คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 11|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 11

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 11

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 11

  • Defalut Image

บิดามารดาของผู้ตายจะยื่นคำร้องขอให้จำเลยใช้ค่าขาดไร้อุปการะ

บทความวันที่ 1 ต.ค. 2562, 11:25

มีผู้อ่านทั้งหมด 2034 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 11

1.บิดามารดาของผู้ตายจะยื่นคำร้องขอให้จำเลยใช้ค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรของผู้ตายในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ มาตรา 44/1 ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 8658/2560

สิทธิในการได้รับค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาผู้ตายกับเด็กหญิง ธ. และเด็กชาย อ. บุตรทั้งสองของผู้ตายจะเรียกจากผู้ทำละเมิดเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน โจทก์ร่วมเป็นย่ามิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนเฉพาะคดีของบุตรทั้งสองของผู้ตาย อันจะถือได้ว่ามีสิทธิยื่นคำร้องในนามบุตรของผู้ตายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ทั้งมารดาของบุตรทั้งสองของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรทั้งสองของผู้ตายได้ คงมีสิทธิเฉพาะในส่วนของตนเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของโจทก์ร่วมในส่วนที่โจทก์ร่วมขอให้จำเลยทั้งสามชำระค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรทั้งสองของผู้ตายด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาฏีกาที่ 356/2559
คําร้องขอให้บังคับจําเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมซึ่งถือ ว่าเป็นคําฟ้องตาม ป.วิ.พ. บรรยายว่า ก่อนตายผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับ ส. ซึ่งเลิกร้าง กันก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือเด็กชาย น. อายุ 9 ปี และเด็กชาย ก. อายุ 5 ปี ก่อนตายผู้ตายมีหน้าที่ในฐานะบิดาเลี้ยงดูตลอดจนส่งเสียให้การศึกษาแก่บุตร ทั้งสอง การร่วมกันทําละเมิดของจําเลยทั้งหกเป็นเหตุให้บุตรทั้งสองของผู้ตายต้องขาดไร้อุปการะ ทําให้โจทก์ร่วมต้องรับภาระหน้าที่เลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสองแทนผู้ตายต่อไป โจทก์ร่วม ขอคิดค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงินจํานวน 500,000 บาท ดังนี้ พอเข้าใจได้ว่า เด็กชาย น. และเด็กชาย ก. บุตรผู้ตายประสงค์จะขอเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะด้วย แต่เด็กชายทั้งสองเป็นผู้เยาว์ไม่อาจยื่นคําร้องขอให้บังคับจําเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยตนเองได้ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ยื่นคําร้องแทน เมื่อโจทก์ร่วมเป็นเพียงบิดาของผู้ตาย ไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายทั้งสอง จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะแทนเด็กชายทั้งสองบุตรผู้ตายได้

2.คำเบิกความของจำเลยรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4871/2561

จำเลยเบิกความตอบพนักงานอัยการโจทก์ถามค้านยอมรับว่า จำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนจากนายทะเบียนท้องที่ เจือสมกับคำฟ้องและข้อนำสืบของโจทก์ในข้อที่ว่า จำเลยมีและพกพาอาวุธปืนยาวในวันเกิดเหตุโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะใช้ยันจำเลยได้แล้ว ยังสามารถนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ที่นำสืบได้อีก ตาม ป.วิ.อ มาตรา 233 วรรคสอง

3.ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฏีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 2785/2561

ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องพิพากษาให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าฟ้องโจทก์มีเพียงลายมือชื่อโจทก์ไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียงและผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) และล่วงเลยเวลาที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งเพราะศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและล่วงเลยเวลาที่จะสั่งแก้ไขจึงไม่อาจพิจารณาและลงโทษจำเลยตามฟ้องได้พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามมาตรา 220

4.คดีที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ หากผู้อุทธรณ์อุทธรณ์แยกกันต่างเสียค่าขึ้นศาลเมื่อรวมกันแล้วสูงกว่าที่ต้องชำระกรณียื่นอุทธรณ์ร่วมกัน ศาลจะต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน
คำพิพากษาฎีกาที่ 8622/2559

ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา จำเลยและจำเลยร่วมต่างยื่นอุทธรณ์และฎีกาแยกกัน โดยต่างเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของตน แต่เนื่องจากมูลแห่งคดีเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อรวมค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาที่จำเลยและจำเลยร่วมเสียแยกกันมาเป็นจำนวนที่สูงกว่าค่าขึ้นศาลที่ต้องชำระในกรณีที่ยื่นอุทธรณ์หรือฎีการ่วมกัน จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาส่วนที่เกินให้แก่จำเลยและจำเลยร่วมตามส่วน ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 150 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และฎีกา 420,674.46 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นศาลละ 8,413 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยเสียค่าขึ้นศาล 8,413 บาท และจำเลยร่วมเสียค่าขึ้นศาล 7,999 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาให้แก่จำเลย 4,206.50 บาท และให้แก่จำเลยร่วม 3,792.50 บาท ส่วนในชั้นฎีกาจำเลยและจำเลยร่วมต่างเสียค่าขึ้นศาลคนละ 7,999 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาให้แก่จำเลยและจำเลยร่วมคนละ 3,792.50 บาท
คำพิพากษาฎีกาที่ 6099/2560
จำเลยผู้เอาประกันและจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นคู่ความในคดีที่มีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้โดยจำเลยและจำเลยร่วมต่างได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นฎีกาแยกกัน ต่างเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนสูงกว่าที่จำเลยและจำเลยร่วมจะต้องชำระในกรณีที่ยื่นอุทธรณ์และยื่นฎีการ่วมกัน กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคห้า ที่จะต้องมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลยและจำเลยร่วมตามส่วนของค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาตามที่แต่ละคนได้ชำระเกินไป
คำพิพากษาฎีกาที่ 9201/2560
ในคดีที่”มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้” หากผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์แยกกัน ต่างเสียค่าขึ้นศาลซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนที่สูงกว่าที่ต้องชำระในกรณียื่นอุทธรณ์ร่วมกัน กรณีจึงต้องด้วยป.วิแพ่งมาตรา 150 วรรคท้าย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาส่วนที่เกินให้แก่ผู้อุทธรณ์ตามส่วน

5.คดีที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ จำเลยคนหนึ่งอุทธรณ์และนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบแล้ว จำเลยอีกคนหนึ่งไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์อีก
คำพิพากษาฎีกาที่ 2172/2559

โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 และในฐานะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำรวมทั้งการวิศวกรรมจราจรในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำละเมิดศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ควบคุม จัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรในบริเวณที่ก่อสร้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่การจราจรและไม่ได้ควบคุมให้เกิดความปลอดภัยอันเป็นผู้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์และได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษามาวางศาลครบถ้วนแล้ว จึงมีผลถึงจำเลยที่สามซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยแม้จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกับจำเลยที่ 1 โดยแยกยื่นอุทธรณ์ต่างหาก จำเลยที่ 3 ก็ไม่จำต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นอีก อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229

6.จำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะไปติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อประเมินราคาที่ดินพิพาทและนำมาแสดงต่อศาลในนัดหน้า จำเลยไม่มาศาลเพื่อตีราคาที่ดินพิพาท ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ปวิพ 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาฎีกาที่ 107/2560

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก) โดยรับซื้อฝากจากจำเลยซึ่งไม่ไถ่คืนภายในกำหนด จำเลยไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดิน ดังนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยให้การว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยขยายระยะเวลาไถ่คืน จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลยและบริวาร ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลย จึงเปลี่ยนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไปจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายอุทธรณ์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายอุทธรณ์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ชั้นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินเพื่อประเมินราคาที่ดินพิพาทและนำมาแสดงต่อศาลในนัดหน้า จำเลยย่อมต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ของการตีราคาที่ดินพิพาทตามคำสั่งของอุทธรณ์ภาค 8 แล้ว การที่จำเลยไม่มาศาลเพื่อตีราคาที่ดินพิพาท ต้องถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ชอบแล้ว

 

ที่มา  : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 11
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก