คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 4|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 4

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 4

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 4

  • Defalut Image

คำรับสารภาพว่าลักทรัพย์ แต่ไม่ได้รับสารภาพว่าเคยต้องโทษมาก่อน

บทความวันที่ 10 ก.ย. 2562, 11:57

มีผู้อ่านทั้งหมด 1646 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 4

1. คำรับสารภาพว่าลักทรัพย์ แต่ไม่ได้รับสารภาพว่าเคยต้องโทษมาก่อน  เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ ไม่สามารถเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5328/2561

    โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 475/2556 ของศาลจังหวัดสตูลให้ลงโทษจำคุก 3 ปี ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน จำเลยที่ 1 พ้นโทษเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่พ้นโทษ จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดในคดีนี้อีก แต่ตามคำให้การจำเลยที่ 1 ในสำนวน จำเลยที่ 1 ให้การว่า "ข้าฯ จำเลยที่ 1 ขอให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ '' ซึ่งเป็นคำรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษแล้วพ้นโทษตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 475/2556 ของศาลจังหวัดสตูล จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามคำขอของโจทก์ได้

2. ศาลชั้นต้นพิพากษา จำคุก รวม 2 กระทง กระทงละ 5ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีอาญาแผ่นดิน แม้ผู้ร้องทุกข์มิใช่ผู้เสียหาย ก็ไม่ทำให้อำนาจการสอบสวนเสียไป
คำพิพากษาฎีกาที่ 1890/2561

    ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก รวม 2 กระทง กระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ มาตรา218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์ยังมีความสงสัยตามสมควร ขอให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย และกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีแก่จำเลย ขอให้ศาลฎีกาลดโทษให้แก่จำเลยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว 
    ป.วิ.อ. มาตรา121 ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ ตามระเบียบก็เฉพาะแต่คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้เท่านั้น เมื่อความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม  และฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก เป็นความผิดอาญาแผ่นดินมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ พ. จะเป็นผู้เสียหายหรือจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือไม่ พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยได้โดยชอบอยู่แล้ว ฉะนั้น ไม่ว่า พ. จะเป็นผู้เสียหายหรือไม่ มีอำนาจร้องทุกข์หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยในข้อนี้แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

3. คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา หากศาลชั้นต้นสั่งยกฟ้องคดีส่วนอาญา ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งโดยลำพัง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4292/2560

    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณา ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 326, 328 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3, 14, 15 พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4 กับเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยทั้งสี่ลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งสี่ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต่อศาลอาญาซึ่งเป็นศาลชั้นต้นในคดีนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจรับไว้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีส่วนอาญา แต่เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญาอันมีผลเป็นการไม่รับคดีส่วนอาญาไว้พิจารณาแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งโดยลำพังไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดให้แก่โจทก์ ตาม ป.วิ พ. มาตรา 151

4. ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะไม่ได้มีการโต้แย้งสิทธิ ฟ้องแย้งย่อมตกไปด้วย
คำพากษาฎีกาที่ 2127/2561

    เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้กระทำการใดที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์ ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมต้องตกไปด้วย เพราะไม่มีฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมที่จำเลยจะฟ้องแย้ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทและมีคำพิพากษาบังคับโจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องแย้งของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และมาตรา 247 (เดิม) 

5. ฟ้องเดิมโจทก์เรียกเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์เพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยออกจากราชการและมีคำใหม่โจทก์สั่งเข้ารับราชการ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาฎีกาที่ 7509/2560

    ตามคำฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่จำเลยได้รับไปเกินสิทธิ โดยอาศัยฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องในเรื่องลาภมิควรได้ แต่ฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยออกจากราชการและมีคำสั่งให้จำเลยกลับเข้ารับราชการ ซึ่งอาศัยฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องในเรื่องข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งในทางบริหารของโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยจะฟ้องเป็นคดีต่างหาก

6. ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแขวง
คำพิพากษาฎีกาที่ 7207/2560

    คดีฟ้องขับไล่ ไม่ว่าโจทก์จะเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าในจำนวนเท่าใด ก็ถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวและอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 17 ส่วนจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเพียงข้อพิจารณาที่นำไปสู่ข้อจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคสอง หาใช่เป็นข้อพิจารณาเรื่องเขตอำนาจศาลไม่ โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดเป็นการถูกต้องชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 18
    จำเลยทั้งสองขอให้ฎีกายกฟ้องโจทก์ มิได้เป็นฝ่ายเรียกร้องค่าเสียหายหลังฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท 

7. ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7500/2560

     ป.วิ.พ มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และตามตาราง 7 ค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลมีหน้าที่สั่งในคําพิพากษาคดีแพ่งทุกคดีในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงว่าจะให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิด แม้โจทก์จะมิได้มีคําขอในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตาม เมื่อค่าใช้จ่ายในการงานคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งการที่โจทก์มีคําขอท้ายฟ้องว่าให้จําเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์แม้จะไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าค่าฤชาธรรมเนียมที่ขอมีอะไรบ้างก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกําหนดให้จําเลยซึ่งเป็นผู้แพ้คดีรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 161 ศาลชั้นต้นย่อมมีอํานาจกําหนดให้จําเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีแก่โจทก์ได้ตามตาราง 7 ดังกล่าว โดยคํานึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่คู่ความได้เสียไปรวมทั้งลักษณะและวิธีดําเนินคดีของคู่ความ

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 4

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก