เสี่ยกำมะลอหลอกสาวแต่งงานไม่ผิดฐานฉ้อโกง|เสี่ยกำมะลอหลอกสาวแต่งงานไม่ผิดฐานฉ้อโกง

เสี่ยกำมะลอหลอกสาวแต่งงานไม่ผิดฐานฉ้อโกง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เสี่ยกำมะลอหลอกสาวแต่งงานไม่ผิดฐานฉ้อโกง

  • Defalut Image

ต้องเป็นการหลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินไป

บทความวันที่ 4 ต.ค. 2562, 10:25

มีผู้อ่านทั้งหมด 1289 ครั้ง


เสี่ยกำมะลอหลอกสาวแต่งงานไม่ผิดฐานฉ้อโกง

1.ต้องเป็นการหลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2557 

             แม้จำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ตามฟ้อง แต่การหลอกลวงมิได้ทำให้จำเลยทั้งสองได้เงินไปจากโจทก์ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวง เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ไปนั้นเป็นเพียงค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองแสดงตนเป็นบุคคลอื่นหรือฉ้อโกงประชาชน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามปอ.มาตรา 341,342,343 คดีไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง

2.ผลจากการหลอกลวงทำให้ได้รับบริการที่จอดรถยนต์โดยไม่ต้องเสียค่าจอด ไม่ได้ทรัพย์สินไป ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543  

           โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยขับรถยนต์ของโจทก์ลงจากอาคารจอดรถของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง แล้วแสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยงต่อพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งทำหน้าที่เก็บค่าบริการจอดรถ โจทก์จึงไม่เสียค่าจอดรถแกจำเลยโดยทราบดีว่าจำเลยมีข้อห้ามมิให้พนักงานนำรถขึ้นไปจอดบนอาคารจอดรถ โจทก์ได้รับผลเพียงการบริการจอดรถจากจำเลย หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินไม่ จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกง ตามปอ.มาตรา 341 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2516 
            การที่จำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายรับจ้างทำการขนส่งให้จำเลยแล้วไม่ชำระค่าขนส่งที่ตกลงไว้ว่าจะชำระให้นั้น จำเลยได้รับผลเพียงการขนส่งจากผู้เสียหายไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

3.ผลของการหลอกลวงทำให้ผู้ถูกหลอกลวงรับบุคคลเข้าเป็นสมาชิกสมาคม ไม่ทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2542  

          จำเลยทั้งสองร่วมกันนำ ธ. มาสมัครเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์โจทก์ร่วม โดยแจ้งแก่โจทก์ร่วมว่า ธ. คือ บ. บิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรงเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงรับ บ. เป็นสมาชิก ความจริงแล้วขณะนั้น บ. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ การหลอกลวงมีผลเพียงให้โจทก์ร่วมรับ บ. เข้าเป็นสมาชิกเท่านั้น หาได้ทำให้จำเลยทั้งสองได้ทรัพย์สินไปจากโจทก์ร่วมไม่ แม้ต่อมาโจทก์ร่วมจะจ่ายเงินสงเคราะห์ให้จำเลยที่ 1 ไปจำนวน 92,000 บาท แต่ก็เนื่องจาก บ. ถึงแก่กรรมหาใช่เนื่องจากจำเลยทั้งสองหลอกลวงไม่การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมที่ขอถือเอาตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ย่อมตกไปด้วย ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวน 92,000 บาท แก่โจทก์ร่วมได้

4.แม้ทรัพย์จะเป็นของผู้หลอกลวงเอง ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2543
 
           หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลยมอบให้โจทก์เป็นประกันตามสัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิจะยึดถือไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสียก่อน และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ตามสภาพเป็นวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงเป็นทั้งทรัพย์และทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137,138 ฉะนั้น ถ้าหากจำเลยโดยทุจริตหลอกลวงโจทก์และการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ได้ เพราะความผิดฐานนี้ ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์แม้จะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ ใครหลอกลวงให้เขาส่งทรัพย์นั้นก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2558  
           ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ แม้ทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้หลอกลวง ถ้าหากผู้หลอกลวงโดยทุจริตหลอกลวงผู้ถูกหลอกลวงและโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก