งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
จำเลยไม่ไปฟังคำพิพากษาคดีอาญาศาลออกหมายจับและอ่านคำพิพากษาลับหลังได้
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2555
จำเลยที่ 2 ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 แล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แม้หลังจากนั้นศาลชั้นต้นจะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 และนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ใหม่ในวันที่ 25 มกราคม 2554 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่มาศาลในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 ถือได้ว่ามีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 2 หลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหมายจับจำเลยที่ 2 มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม โดยไม่จำต้องออกหมายนัดแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 มกราคม 2554 ให้จำเลยที่ 2 ทราบอีก ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลับหลังจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2504
ออกหมายจับจำเลยเพื่อให้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกินเดือนแล้ว ไม่ได้ตัวจำเลยมา ศาลจึงอ่านคำพิพากษานั้นให้โจทก์ฟังถือว่าได้อ่านคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจำเลยยื่นฎีกาเกินหนึ่งเดือนนับแต่วันศาลอ่านดังกล่าวฎีกาของจำเลยย่อมขาดอายุฎีกา แม้ว่าศาลจะได้อ่านคำพิพากษานั้นให้จำเลยฟังอีก เมื่อได้ตัวจำเลยมาแล้วหลังจากวันอ่านดังกล่าวข้างต้น 5 เดือนเศษ ก็เป็นแต่เพียงให้จำเลยได้ทราบคำพิพากษาตามที่จำเลยต้องการเท่านั้นหามีผลทำให้ยืดอายุฎีกาไม่