หมอรักษาผิดพลาดถือว่าประมาทร้ายแรงต้องรับผิด|หมอรักษาผิดพลาดถือว่าประมาทร้ายแรงต้องรับผิด

หมอรักษาผิดพลาดถือว่าประมาทร้ายแรงต้องรับผิด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หมอรักษาผิดพลาดถือว่าประมาทร้ายแรงต้องรับผิด

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกา 2123/2562

บทความวันที่ 23 ก.ย. 2563, 16:12

มีผู้อ่านทั้งหมด 1670 ครั้ง


หมอรักษาผิดพลาดถือว่าประมาทร้ายแรงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกา 2123/2562
             โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 1 ตรวจรักษาผู้ตายด้วยการผ่าตัดครั้งแรกโดยไม่ตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ก่อนทั้งที่กระทำได้  เมื่อผ่าตัดแล้วพบว่าผู้ตายมิได้เป็นเนื้องอกแต่เป็นการตั้งครรภ์เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นอันตรายแก่ร่างกายและอนามัยของผู้ตายและทารกในครรภ์  ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นข้อที่โจทก์ทั้งสี่ยกขึ้นมาแล้วโดยชอบตั้งแต่ชั้นยื่นคำฟ้องและชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น แม้โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้มีคำขอบังคับให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีผลจากการผ่าตัดครั้งแรก ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับผิดในส่วนนี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551  มาตรา 39  แต่อำนาจศาลในการยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องหรือกำหนดวิธีการบังคับให้เหมาะสมได้แม้จะเกินกว่าที่ปรากฎในคำขอบังคับของโจทก์ตามมาตรา 39 นี้  นอกจากนี้ต้องอยู่ในบังคับว่าข้อที่ยกขึ้นวินิจฉัยนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่คู่ความยกขึ้นมาว่ากล่าวกันโดยชอบแล้ว ยังต้องอยู่ภายใต้บังคับหลักทั่วไปแห่งหนี้ว่าต้องเป็นกรณีที่โจทก์ในคดีผู้บริโภคเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิจะเรียกให้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตามอำนาจแห่งมูลหนี้อยู่ด้วย ดังบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 194 หากเป็นกรณีที่ไม่มีมูลหนี้หรือไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อกันตามกฎหมายหรือสัญญา  ศาลในคดีผู้บริโภคก็หามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยหรือกำหนดวิธีการบังคับเกินกว่าที่ปรากฎในคำขอบังคับไม่  เพราะมิใช่กรณีที่มีสิทธิเรียกร้องแต่คำขอบังคับบกพร่อง
           ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสี่กรณีผู้ต้องต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาจากการผ่าตัดครั้งแรก ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 3 เพื่อรักษาบาดแผลผ่าตัด และต้องรักษาตัวต่อที่บ้านเป็นเงิน 200,000 บาท นั้น  เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 446  ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนก็ได้  และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว  คดีนี้ผู้ตายไม่ได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีดังกล่าวไว้ ทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นกรณีที่ได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย  โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ส่วนนี้ดังที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจแห่งมูลหนี้ที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน  ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคจึงไม่อาจอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551  มาตรา 39  กำหนดค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้ได้  และย่อมส่งผลให้ไม่อาจสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดให้ได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551  มาตรา 42 ไปด้วย

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก