การค้ำประกันต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้|การค้ำประกันต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้

การค้ำประกันต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การค้ำประกันต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2533

บทความวันที่ 26 ก.ค. 2565, 09:55

มีผู้อ่านทั้งหมด 554 ครั้ง


การค้ำประกันต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2533
               จำเลยทั้งสองเช่าหลักทรัพย์ น.ส.3 ที่ดินของโจทก์เพื่อประกันตัว ว. พี่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกฟ้องในข้อหาฉ้อโกงประชาชนต่อศาล โดยโจทก์เรียกค่าตอบแทนและให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ เพื่อเป็นประกันในการที่โจทก์ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัว ว. ซึ่งขณะจำเลยที่ 1 และที่ 2ทำสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าว สัญญาประกันตัว ว.ยังไม่ได้ทำและความเสียหายยังไม่เกิดขึ้น ไม่มีหนี้เดิมที่จะแปลงเป็นมูลหนี้ในสัญญากู้เงินได้ จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ อีกทั้งยังไม่รู้ว่าศาลจะตีราคาประกันเท่าใด จึงเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนและไม่อาจทำสัญญากู้เงินเพื่อประกันหนี้นั้นได้ ดังนั้นจำเลยที่ 1ผู้กู้เงินและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4684/2536
              ก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1ต่อธนาคาร โจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินไว้กับโจทก์จำนวน 80,000 บาท เพื่อเป็นประกัน ดังนั้น แม้ในขณะนั้นสัญญากู้เงินจะยังไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสองแต่ก่อนฟ้องคดี ธนาคารได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปแล้วเท่ากับจำนวนเงินตามหนังสือสัญญากู้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1ได้รับเงินตามหนังสือสัญญากู้นับแต่ธนาคารได้หักเงินของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หนังสือสัญญากู้จึงเป็นหนังสือสัญญาที่บริบูรณ์มีมูลหนี้ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161 
#ทนายคลายทุกข์ #ผู้ประกัน #หน้าที่ของผู้ค้ำประกัน #สัญญาค้ำประกัน

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก