คำพิพากษาฎีกา/จำเลยขอกลับคำให้การในคดีอาญา/ยาเสพติด|คำพิพากษาฎีกา/จำเลยขอกลับคำให้การในคดีอาญา/ยาเสพติด

คำพิพากษาฎีกา/จำเลยขอกลับคำให้การในคดีอาญา/ยาเสพติด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกา/จำเลยขอกลับคำให้การในคดีอาญา/ยาเสพติด

ในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตาม แต่การขอแก้ไขคำให้การจำเลย

บทความวันที่ 18 พ.ย. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 12856 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกา/จำเลยขอกลับคำให้การในคดีอาญา/ยาเสพติด



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214 - 6216/2544
ในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตาม แต่การขอแก้ไขคำให้การจำเลยสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยอีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ไขได้ การที่จำเลยยื่นคำให้การใหม่โดยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องของโจทก์ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขคำให้การเช่นนี้จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การแล้วจึงพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นสามสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษติดต่อกันแม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ศาลพิพากษาให้นับโทษแต่ละสำนวนต่อกันจึงเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2547
การขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพกับขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธ เป็นการแก้ไขคำให้การตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง กำหนดให้สิทธิจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษาเมื่อมีเหตุอันสมควร ถึงแม้ว่าการจะอนุญาตหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลก็ตาม แต่สำหรับกรณีนี้จำเลยได้คัดค้านข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งสุรปผลข้อเท็จจริงที่เป็นผลร้ายต่อจำเลย ถือว่าคดีมีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2309/2548
การขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำให้การตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง จะต้องกระทำเสียก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา การที่จำเลยขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา ย่อมเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยขอแก้บทลงโทษจาก พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 40, 42, 65, 66, 70 ทวิ เป็นมาตรา 21, 40, 42, 65, 66 ทวิ, 70, 71 ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง จำเลยย่อมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าว แสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานะความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเอง หรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งจำเลยกระทำความผิดก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์และไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลัง ศาลจึงพิพากษาลงโทษปรับจำเลยได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2544 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 12 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2551
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของเขาก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาตก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์" ซึ่งหมายความว่า หากจำเลยประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การ จำเลยจะต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การเพราะเหตุใด มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยทั้งนี้ ศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างอิงในคำร้องว่าเป็นเหตุผลอันสมควรอนุญาตหรือไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ ต่อมาวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังอีกครั้งหนึ่ง จำเลยยังคงยืนยันให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย โดยจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นให้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 แต่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2547 จำเลยขอยื่นคำให้การฉบับใหม่เป็นให้การปฏิเสธในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร โดยอ้างว่าไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้วถึง 2 ครั้ง จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ซึ่งแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหาในความผิดฐานดังกล่าวตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว การที่จำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร หลังจากที่ให้การรับสารภาพมาแล้วประมาณ 2 เดือนเศษ โดยอ้างเหตุว่าจำเลยไม่เข้าใจข้อกฎหมายนั้น เห็นได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกส่อไปในทางประวิงคดีให้ล่าช้า จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2551
การกระทำความผิดฐานยักยอกของจำเลยมิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลแขวงนครศรีธรรมราช แต่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราชและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครศรีธรรมราช พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชย่อมมีอำนาจสอบสวน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลแขวงนครศรีธรรมราชตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1)
การขอแก้ไขคำให้การ จำเลยสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาล การที่จำเลยขอเพิกถอนคำให้การรับสารภาพเป็นให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ เท่ากับจำเลยยื่นคำให้การใหม่โดยขอถอนคำให้การเดิม ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขคำให้การหลังจากที่ได้ให้การรับสารภาพแล้วถึง 1 ปี โดยอ้างเหตุว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครศรีธรรมราชมาฟ้องรวมกันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความและอ้างว่าจำเลยไม่เข้าใจจึงรับสารภาพเพื่อให้เรื่องจบเท่านั้น เป็นการให้การปฏิเสธภายหลังจำเลยผิดนัดชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมแล้วเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ไม่ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996/2551
คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนของคำขอท้ายฟ้อง โดยขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 300 ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 34 (4), 157 โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาและคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตามคำร้องแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กรณีจึงทำให้คดีเสร็จสำนวนไปจากศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 เช่นนี้ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดในคำฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมข้อความว่า ป.อ. มาตรา 300 ที่คำขอท้ายฟ้องนั้น จึงเป็นเพียงการเพิ่มเติมฐานความผิดเท่านั้นและจำเลยย่อมทราบข้อหาตามคำฟ้องดีอยู่แล้วจึงไม่ต้องมีการแจ้งข้อหาหรือสอบสวนเพิ่มเติมในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 อีก และไม่ถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย กรณีจึงมีเหตุอันสมควรในการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ทั้งได้ความด้วยว่าจำเลยให้การปฏิเสธลอยๆ โดยมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ต่อมาภายหลังจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ เมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นเพียงการเพิ่มเติมฐานความผิดและจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้นชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163, 164 แล้ว

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 5

อยากถามว่าจำเลยที่ถูกตัดสินคดีอาญสที่1ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารทางราชการแต่เจ้าหน้าที่ทำโยนความผิดให้โดยเอาตัวเองรอด และข้อหา2ให้การเท็จและข้อหา3รวมให้สินบนกับเจ้าหน้าที่และคดีตัดแล้วจำเลยที่1ฝากขังและรับสรภาพตัดสินจำคุก ลด เหลือ 1ปี6เดือนและจำเลย2รับสรภาพข้อที่3ตัดสินชั้นต้นคนบะ3ปีในข้อหา 2-3ข้อหาที่1ยกฟ้องแต่กำลังอุทรณ์ศาล ควรทำไงต่อครับที่ฝห้คดีมันอยู่ในความเป็นธรรม

โดยคุณ นายพิสันต์ ชมภูเทพ 9 มิ.ย. 2559, 22:48

ความคิดเห็นที่ 4

รบกวนสอบถาหน่อย คับ ว่า ในคดีที่อาญา วันนัดพร้อมจำเลยให้การปฎิเสธ พอถึงวันวสืบพยาน จำเลยต้องการรับสารภาพ ในกรณีอย่างนี้ ควรทำอย่างไรบ้าง คับ เขียนคำร้อง อย่างไร ช่วงอธิบายพอสังเขป และเคร้าโครงควรเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างให้หน่อย คับ ทนายฝึกหัด จะเป็นพระคุณอย่างสูง

โดยคุณ ก้อ 30 ม.ค. 2556, 11:32

ตอบความคิดเห็นที่ 4

 เเถลงศาลไปว่า ขอถอนคำให้การเดิม เเละให้การใหม่เป็นรับสารภาพนะครับ ศาลก็จะบันทึกให้ หรือจะเขียนคำให้การรับสารภาพไปยื่นต่อศาลในวันสืบพยานก็ได้ครับ ก็เขียนคำร้องขอถอนคำให้การเดิมเเละให้การใหม่เป็นรับสารภาพครับ

โดยคุณ กิตติพงษ์ ทองประกอบ (สมาชิก) 11 มิ.ย. 2557, 19:55

ความคิดเห็นที่ 3

 เเถลงศาลไปว่า ขอถอนคำให้การเดิม เเละให้การใหม่เป็นรับสารภาพนะครับ ศาลก็จะบันทึกให้ หรือจะเขียนคำให้การรับสารภาพไปยื่นต่อศาลในวันสืบพยานก็ได้ครับ ก็เขียนคำร้องขอถอนคำให้การเดิมเเละให้การใหม่เป็นรับสารภาพครับ

โดยคุณ กิตติพงษ์ ทองประกอบ (สมาชิก) 11 มิ.ย. 2557, 19:55

ความคิดเห็นที่ 2

 รบกวนสอบถามนิดนึงคับ  ผมจะฟังคำพิพากษาศาลฏีกา เร็วๆนี้  โดยที่ชั้นตั้น ตัดสินจำคุก 5 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ ยืนตามศาลชั้นตั้น ฏีกามีโอกาสมั้ยคับ ที่จะกลับเป็น ยกฟ้อง อยากได้กำลังใจน่ะคับ

โดยคุณ โอ๋ 8 ม.ค. 2555, 17:58

ตอบความคิดเห็นที่ 2

 คดีนี้ ถ้ารับสารภาพ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก็เเสดงว่า ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นได้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เป็นประโยชน์เเก่จำเลยเเล้ว ถึงจะฎีกาไป ศาลฎีกาก็ต้องพิพากษายืนครับ

ถ้าจะอุทธรณ์เรื่องลดโทษลงอีกคงจะหมดหวังครับ ถ้าให้การปฏิเสธ ก็ฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้องของโจทก์ครับ ถ้าคุณให้การปฏิเสธ คุณก็ยื่นฎีกาได้นะครับ เป็นดุลพินิจของศาลฎีกาครับ

โดยคุณ กิตติพงษ์ ทองประกอบ (สมาชิก) 11 มิ.ย. 2557, 20:02

ความคิดเห็นที่ 1

 คดีนี้ ถ้ารับสารภาพ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก็เเสดงว่า ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นได้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เป็นประโยชน์เเก่จำเลยเเล้ว ถึงจะฎีกาไป ศาลฎีกาก็ต้องพิพากษายืนครับ

ถ้าจะอุทธรณ์เรื่องลดโทษลงอีกคงจะหมดหวังครับ ถ้าให้การปฏิเสธ ก็ฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้องของโจทก์ครับ ถ้าคุณให้การปฏิเสธ คุณก็ยื่นฎีกาได้นะครับ เป็นดุลพินิจของศาลฎีกาครับ

โดยคุณ กิตติพงษ์ ทองประกอบ (สมาชิก) 11 มิ.ย. 2557, 20:02

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก