ครอบครอง 35 ปี ก็ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน|ครอบครอง 35 ปี ก็ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน

ครอบครอง 35 ปี ก็ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ครอบครอง 35 ปี ก็ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2563

บทความวันที่ 30 พ.ค. 2565, 13:30

มีผู้อ่านทั้งหมด 1047 ครั้ง


ครอบครอง 35 ปี ก็ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2563
           ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  หากโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากบุคคลอื่นก็เป็นการซื้อขายที่ดินของรัฐ ไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันต่อรัฐได้  และหากประสงค์จะขอเข้ารับการจัดที่ดินต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  พ.ศ.2518  มาตรา 19(7) และ 36 ทวิ    ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ พ.ศ.2535 ซึ่งไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นเกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการจัดสรรที่ดิน รวมทั้งได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.กง4-01 หรือไม่  เพราะเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  มุ่งหมายในการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพเท่านั้น  แม้จะมีข้อผ่อนผันให้ผู้มีที่ดินจำนวนมากสามารถกระจายสิทธิให้แก่บุคคลอื่นได้ก็ตาม  อีกทั้งที่ดินพิพาทมีการโต้แย้งการครอบครองระหว่างโจทก์กับจำเลย  และยังไม่มีการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่ผู้ใด  จึงเป็นกรณีที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าผู้ใดอยู่ในฐานะที่จะได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ การที่จำเลยไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องยาว 35 ปี  เพื่อประกอบการขอเอกสารสิทธิพิพาทย่อมไม่ได้รับความเสียหายใดๆ จากการกระทำของจำเลยโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายทางอาญา  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2
 ในประมวลกฎหมายนี้
(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161 
#ที่ดินสปก. #ปฏิรูปที่ดิน
#ทนายคลายทุกข์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก