คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 15|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 15

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 15

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 15

  • Defalut Image

ภริยาปลอมลายมือชื่อสามีในเช็ค แล้วนำเงินมาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อสามี

บทความวันที่ 8 ต.ค. 2562, 10:57

มีผู้อ่านทั้งหมด 1455 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 15

1. ภริยาปลอมลายมือชื่อสามีในเช็ค แล้วนำเงินมาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อสามีและภริยาร่วมกัน โดยสามีไม่รู้เห็นด้วย ถือเป็นหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ สามีจึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ร่วม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1137 / 2559

    หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการทำละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์

2.ลูกหนี้ตามคำพิพากษาสละมรดกโดยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับได้อีก เป็นการกระทบต่อเจ้าหนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 10810 / 2559

    ส. สละมรดกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา เมื่อ ส. สละมรดกในขณะที่เป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาโดย ส. ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์จะบังคับคดีได้ จึงเป็นการสละมรดกโดยรู้อยู่ว่าจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ กรณีมีเหตุเพิกถอนนิติกรรมสละมรดกที่ดินในส่วนของ ส.
    โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการสละมรดกที่ดินระหว่างส. กับจำเลยที่ 2 อันหมายถึงขอให้เพิกถอนการสละมรดกที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. โดยอ้างว่า ส. สละมรดกที่ดินโดยรู้อยู่ว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ การกระทำของ ส. จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๑ ในฐานะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737

3.สิทธิเหนือพื้นดินที่ไม่ได้จดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ จะยกขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอกซึ่งซื้อที่ดินมาโดยรู้ว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้ก่อสิทธิเหนือพื้นดินไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7210 / 2560

    เดิมที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 38174 เป็นของ ม. โดย ม. ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งขณะนั้นมีสถานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลอรัญญิกดำเนินการก่อสร้างท่อประปารางระบายน้ำและสายไฟฟ้าในที่ดินพิพาท ต่อมา ม. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทเป็นมรดก ได้แก่ บ. ซึ่งเป็นทายาท บ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ตลอดจนท่อประปาและท่อระบายน้ำทิ้งที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไว้ออกไปจากที่ดินพิพาท แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย
    คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ท่อประปาและท่อระบายน้ำทิ้งที่อยู่ในที่ดินพิพาทได้หรือไม่
    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สิทธิในการก่อสร้างและติดตั้งเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าตลอดจนวางท่อประปาและท่อระบายน้ำทิ้งของจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของผู้อื่นมีลักษณะเป็นสิทธิเหนือพื้นดินอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพยสิทธิที่ก่อตั้งขึ้นตามมาตรา 1298 และมาตรา 1410 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดย ม. เจ้าของที่ดินพิพาทในขณะนั้นเป็นผู้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินแก่จำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อความ อันเป็นนิติกรรมการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ที่ไม่บริบูรณ์เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิของผู้ทรงสิทธิไม่บริบูรณ์ในฐานะเป็นทรัพยสิทธิที่ตกติดไปกับตัวทรัพย์หรือที่ดินโดยผลของกฎหมาย ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องยอมรับสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นคุณแก่ผู้ทรงสิทธิที่มีอยู่เหนือที่ดินแปลงนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินของจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินของจำเลยที่ 1 จึงไม่บริบูรณ์ในฐานะเป็นทรัพยสิทธิ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างสิทธิเหนือพื้นดินตามนิติกรรมที่ทำไว้กับ ม. เจ้าของที่ดินพิพาทเดิมซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิมาบังคับเอาแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ไม่ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทมาโดยรู้ว่าเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินไว้หรือไม่ นิติกรรมที่ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินแก่จำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อความย่อมไม่ผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าตลอดจนท่อประปาและท่อระบายน้ำทิ้งอันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทตามป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 เพิกเฉย โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รื้อถอนทรัพย์ดังกล่าวออกไปจากที่ดินพิพาทได้

4.เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนเกินหกเดือน  แต่คดีดังกล่าวเวลากระทำความผิดเป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุคดีที่ศาลกำลังจะพิพากษาคดีเรื่องหลัง ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาฎีกาที่ 7264/2561

    จำเลยเคยได้รับโทษจำคุก 3 ปี 3 เดือนและปรับ 200,000 บาท   ในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำเลยพ้นโทษจำคุกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2559  คดีดังกล่าวเกิดเหตุเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุคดีนี้ ( คดีนี้เหตุเกิดระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2548)จำเลยฎีกาว่าคดีนี้เป็นการกระทำความผิดครั้งแรกของจำเลยจึงถือว่าขณะกระทำความผิดคดีนี้จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนย่อมอยู่ในเงื่อนไขที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
                เห็นว่า  ตาม ป.อ.มาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) ที่บัญญัติว่า ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1)  ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ...ฯลฯ...  ศาลจะรอการลงโทษผู้นั้นไว้ก็ได้นั้น หมายถึงว่า  จำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีที่ศาลกำลังจะพิพากษา ซึ่งตามมาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) มิได้ระบุว่าคดีที่จำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนนั้น ต้องเป็นการกระทำความผิดมาก่อนคดีเรื่องหลัง จึงไม่อาจแปลกฎหมายดังที่จำเลยอ้างได้เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและเป็นโทษในความผิดฐานยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (เมทแอมเฟตามีน)  ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนและมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามป.อ. มาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้

5.เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกิน 5 ปี และมากระทำความผิดอีกจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขการรอการลงโทษ
คำพิพากษาฎีกาที่ 7503/2561

     จำเลยที่ 1 ซึ่งพ้นโทษในคดีก่อนนับถึงวันกระทำความผิด คดีนี้แม้จะเกิน 5 ปี ก็ตามแต่เมื่อมากระทำความผิดคดีนี้ซึ่งไม่ใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขตามป.อ. มาตรา 56  ที่จะรอการกำหนดโทษให้ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งพ้นโทษในคดีก่อน และกลับมากระทำความผิดในคดีนี้อีกพ้นโทษมาไม่เกิน 5 ปี  ทั้งความผิดในคดีก่อนและความผิดคดีนี้ต่างก็ไม่ใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ โดยโทษจำคุกในคดีก่อนเป็นโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือน กรณีของจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการกำหนัดโทษให้ได้

6.คดีก่อนศาลพิพากษาจำคุกเกินกว่า 6 เดือน แต่ได้พระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวก่อนกำหนด ก็ถือว่าจำเลยเคยได้รับจำคุกมาก่อน ไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาฎีกาที่ 6815/2561 

      พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554  มีผลเพียงให้จำเลยได้รับโทษหรือปล่อยก่อนกำหนดเท่านั้น หามีผลเป็นการลบล้าง หรือทำให้จำเลยพ้นความผิดหรือถือว่าจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกในคดีนั้นมาก่อนไม่  เมื่อคดีก่อนนั้นถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการที่พิพากษาลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์  จำคุก 6 ปี 8 เดือน อันไม่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเป็นโทษจำคุกเกินหกเดือน ดังนั้น  แม้จำเลยได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนดเท่าใดก็ตามก็ถือว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อนและเป็นโทษจำคุกไม่เกิน หกเดือนอันไม่เข้าเงื่อนไขที่จะรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 (1) และ (2) ได้ 

7. แม้ผู้ตายจะตายหลังจากถูกยิงไปแล้วกว่า 1 เดือน ผู้ยิงต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา
คำพิพากษาฎีกาที่ 3503/2559

     ขณะที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้มีการกระทำที่เป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแก่จำเลย  การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามป.อ. มาตรา 68
     ผู้ตายถูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงที่ชายโครงทะลุปอด ตับและลำไส้จนฉีกขาด  แพทย์ต้องรักษาอาการบาดเจ็บของผู้ตายด้วยการผ่าตัดทันที  แม้ผู้ตายถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุเป็นเวลา 1 เดือน เนื่องจากติดเชื้ออย่างรุนแรง  ย่อมถือได้ว่าการตายของผู้ตายเป็นผลธรรมดาอันสืบเนื่องจากการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่ามิใช่ถึงแก่ความตายจากเหตุแทรกแซงหรือเหตุอื่นแต่อย่างใด จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามป.อ. มาตรา 288

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 15
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก