คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 13|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 13

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 13

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 13

  • Defalut Image

ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ยักย้ายหุ้นให้แก่ผู้อื่น ถือเป็นความผิดโกงเจ้าหนี้

บทความวันที่ 4 ต.ค. 2562, 10:40

มีผู้อ่านทั้งหมด 2161 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 13

1. ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ยักย้ายหุ้นให้แก่ผู้อื่น ถือเป็นความผิดโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1302/2562

    จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์ทำสัญญาซื้อและจ้างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ซ. ให้ก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และบริษัท ซ.  กับพวกต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 130,023,445.77 บาท แก่โจทก์ โดยให้บริษัท ซ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 126,896,212.42 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ซ. จำนวน 1,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 1,000 บาท คิดมูลค่าหุ้นเป็นเงิน 1,000,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเหลือเพียง 7 คน และไม่มีรายชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ซ. โดยหุ้นของจำเลยที่ 1 ได้ตกเป็นของแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4
    เห็นว่า การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 นั้น ผู้กระทำต้องมีเจตนาเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้จึงได้มีการโอนย้ายและซ่อนเร้นทรัพย์สินของตนซึ่งเมื่อพิจารณาพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ที่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นของบริษัท ซ. โดยการลดจำนวนหุ้นที่จำเลยที่ 1 ถืออยู่ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำให้โจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์ต้องฟ้องจำเลยที่ 1 และบริษัท ซ. ให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนหุ้นของตนเพื่อไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดตามฟ้อง

2.ลงลายมือชื่อในสำเนาบัตรประชาชน ระบุว่าได้รับเงินตามสัญญากู้ครบถ้วนแล้ว แต่ไม่มีลายมือชื่อผู้ให้กู้และไม่ได้ติดอากรแสตมป์ เป็นแต่เพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเท่านั้นมิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5251/2560

    ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำนวนตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิถึงหนังสือสำคัญแสดงสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย หากเป็นเรื่องการกู้ยืมเอกสารที่จัดทำขึ้นต้องชัดแจ้งว่า เป็นหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความแสดงเจตนาออกว่า มีการกู้ยืมเงินระหว่างคู่สัญญา มีรายละเอียดแห่งข้อตกลงและคู่สัญญาได้ลงลายมือชื่อไว้ท้ายสัญญา
    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลย มีข้อความถัดลงไปด้านล่างประกอบว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 จำเลยได้รับเงินกู้ยืมจำนวน 500,000 บาท จากโจทก์ไว้ครบถ้วนแล้ว โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้รับเงินกู้ มีลายมือชื่อพยาน 2 คน แต่ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์ ผู้ให้กู้อยู่ด้วย เอกสารในลักษณะเช่นนี้ คงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลย ผู้กู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่งเท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ไม่เข้าลักษณะตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และมาตรา 118 ถึงแม้หลักฐานการกู้ยืมเงินจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ศาลก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์จำนวน 500,000 บาท ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1229/2560
    เอกสารมีข้อความว่า “ 23 กุมภาพันธ์ 2549 ให้เช็คเงินสด 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) แก่ อ. (สถานที่ให้ที่ธนาคาร น.) ผู้กู้ (อ) สัญญาให้ดอกเบี้ยเดือนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ของทุกๆเดือน... ” ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเพียงการบันทึกเป็นหลักฐานว่ามีการมอบเช็คให้แก่จำเลย โดยจำเลยอยู่ในฐานะผู้กู้ ดังความในตอนท้ายระบุตรงที่มีลายมือชื่อจำเลยว่า ผู้กู้ และระบุตรงที่มีลายมือชื่อโจทก์ว่า ผู้ให้กู้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็มิได้กำหนดไว้ชัดเจน แต่สามารถคำนวณได้ว่าหากต้องให้ดอกเบี้ยเดือนละ 5,000 บาท ในต้นเงิน 1,500,000 บาท ตามที่ระบุในเช็คก็จะคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี จึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจึงไม่เข้าลักษณะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แม้โจทก์จะปิดอากรแสตมป์ในเอกสารดังกล่าวแต่มิได้ขีดฆ่า ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

3.แม้นิติบุคคลต่างประเทศและไม่มีส่วนได้เสียในมูลหนี้เดิม ก็สามารถเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ 
คำพิพากษาฎีกาที่ 5671 - 5672/2560

    ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ไม่มีส่วนได้เสียในมูลหนี้เดิม ทั้งค่าตอบแทนในการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นจำนวนต่ำ จึงมีลักษณะเป็นการค้าความนั้น
    เห็นว่า ถึงแม้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นนิติบุคคลต่างประเทศและไม่มีส่วนได้เสียในมูลหนี้เดิมแต่ก็ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลต่างประเทศรับโอนสิทธิเรียกร้อง ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจะมีค่าตอบแทนเท่าใด ย่อมเป็นเรื่องระหว่างผู้รับโอนกับผู้โอนอันเป็นไปตามกลไกในการดำเนินธุรกิจ หาได้ทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งแปดรายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการค้าความแต่อย่างใดไม่ เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 8 เจ้าหนี้รายที่ 15 ถึง 16 เจ้าหนี้รายที่ 19 เจ้าหนี้รายที่ 40 และเจ้าหนี้รายที่ 41 ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้แต่ละรายสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นหนังสือและมีการบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้บริหารแผนทราบแล้วการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306

4.ผู้เช่าซื้อกับผู้รับโอนสิทธิจากผู้เช่าซื้อ  ยื่นเอกสารขอเปลี่ยนชื่อคู่สัญญากับผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อแจ้งว่าสามารถเปลี่ยนได้ แต่เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ไปขอเปลี่ยน คู่สัญญาก็คงตามเดิม
คำพิพากษาฎีกาที่ 6133/2560

     ป.พ.พ. มาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ โดยที่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ต้องทำเป็นหนังสือก็ตาม แต่ต้องมีการตกลงทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่โดยตรง เมื่อโจทก์กับ ส. ยื่นเอกสารเบื้องต้นเพื่อขอเปลี่ยนชื่อคู่สัญญากับผู้ให้เช่าซื้อ ต่อมาผู้ให้เช่าซื้อแจ้งว่า สามารถเปลี่ยนชื่อคู่สัญญาได้ และขอให้โจทก์กับ ส. ลงชื่อในสัญญา ถือได้ว่า เป็นคำสนองรับคำเสนอของโจทก์กับ ส. แต่ก็เป็นคำสนองที่มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ถือเป็นคำบอกปัดไม่รับ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง เมื่อ ส. ไม่ไปทำสัญญาใหม่กับผู้ให้เช่าซื้อจึงเป็นการบอกปัดคำเสนอของผู้ให้เช่าซื้อ คำเสนอของผู้ให้เช่าซื้อย่อมสิ้นผลไปไม่ก่อให้เกิดเป็นข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับ ส. กรณีไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับโจทก์ยังไม่ระงับ โจทก์ยังคงเป็นผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ และยังคงมีความผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อในฐานะที่เป็นผู้เช่าซื้อ มีสิทธิหน้าที่และความรับผิดในรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าวซึ่งเอาประกันวินาศภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าวซึ่งเอาประกันวินาศภัยไว้กับจำเลย สัญญาประกันภัยย่อมผูกพันโจทก์และจำเลย เมื่อรถยนต์เกิดวินาศภัยขึ้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ 

5.ปลูกต้นไม้บนที่ดินของสำนักงานปฎิรูปเพื่อเกษตรกรรม หากมีคนเข้าไปตัดโค่น ทำลาย หากเป็นไม้ยืนต้น ประชาชนไม่ถือเป็นผู้เสียหาย แต่หากไม้ล้มลุกประชาชนผู้ปลูกถือว่าเป็นผู้เสียหายจากการละเมิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 4841/2560

    พืชผลบนที่ดินพิพาท แม้ต้นปาล์มและต้นมะพร้าว โจทก์ทั้งสองจะปลูกไว้ แต่เมื่อเป็นไม้ยืนต้น จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท ผลปาล์มและต้นมะพร้าวจึงเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปเอาผลปาล์ม แล้วเข้าไปตัดโค่นทำลายต้นมะพร้าว จะถือว่าทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่ได้ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสอง ส่วนต้นกล้วยเป็นไม้ล้มลุก ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ปลูกจึงเป็นเจ้าของต้นกล้วย จำเลยทั้งสองเข้าไปโค่นทำลาย ทั้ง ๆ ที่รู้แล้วว่าแม้จะปลูกอยู่ในที่พิพาทแต่ต้นกล้วยเหล่านั้นเป็นของโจทก์ทั้งสอง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองและเป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องและจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำของตน
 
6.เจ้าของที่ดินอนุญาตให้ถมดินได้ หากผู้เช่ายกเลิกสัญญา ผู้เช่าจะมาเรียกค่าถมดินกับผู้ให้เช่าไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 8331/2556

    จำเลยอนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทประกอบกิจการสถานีน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นการชั่วคราว มิได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทถือเป็นการครอบครองแทนจำเลย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์ถมที่ดินในที่ดินพิพาทเป็นการถมเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของโจทก์เองดินที่โจทก์นำมาถมมิใช่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 146 เป็นส่วนควบของที่ดินตามมาตรา 144 ส่วนสาธารณูปโภคบนที่ดิน เป็นอุปกรณ์ของบริษัท ค. มิใช่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
    หมายเหตุ มีคำพิพากษาฎีกาที่ 7681/2561 วินิจฉัยว่า ถมดินและปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาทโดยได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินในขณะนั้น ดินที่ถมและโรงเรือนจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทและกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มตรา 1310 วรรคหนึ่งและ 1314 วรรคหนึ่ง

ที่มา :  หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 13

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก