บังเอิญเจอกันแล้วฆ่า ไม่เป็นไตร่ตรองไว้ก่อน|บังเอิญเจอกันแล้วฆ่า ไม่เป็นไตร่ตรองไว้ก่อน

บังเอิญเจอกันแล้วฆ่า ไม่เป็นไตร่ตรองไว้ก่อน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

บังเอิญเจอกันแล้วฆ่า ไม่เป็นไตร่ตรองไว้ก่อน

  • Defalut Image

การที่จำเลยมาพบผู้ตายอยู่ในร้านแล้วจ้องหน้ากันครั้งนึง แล้วกลับบ้านไปประมาณ 5-10 นาที

บทความวันที่ 15 พ.ค. 2563, 09:29

มีผู้อ่านทั้งหมด 903 ครั้ง


บังเอิญเจอกันแล้วฆ่า ไม่เป็นไตร่ตรองไว้ก่อน

           การที่จำเลยมาพบผู้ตายอยู่ในร้านแล้วจ้องหน้ากันครั้งนึง แล้วกลับบ้านไปประมาณ 5-10 นาที จำเลยก็กลับเข้ามาแล้วเกิดโต้เถียงกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าที่จะผู้ตายนั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่พบผู้ตายในร้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2562
          การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายความว่า ก่อนทำการฆ่า ผู้กระทำผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วน การที่จำเลยมาพบผู้ตายอยู่ในร้านเกิดเหตุและจ้องหน้ากันครั้งหนึ่งแล้วกลับบ้านประมาณ 5-10 นาที จำเลยก็กลับเข้ามาในร้านอีกครั้งหนึ่ง จนเกิดเหตุยิงผู้ตาย ก็แปลความว่าจำเลยคิดทบทวนและตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้ตายหาได้ไม่ เพราะว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยและผู้ตายพบกันที่ร้านที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ เมื่อมีการจ้องหน้ากันแล้วจำเลยได้ออกจากร้านดังกล่าวไปประมาณ 5-10 นาที ก็กลับมาที่ร้านโดยไม่คาดคิดว่าจะพบผู้ตายอีก จึงเห็นได้ว่าจำเลยมาพบผู้ตายที่ร้านเกิดเหตุแล้วมีความคิดที่จะแก้แค้นผู้ตาย หลังจากที่มีการโต้เถียงกัน แสดงว่าว่าจำเลยมีความคิดที่จะฆ่าผู้ตายเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังเมื่อพบเห็นผู้ตายภายในร้านเกิดเหตุอันเนื่องมาจากจำเลยและผู้ตายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน การกระทำของจำเลยยังไม่ได้ว่ากระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยคงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 เท่านั้น
          หลังจากที่จำเลยและผู้ตายเกิดการโต้เถียงกันแล้วผู้ตายเดินออกจากร้านเกิดเหตุโดยมีจำเลยเดินตามหลังผู้ตายออกไปพร้อมกับชักอาวุธปืนออกมา เมื่อผู้ตายเดินเลยรถยนต์ของผู้ตายที่จอดไว้ได้ถอดรองเท้าออก ทันใดนั้น จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จึงเห็นได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายก่อน ดังนั้น ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย บิดามารดาของผู้ตายจึงเข้ามาจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2)
          ตาม ป.อ. มาตรา 92 ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้ประการหนึ่งตามมาตรานี้ จะต้องเป็นผู้ที่ถุกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และได้กระทำความผิดนั้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งการรับทาจำคุก หมายความว่า ได้รับโทษจำคุกจริงๆ โดยคำพิพากาถึงที่สุดและบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 เพราะถ้าคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกถูกเปลี่ยนแปลงไปในภายหลัง ก็จะถือว่าจำเลยเคยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุก 2 เดือน แต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังเป็นเวลา 2 เดือน ตาม ป.อ. มาตร23 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้โทษจำคุก หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยครั้งหลังถึงจำคุกก็จะเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 ไม่ได้

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 288
  ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 289  ผู้ใด
(1) ฆ่าบุพการี
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้
    ต้องระวางโทษประหารชีวิต

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก