ทำไมผู้กระทำความผิดมักอ้างว่าเข้าใจผิดตามกฏหมาย ถือว่าเข้าใจผิดคือขาดเจตนา|ทำไมผู้กระทำความผิดมักอ้างว่าเข้าใจผิดตามกฏหมาย ถือว่าเข้าใจผิดคือขาดเจตนา

ทำไมผู้กระทำความผิดมักอ้างว่าเข้าใจผิดตามกฏหมาย ถือว่าเข้าใจผิดคือขาดเจตนา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทำไมผู้กระทำความผิดมักอ้างว่าเข้าใจผิดตามกฏหมาย ถือว่าเข้าใจผิดคือขาดเจตนา

  • Defalut Image

บทความวันที่ 31 มี.ค. 2563, 09:51

มีผู้อ่านทั้งหมด 412 ครั้ง


ทำไมผู้กระทำความผิดมักอ้างว่าเข้าใจผิดตามกฏหมาย ถือว่าเข้าใจผิดคือขาดเจตนา

              ดูคำพิพากษาศาลฎีกาและตัวบทกฎหมายประกอบได้ดังนี้

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2537
            คืนเกิดเหตุเวลาประมาณ 2 นาฬิกา สุนัขในบ้านจำเลยเห่าจำเลยรู้สึกตัวลุกออกจากบ้านเห็นโจทก์ร่วม สำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย ซึ่งเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิที่จะป้องกันได้แต่การที่จำเลยคว้ามีดพร้าสำหรับดายหญ้ายาว 110 ซม. ฟันโจทก์ร่วมถูกที่ศีรษะ 2 แผล กระโหลกศีรษะแตกและถูกข้อศอกข้างละ 1 แผลโดยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์ร่วมมีอาวุธอะไร และจะได้กระทำการประทุษร้ายจำเลยอย่างไร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าโดยป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2538
           จำเลยทั้งสองทำร้ายผู้เสียหายโดยเข้าใจว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายจะเข้าไปลักทรัพย์ในโรงเรียนแต่ผู้เสียหายไม่ใช่คนร้ายการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงแต่ขณะถูกทำร้ายผู้เสียหายได้ร้องบอกว่า"อย่าทำผม"เวลาที่เกิดเหตุไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากกองไม้อีกทั้งผู้เสียหายไม่มีอาวุธติดตัวการไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายไม่ใช่คนร้ายเข้ามาลักทรัพย์จึงเกิดขึ้นด้วยความประมาทของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดฐานกระทำโดยประมาทสำหรับการกระทำนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา62วรรคสองเมื่อผู้เสียหายถูกจำเลยทั้งสองทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2536
             ขณะที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายนั้นเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากที่ พ.ชกจำเลยล้มลงแล้ว ผู้ตายก้มตัวจะดึงจำเลยขึ้น แต่จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายจะเข้ามาทำร้ายจำเลย ซึ่งหากมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นจริง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อป้องกันตนได้แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายกับพวกซึ่งเป็นเครือญาติกับจำเลยเองไม่มีผู้ใดมีอาวุธและตามพฤติการณ์ไม่มีเหตุผลใดที่ฝ่ายผู้ตายจะรุมทำร้ายจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยสำคัญผิดและเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2536
         ขณะเกิดเหตุมีเสียงปืนจากทางฝ่ายผู้ตายก่อน ขณะนั้นเป็นยามวิกาลและหมู่บ้านที่เกิดเหตุมีโจรผู้ร้ายชุกชุมย่อมมีเหตุอันสมควรที่จำเลย จะเข้าใจว่า ฝ่ายผู้ตายซึ่งใช้อาวุธปืนยิงก่อนนั้นเป็นคนร้ายและใช้อาวุธปืนยิงใส่ตนซึ่งขณะนั้นอยู่ห่างกันเพียงประมาณ 15 เมตร และจำเลยที่ 1 ไม่อาจทราบได้ว่าจะมีการใช้อาวุธปืนยิงใส่ตนอีกหรือไม่ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนคาร์ไปน์ยิงไปที่ผู้ตายทั้งชุดในภาวะเช่นนั้น จึงมิใช่เป็นการกระทำด้วยความประมาทและถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59
  บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา
           กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
           ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
           กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
           การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย

มาตรา 62  ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด หรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แล้วแต่กรณี
              ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่งมาตรา 59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า การกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท
             บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้นจะต้องได้รู้ข้อเท็จจริงนั้น

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก