การส่งหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกัน และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน|การส่งหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกัน และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

การส่งหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกัน และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การส่งหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกัน และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

  • Defalut Image

ผู้ค้ำประกันไม่เคยแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ไปถึงเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งหนังสือบอกกล่าวว่าลูกหนี้ผิดนัด

บทความวันที่ 18 พ.ค. 2563, 09:05

มีผู้อ่านทั้งหมด 2731 ครั้ง


การส่งหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกัน และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

                  ผู้ค้ำประกันไม่เคยแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ไปถึงเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งหนังสือบอกกล่าวว่าลูกหนี้ผิดนัดไปยังสถานที่ที่ผู้ค้ำประกันแจ้งไว้ในวันทำสัญญา และผู้ค้ำประกันหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับหนังสือดังกล่าว และไม่มีผู้ใดรับจดหมายไว้แทนโดยชอบก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการบอกกล่าวลูกหนี้ผิดนัดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้น เจ้าหนี้มีอำนาจฟ้องได้ แต่เมื่อหนังสือบอกกล่าวไปถึงผู้ค้ำประกันเกิน 60 วันนับแต่ลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดเฉพาะต้นเงิน ดอกเบี้ยและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์เพียง 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้น และเมื่อผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ศาลก็ต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ชั้นต้นรับผิดก่อน หากลูกหนี้ไม่ยอมรับผิด ก็ให้ผู้ค้ำประกันรับผิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 3263/2562
          ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยเจตนาแก่ฝ่ายหนึ่ง” และมาตรา 169 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า “การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา…” เมื่อตามสัญญาค้ำประกัน ข้อ 8 ระบุว่า ผู้ค้ำประกันตกลงว่าในกรณีที่ธนาคารมีหนังสือแจ้งหรือบอกกล่าวเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการค้ำประกันตามหนังสือสัญญานี้ หรือตามกฎหมาย หากส่งไปยังผู้ค้ำประกัน ณ ที่อยู่ ดังกล่าวข้างต้นของหนังสือสัญญานี้ หรือส่ง ณ สถานที่ซึ่งผู้ค้ำประกันแจ้งให้ธนาคารทราบเป็นหนังสือภายหลัง ให้ถือว่าธนาคารได้แจ้งหรือบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ค้ำประกันทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยแจ้งย้ายให้โจทก์ทราบ ดังนั้น ที่พนักงานไปรษณีย์นำหนังสือทวงถามของโจทก์ไปส่งให้จำเลยที่ 2 ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญา อันเป็นการส่งอย่าเป็นทางการ แม้จะไม่พบจำเลยที่ 2 และไม่มีผู้รับไว้โดยระบุว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ แสดงว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่รับหนังสือบอกล่าวของโจทก์ และถือได้ว่าหนังสือบอกกล่าว การผิดนัดของโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 นอกจากนี่ยังปรากฏว่าก่อนฟ้อง โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามที่อยู่เดียวกันกับคำฟ้อง ซึ่งมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 ไว้ด้วยมีผลเป็นการบอกกล่าวโดยชอบตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นประกอบมาตรา 686 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่20) พ.ศ.2557 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
          หนังสือบอกกล่าวของโจทก์ดังกล่าวได้ไปถึงจำเลยที่ 2 อันเป็นเวลาที่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดตามมาตรา 686 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตามวรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 รับผิดในดอกเบี้ยของต้นเงินจำกัดเฉพาะช่วงเวลา 60 วัน นับแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดจึงชอบแล้ว
          เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม ศาลชั้นต้นต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อนถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 686
  เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
            ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
          เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้หรือผู้ค้ำประกันมีสิทธิชำระหนี้ได้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้ำประกันอาจชำระหนี้ทั้งหมดหรือใช้สิทธิชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ที่ลูกหนี้มีอยู่กับเจ้าหนี้ก่อนการผิดนัดชำระหนี้  ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ตนต้องรับผิดก็ได้ และให้นำความในมาตรา 701 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          ในระหว่างที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามวรรคสาม เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดในระหว่างนั้นมิได้
การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันตามมาตรานี้ ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้ค้ำประกันตามมาตรา 693

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก