ค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปทำธุรกิจ ถือเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ|ค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปทำธุรกิจ ถือเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ

ค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปทำธุรกิจ ถือเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปทำธุรกิจ ถือเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2562

บทความวันที่ 21 ธ.ค. 2563, 09:34

มีผู้อ่านทั้งหมด 2066 ครั้ง


ค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปทำธุรกิจ ถือเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2562
             ค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ร่วมอ้างว่า ต้องเสียโอกาสในการนำเงินที่ถูกจำเลยยักยอกไปใช้ดำเนินธุรกิจซื้อขายยางพารา อันเป็นอาชีพของโจทก์ร่วมซึ่งสามารถทำกำไรได้ไม่น้อยกว่าวันละ 5,000 บาท เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ร่วม และยังไม่แน่นอนว่าการดำเนินธุรกิจดังกล่าวจะได้กำไรดังที่โจทก์ร่วมกล่าวอ้างหรือไม่  เพราะเป็นเรื่องของเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ และมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคสอง  โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 438
  ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
            อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 44/1
  ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
            การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น  ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้
          คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก