เจ้าหนี้ไม่มีหนังสือทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน ถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง|เจ้าหนี้ไม่มีหนังสือทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน ถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง

เจ้าหนี้ไม่มีหนังสือทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน ถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจ้าหนี้ไม่มีหนังสือทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน ถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง

  • Defalut Image

เจ้าหนี้ไม่มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 686 วรรคหนึ่ง

บทความวันที่ 29 เม.ย. 2563, 09:53

มีผู้อ่านทั้งหมด 2250 ครั้ง


เจ้าหนี้ไม่มีหนังสือทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน ถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง

             เจ้าหนี้ไม่มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังผู้ค้ำประกัน ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 686 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น ดังนี้ ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด โจทก์ย่อมจะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนมีหนังสือบอกกล่าวไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2562
            ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัด โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ปรากฎว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกัน ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 686 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น ดังนี้ ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด โจทก์ย่อมจะเรียกให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ก่อนมีหนังสือบอกกล่าวไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 686
  เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
             ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
             เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้หรือผู้ค้ำประกันมีสิทธิชำระหนี้ได้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้ำประกันอาจชำระหนี้ทั้งหมดหรือใช้สิทธิชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ที่ลูกหนี้มีอยู่กับเจ้าหนี้ก่อนการผิดนัดชำระหนี้  ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ตนต้องรับผิดก็ได้ และให้นำความในมาตรา 701 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
             ในระหว่างที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามวรรคสาม เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดในระหว่างนั้นมิได้
การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันตามมาตรานี้ ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้ค้ำประกันตามมาตรา 693

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 พอดีมีข้อสงสัยขอสอบถามเพิ่มเติม

  ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ถ้าหลังจากนี้ฝ่ายเจ้าหนี้(โจทก์) ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน ในภายหลังจากที่ศาลฎีกาได้ตัดสินแล้ว  จะมีอำนาจกลับมาฟ้องผู้ค้ำประกันใหม่ได้อีกหรือไม่ครับ



ขอบคุณครับ

ไพฑูรย์  ใจงาม

โดยคุณ นายไพฑูรย์ ใจงาม 29 เม.ย. 2563, 20:39

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก