ ผิดทั้งสัญญาและผิดฐานละเมิด
               คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2552
               จำเลยทำสัญญาเช่าแผงจำหน่ายอาหารจากโจทก์โดยสัญญาเช่าระบุว่า กรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญา ผู้เช่ายอมให้โจทก์เป็นคณะอนุญาโตตุลาการทำการชี้ขาดและผู้เช่าต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็็นกรณีที่ระบุถึงปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาเช่า แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเหตุครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกจากแผงที่เช่า มิใช่เป็นกรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่จำต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
            เมื่อสัญญาเช่าแผงจำหน่ายอาหารครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้สัญญาเช่าเป็นอันระงับลงโดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนแผงที่เช่าแก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนแผงที่เช่าแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองแผงที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานกระทำละเมิด แต่ตามสัญญาเช่าไม่มีข้อความใดกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่าในกรณีสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่า จึงไม่กำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยไม่ยอมออกจากแผงที่เช่า แต่ค่าเสียหายในมูลละเมิดดังกล่าวที่เกิดก่อนวันฟ้องคดีย้อนขึ้นไปเกิน 1 ปี เป็นอันขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
              2.เช่าตามแผ่นพับโฆษณาชวนเชื่อของเจ้าของโครงการแต่ไม่ได้ทำตามที่โฆษณาไว้ต้องคืนเงินให้ผู้เช่าพร้อมค่าเสียหาย
             คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15124/2557
             ข้อความที่ระบุในแผ่นพับโฆษณาให้เช่าพื้นที่อาคารของจำเลยที่ 1 เป็นต้นว่า มีร้านค้ากว่า 250 ร้าน โดยชั้นล่างเป็นพื้นที่จำหน่ายสินค้า ชั้น 2 เป็นพื้นที่ศูนย์อาหารและร้านค้า ชั้น 3 เป็นพื้นที่สถาบันสอนภาษาและกวดวิชา ศูนย์อาหาร และสำหรับสถานที่จอดรถมีพื้นที่รองรับได้ร่วม 100 คัน ล้วนเป็นการชักจูงให้ผู้ประกอบธุรกิจสนใจโดยเชื่อมั่นว่าหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่ระบุไว้ การเข้าประกอบธุรกิจในสถานที่นี้ย่อมจะบังเกิดผลดีแก่ตน และจำเลยที่ 1 ยังออกบู๊ธประชาสัมพันธ์โครงการ ติดแผ่นป้ายโฆษณา และพนักงานของจำเลยที่ 1 อธิบายต่อผู้สนใจซึ่งรวมทั้งโจทก์ว่า ในศูนย์การค้านี้จะมีร้านค้าที่มีชื่อเสียง รวมตลอดทั้งจำเลยที่ 1 จะทำแผนการตลาดให้ทีมบริหารที่มีความสามารถทำการชักจูงลูกค้าให้เข้าใช้บริการประกอบธุรกิจภายในอาคาร แต่ข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ดังนี้ สัญญาให้ได้รับสิทธิการเช่าบู๊ธและสัญญาเช่าพื้นที่ในอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้ต่อกัน เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งทั้งสองฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันแม้แผ่นพับโฆษณามิได้แนบรวมอยู่ในสัญญาด้วยก็ตาม ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่โฆษณาไว้เป็นสาระสำคัญที่จำเลยที่ 1 มีเจตนาชักจูงใจให้โจทก์เข้าทำสัญญาด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามที่โฆษณา จึงถือมิได้ว่าโจทก์ได้รับมอบพื้นที่ให้เช่าตรงตามที่ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินเพื่อให้ได้รับสิทธิในการเช่าแก่โจทก์ รวมทั้งค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายในการตกแต่งสถานที่ที่โจทก์เสียไปในการเข้าดำเนินการตามสิทธิแห่งสัญญา
            3. แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของห้องพิพาท และเป็นผู้ให้เช่า โจทก์เป็นผู้เช่า จำเลยก็ไม่มีอำนาจไปรบกวนการครอบครองของผู้เช่า(โจทก์)ได้โดยพลการ(แม้โจทก์จะผิดสัญญาเช่าก็ตาม) ฉะนั้น เป็นความผิดฐานบุกรุกได้ และถึงแม้ว่าผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าจนศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่ผู้เช่าแล้วก็ตาม หากผู้เช่ายังไม่ทราบคำบังคับ ผู้ให้เช่าไปรบกวนการครอบครองหรือถือการครอบครองก็เป็นความผิดฐานบุกรุกได้เช่นกัน (อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2518)
            4. ถ้าสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า หากผู้เช่าผิดสัญญาผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าได้ทันที ดังนี้ เมื่อผู้เช่าผิดสัยญา ผู้ให้เช่าปิดล็อกกุญแจอาคารที่เช่า เป็นการกระทำที่ขาดเจตนาเพราะเข้าใจว่าตนมีอำนาจกระทำได้ตามสัญญา ไม่มีความผิดฐานบุกรุก (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5396/2549, 2609/2522,3025/2541)
            5. สัญญาเช่าสถานที่ แต่สถานที่เช่ายังอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า ถ้าผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่ามาใช้สถานที่เช่าอีก หรือขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกไป ก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก (คำพิพากษาฎีกา 3091/2522, 489/2551)
             6. ในกรณีสัญญาเช่าสิ้นสุดลงเป็นวันๆ ผู้ให้เช่ามีสิทธิห้ามผู้เช่าไม่ให้เข้าไปในที่เช่าวันต่อไปได้ ถ้าผู้เช่ายังขืนเข้าไป ผิดฐานบุกรุกได้ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1833/2523)
             7. ในกรณีผู้เช่าเช่าทรัพย์สังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่เช่าอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าไปรบกวนการครอบครองสังหาริมทรัพย์ที่เช่า ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1468/2527,163/2523)
ก่อนจะเช่า ควรคิดก่อนว่าจะมีความสามารถชำระค่าเช่าได้หรือไม่ ถ้าเช่าโดยไม่คิดก่อน ก็จะถูกฟ้องขับไล่ในที่สุด
 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 ถ้าผู้ให้เช่าผิดสัญญาเช่า เช่น ยังไม่ครบระยะเวลาเช่าตามที่อยู่ในสัญญา ผู้ให้เช่าต้องจ่ายค่าเสียหายให้ผู้เช่าหรือไม่

โดยคุณ Nathaphong 7 มี.ค. 2560, 14:35

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก