DSI นำเครื่องจับเท็จมาใช้กับคดีบิลลี่ มีประโยชน์กับคดีหรือไม่|DSI นำเครื่องจับเท็จมาใช้กับคดีบิลลี่ มีประโยชน์กับคดีหรือไม่

DSI นำเครื่องจับเท็จมาใช้กับคดีบิลลี่ มีประโยชน์กับคดีหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

DSI นำเครื่องจับเท็จมาใช้กับคดีบิลลี่ มีประโยชน์กับคดีหรือไม่

  • Defalut Image

คดีบิลลี่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โทษประหารชีวิตสถานเดียว

บทความวันที่ 8 ก.ย. 2562, 13:18

มีผู้อ่านทั้งหมด 760 ครั้ง


DSI นำเครื่องจับเท็จมาใช้กับคดีบิลลี่ มีประโยชน์กับคดีหรือไม่

           คดีบิลลี่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โทษประหารชีวิตสถานเดียว การจะเอาคนผิดมาลงโทษได้ต้องมีประจักษ์พยานที่เห็นขณะกระทำผิด หรือพยานแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์ รวมทั้งต้องมีพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ได้ว่าคนร้ายเป็นผู้ฆ่านายบิลลี่จนถึงแก่ความตาย เครื่องจับเท็จไม่ใช่พยานหลักฐานตามกฎหมาย เป็นเพียงความเห็นของผู้เชี่วยวชาญเท่านั้น ไม่มีผลต่อรูปคดี ไม่ใช่เครื่องพิสูจน์ความจริงแต่อย่างใด แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลย อย่างน้อยก็ช่วยในการจับพิรุธพยานว่าพูดจริงพูดเท็จเท่านั้นเอง ในทางปฏิบัติศาลไม่รับฟังอยู่แล้ว ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ผ่านมา

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2553
เครื่องจับเท็จเป็นเพียงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่นำผลการตอบคำถามของจำเลยมาวิเคราะห์ตามหลักวิชาการแล้วประเมินผลจากการวิเคราะห์นั้นว่าจำเลยพูดจริงหรือพูดเท็จ อันมีลักษณะเป็นเพียงความเห็นทางวิชาการย่อมไม่อาจนำมาพิสูจน์ทราบถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยเป็นที่แน่ชัดได้ ต่างกับการพิสูจน์ตัวบุคคลที่อาจพิสูจน์ทราบได้โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบให้เห็นว่าจำเลยฆ่าผู้ตายประการใด ลำพังเครื่องจับเท็จและความเห็นของผู้ชำนาญด้านเครื่องจับเท็จยังไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก