คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 6|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 6

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 6

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 6

  • Defalut Image

โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยและนัดสืบพยาน

บทความวันที่ 17 ก.ย. 2562, 10:20

มีผู้อ่านทั้งหมด 1101 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 6

1.โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยและนัดสืบพยาน หากศาลพิพากษายกฟ้องจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาฎีกาที่ 7493/2560 

    ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย ซึ่งคำว่า "กำหนดนัด" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึง กำหนดนัดไต่สวนหรือกำหนดนัดพิจารณา
    โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยและกำหนดวันหนดนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งมิใช่วันนัดพิจารณาหรือนัดสืบพยานโจทก์ เป็นวันที่โจทก์มาศาลเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และฟังกำหนดนัดพิจารณาคดี กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 181 ที่ศาลจะยกฟ้องได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะเหตุที่โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง โดยอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 181 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาหลังจากมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ 
    เคยมีคำพิพากษาไปอีกแนวหนึ่งดังนี้
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 7846/2559 
    ตามคำขอท้ายฟ้องอาญาของโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย 1 ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฟ้องของโจทก์ในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นฟ้องมีใจความว่าประทับฟ้อง สำเนาให้จำเลย จำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เบิกตัวจำเลยมาสอบคำให้การพร้อมผู้ปกครองในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 แจ้งสถานพินิจฯ และผู้ปกครองทราบ ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฟ้องของโจทก์และกำหนดสอบคำให้การจำเลยในวันดังกล่าวโดยชอบแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบหรือมีหมายแจ้งวันนัดให้โจทก์ทราบอีก 
    การสอบคำให้การจำเลย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง เป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่งภายหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแล้วโดยกฎหมายกำหนดให้โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกันและให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่และจะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์จะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไปหรือไม่ การนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาคดี ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาศาลในวันดังกล่าวแม้ในคำสั่งศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดไว้ก็ตาม แต่โจทก์มีหน้าที่ต้องมาศาลตามเวลาที่ศาลเปิดทำการตามปกติเพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลดำเนินไปได้โดยรวดเร็วสมดังเจตนารมณ์ของกฏหมาย ทั้งศาลชั้นต้นได้ให้เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์โทรศัพท์ติดต่อไปที่สำนักงานของโจทก์เพื่อแจ้งให้โจทก์มาศาลอีกทางหนึ่งแล้ว แต่ศาลรออยู่จนกระทั้งเวลา 16.30 นาฬิกา โจทก์ก็ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ดังนี้ เมื่อโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ไม่มาศาลตามกำหนดนัดสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ ตาม ป.อ. มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 

2.คดีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนที่แก้ไขกฎหมาย ป.วิ.พ. มีผลใช้บังคับ ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาด เมื่อผู้ซื้อทรัพย์สินและเจ้าพนักงานบังคดีทำการขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว การที่ผู้ซื้อมายื่นขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากที่ดิน ถือเป็นการยื่นฟ้องใหม่ จึงต้องห้ามอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 4976/2560 

    คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลแขวงสุพรรณบุรีได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนคดีถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 การที่ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนทรัพย์สินที่ขายอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ร้องแล้วยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลขอให้ออกหมายบังคับคดีเพื่อให้บังคับจำเลยและบริวารของจำเลยที่ไม่ยอมออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นการยื่นฟ้องกล่าวหาจำเลยและบริวารของจำเลยต่อศาลขึ้นใหม่ตามวิธีการที่ ป.วิพ. มาตรา 334 บัญญัติไว้เป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 ภายหลังวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามป.วิ.พ.มาตรา 244/1 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 4 บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด และการฏีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฏีกาตามมาตรา 247 ที่แก้ไขใหม่ โดยพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน ดังนั้น คดีจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ มาตรา 223 ทวิ (เดิม) ที่ถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มาตรา 3 มาใช้บังคับได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องที่ขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฏีกาและให้ส่งถ้อยคำสำนวนนี้ไปยังศาลฏีกาจึงไม่ชอบ และเป็นข้อกฏหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
    ข้อสังเกต การยื่นอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามลำดับชั้นศาลเพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ถูกยกเลิกไปแล้ว และคดีนี้เป็นกรณีต้องบังคับตามกฏหมายที่แก้ไข

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 4906/2559
     โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ซึ่งเป็นการใช้สิทธิในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการบังคับคดีแพ่งของศาลชั้นต้น แม้โจทก์ในฐานะผู้ซื้อที่ได้รับที่ดินพิพาทจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับให้จำเลยในคดีดังกล่าวพร้อมจำเลยคดีนี้ในฐานะบริวารของจำเลยในคดีดังกล่าวออกไปจากที่ดินพิพาทที่โจทก์ซื้อได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ออกคำบังคับแล้วก็ตาม แต่คดีดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย หากแต่เป็นการใช้สิทธิยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ซื้อได้จากการขายทอดตลาด ไม่มีลักษณะเป็นการเสนอข้อหาต่อศาลอันจะเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(3) คำฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) 

3. ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก กระทงละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยลงโทษปรับ กระทงละไม่เกิน 40,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษและคุมประพฤติ โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 3730/2561 

    ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 2 ปี 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 15 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ให้ลงโทษปรับ 20,000 บาท ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับ 10,000 บาท และฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ปรับ 6,000 บาท อีกสถานหนึ่ง รวมเป็นปรับ  36,000 บาท  เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงปรับ 18,000 บาทแล้วรอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติจำเลยไว้ อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 2 ปี และปรับไม่เกินกระทงละ 40,000 บาท จึงห้ามมิให้คู่ความฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฏีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฏีกาตามบทบัญญัติของกฏหมายดังกล่าว

4.คดีที่มีการร้องสอด แม้โจทก์จะถอนฟ้องจำเลยไปหลังจากนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ศาลชอบที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ 
คำพิพากษาฏีกาที่432/2560

     ผู้ร้องสอดทั้งสามได้เข้ามาในคดีเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1) แม้โจทก์จะได้ถอนฟ้องจำเลยไปหลังจากนั้น แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาในฐานะที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทั้งสามพิพาทกันในที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและคำขอโจทก์ที่เดิมขอบังคับจำเลยโดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทนั้นอยู่ในสภาพที่เปิดช่องให้บังคับแก่ผู้ร้องสอดทั้งสามผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทได้ จึงชอบที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ มิใช่แต่เพียงยกคำร้องสอดของผู้ร้องสอดทั้งสามเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฏหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฏีกามีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฏีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง อันเป็นกฏหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 6

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก