คู่มือพนักงานสินเชื่อ-กฎหมายสินเชื่อ-อบรมสัมมนาสินเชื่อ-คดีสินเชื่อ-ภาษีที่สหกรณ์ได้รับการยกเว้น|คู่มือพนักงานสินเชื่อ-กฎหมายสินเชื่อ-อบรมสัมมนาสินเชื่อ-คดีสินเชื่อ-ภาษีที่สหกรณ์ได้รับการยกเว้น

คู่มือพนักงานสินเชื่อ-กฎหมายสินเชื่อ-อบรมสัมมนาสินเชื่อ-คดีสินเชื่อ-ภาษีที่สหกรณ์ได้รับการยกเว้น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คู่มือพนักงานสินเชื่อ-กฎหมายสินเชื่อ-อบรมสัมมนาสินเชื่อ-คดีสินเชื่อ-ภาษีที่สหกรณ์ได้รับการยกเว้น

ภาษีที่สหกรณ์ได้รับการยกเว้น

บทความวันที่ 19 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 12460 ครั้ง


ภาษีที่สหกรณ์ได้รับการยกเว้น

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 เนื่องจากสหกรณ์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ตามมาตรา  39(3)  แห่งประมวลรัษฎากร  จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด

ประมวลรัษฎากรมาตรา  39
          “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”  หมายความว่า  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย  หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ  และให้หมายความรวมถึง
           (1) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ  องค์การของรัฐบาลต่างประเทศหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
           (2) กิจการร่วมค้า  ซึ่งได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท  บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา  คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล  ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521  มาตรา 5  ใช้บังคับ  31  ธันวาคม  2521  เป็นต้นไป) (ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10 )  มาตรา  5  ทวิ)
         (3) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7) (ข) (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25 ) พ.ศ.2525 มาตรา 14  ใช้บังคับ  3  กรกฎาคม  2525  เป็นต้นไป

2. สหกรณ์ไม่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

           เพราะประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดให้สมาคมสหกรณ์ซึ่งไม่ใช่ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ  ( เช่น  หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเมื่อมีการรับเงินค่าสินค้า / หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยเงินฝากระหว่างสหกรณ์ / เงินฝากธนาคาร )
          “มาตรา 69 ทวิ  ภายใต้บังคับมาตรา 70  ถ้ารัฐบาล  องค์การของรัฐบาล  เทศบาล  สุขาภิบาล  หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40  ให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด  ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1  ภาษีที่หักไว้นี้ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น  ในการนี้ให้นำมาตรา 52  มาตรา 53  มาตรา 54  มาตรา 58  และมาตรา 59  มาใช้บังคับโดยอนุโลม” (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16 ) พ.ศ.2502  มาตรา 32  ใช้บังคับ  5  พฤศจิกายน  2502 เป็นต้นไป)

 3. ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกิจการให้กู้ยืมเงินของสหกรณ์
           ประมวลรัษฎากร มาตรา 91/3  ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการดังต่อไปนี้
          (3) กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์  เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
           กรมสรรพากรตอบหนังสือหารือของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่า  การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับสหกรณ์ออมทรัพย์  เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น ตามมาตรา  91/3(3)  แห่งประมวลรัษฎากร  ดังกล่าว  ให้หมายความรวมถึงสหกรณ์ประเภทอื่น ๆ  ซึ่งให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์อื่นด้วย  (หนังสือที่  กค0802/04717   ลงวันที่  10  มีนาคม  2535)

ภาษีที่สมาชิกได้รับยกเว้น

           1. ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่สมาชิกได้รับจากสหกรณ์  ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้  (พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่  29)  พ.ศ. 2534   วันที่  25  ตุลาคม  2534)
 

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 
           มาตรา 5  ให้ยกเลิกความใน (8) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน  
          (8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
          (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน  หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
          (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
          (ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้  ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น  ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์  วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
          มาตรา 6  ให้ยกเลิก (21)  ของมาตรา  42  แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 
          มาตรา 7  ให้ยกเลิกความใน (3)  ของมาตรา 48  แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร  (ฉบับที่ 15)  พ.ศ.2532 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้  สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4) (ก) และ (ข) ดังต่อไปนี้”
           2. สมาชิกได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเงินปันผล หรือ เงินเฉลี่ยคืน (พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 40)  พ.ศ. 2514  วันที่  17  พฤศจิกายน  2514)  พระราชกฤษฎีกา  ออกตามความในประมวลรัษฎากร  ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 40)  พ.ศ. 2514
           มาตรา 3  ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ผู้มีเงินได้จากการเป็นสมาชิกสหกรณ์  เฉพาะส่วนเงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืน  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ที่ได้รับหรือจะได้รับก่อนหรือตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
 
          3.  สมาชิกหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ  เช่าซื้อ  หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย  โดยจำนวนอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น    ประมวลรัษฎากร  มาตรา  47(1) (ซ)
          มาตรา 47  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40  เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ  ถึงมาตรา 46 แล้ว  เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี  ให้หักลดหย่อนได้อีกต่อไปนี้
 (1) ลดหย่อนให้สำหรับ
             “(ซ)  ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม  ผู้ที่มีเงินได้จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น  บริษัทประกันชีวิต  สหกรณ์หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ  เช่าซื้อ  หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย
โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน  10,000  บาท  
          ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา  อาคารดังกล่าวให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย”(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ฉบับที่ 37)  พ.ศ.2534  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1  มกราคม  2534  เป็นต้นไป)
(ดูประกาศกรมสรรพากร  ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 24)) 
 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก