การสั่งจำหน่ายคดีเพราะคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย  ไม่ถือเป็นการชนะคดี|การสั่งจำหน่ายคดีเพราะคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย  ไม่ถือเป็นการชนะคดี

การสั่งจำหน่ายคดีเพราะคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย  ไม่ถือเป็นการชนะคดี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การสั่งจำหน่ายคดีเพราะคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย  ไม่ถือเป็นการชนะคดี

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2564

บทความวันที่ 30 มิ.ย. 2565, 11:30

มีผู้อ่านทั้งหมด 667 ครั้ง


การสั่งจำหน่ายคดีเพราะคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย  ไม่ถือเป็นการชนะคดี
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2564
           การสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์นั้นเป็นไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42 โดยกฎหมายกำหนดให้ยื่นภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะและกฎหมายบัญญัติไว้ด้วยว่าหากไม่ยื่นให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเรื่องนั้นออกเสียจากสารบบความ บทบัญญัติมาตรา 42 เชื่อมโยงกับบทบัญญัติมาตรา 132(3) ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ บทบัญญัติในส่วนนี้มีลักษณะของการบัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการจำหน่ายคดีได้  ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติในลักษณะบังคับให้ศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไปหากเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้แต่อย่างใด โดยบทบัญญัติทั้่งมาตรา 42 และมาตรา 132 ดังกล่าวนั้น เป็นบทบัญญัติในทางวิธีพิจารณาความมุ่งหมายให้เกิดความเป็นธรรมในการดำเนินคดี ไม่ใช่ถือเป็นเรื่องเคร่งครัดโดยนำมาเป็นข้อชี้ขาดในข้อชนะในทางเทคนิคแต่อย่างใด  ดังนั้น เมื่อศาลยังไม่ได้สั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ  ก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้  แม้จะเกินกำหนเวลา 1 ปี ก็ตามกรณีหาใช้เป็นบทบังคับศาลไม่
         นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เกิดจากจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายที่จำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนไม่ได้เกิดจากการแสดงเจตนาของโจทก์จึงไม่ผลผูกพันตามกฎหมาย หาใช่เป็นการทำกลฉ้อฉลไม่
         การใช้สิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณานั้นเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองหากโจทก์ประสงค์ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องดำเนินการเพื่อคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกแต่อย่างใด การที่โจทก์ไม่ดำเนินการไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
         การฟ้องคดีของโจทก์เป็นกรณีของการใช้สิทธิตามปกติในทางศาลในการฟ้องร้องติดตามเพิกถอนนิติกรรมที่กระทำไปโดยไม่ชอบตามสิทธิของโจทก์  กรณีหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
         ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย จำนอง  และขายฝากแล้ว โจทก์ย่อมกลับมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน โดยผลของคำพิพากษาไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับให้จำเลยทั้งสามและจำเลยร่วมทั้งสี่ดำเนินการ  จึงไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา และการที่โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวถือเป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยผู้ไม่ใช่เจ้าของคืนโฉนดที่ดินแก่ตน จำเลยร่วมที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ใช่เจ้าของจึงต้องคืนโฉนดให้แก่โจทก์
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161 
#จำหน่ายคดี #คู่ความตาย #จำหน่ายคดีออกจากสารบบ #ทนายคลายทุกข์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก