คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

  • Defalut Image

1.การขอให้บังคับคดี ต้องขอภายในสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น

บทความวันที่ 20 ส.ค. 2562, 11:27

มีผู้อ่านทั้งหมด 2378 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

1.การขอให้บังคับคดี ต้องขอภายในสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 4673/2560

    ป.วิ.พ. มาตรา 271 (ปัจจุบันคือ มาตรา 274 วรรคหนึ่ง)  มิได้บัญญัติให้การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งต้องร้องขอภายในสิบปีนั้นจะต้องนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด และใช้ถ้อยคำเพียงว่า "นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง" ซึ่งมีความหมายเพียงว่า วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ขอให้บังคับคดี กล่าวคือวันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนี้ ก็คือวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่โจทก์ขอให้บังคับคดีนั่นเอง มิใช่ต้องนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2558 จึงล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีเพิ่มเติมแก่จำเลยที่ 1

2.เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินซึ่งตกเป็นภาระจำยอมตามคำพิพากษาศาลฎีกา มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3726/2553

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาวินิจฉัยข้อแรกตามฎีกาของผู้ร้องว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านในคดีนี้หรือไม่ ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดที่ 33998 ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการบังคับคดีและคำสั่งของศาลชั้นต้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ เห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินซึ่งตกเป็นภาระจำยอมและถูกบังคับคดีในคดีนี้ เมื่อการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกัน จำเลยและผู้ร้องเห็นว่าการบังคับคดีไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา ทำให้จำเลยและผู้ร้องเสียหาย ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) 

3.แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา ถือเป็นการกระทำอันเดียวกันกับคดีแรกที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก เมื่อโจทก์ถอนฟ้องในคดีแรกจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาฎีกาที่ 14823/2558

    โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาแล้วอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ที่โจทก์และทายาทของ ย. เป็นเจ้าของรวมอยู่ โดยขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ มิฉะนั้นแล้วจำเลยกระทำผิดครั้งเดียว โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยได้หลายครั้งโดยไม่จบสิ้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

4.ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ฟ้องไม่ได้บรรยายให้ครบองค์ประกอบความผิด ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะอาศัยเหตุผลในการพิพากษายกฟ้องต่างกัน แต่ก็มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ทั้งสองศาล
คำพิพากษาฎีกาที่ 3622/2560

    ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 157 ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์ 1 พิพากษายืน ให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการทางสภาโดยให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาพิพากษาคดี แม้จะอาศัยเหตุผลในการพิพากษายกฟ้องต่างกัน แต่ก็มีผลแต่ต่างกับศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาโจทก์กรณีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

5.คำรับสารภาพของจำเลยผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน 
คำพิพากษาฎีกาที่ 2443/2560

    ในชั้นจับกุมจำเลยให้การว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยและให้ น. เก็บไว้ คำให้การดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของจำเลยผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดฯ มาตรา 3 ส่วนคำให้การในชั้นจับกุมของ น. ที่ให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยที่นำมาให้ น. เก็บไว้ที่ตัวเพื่อรอจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป เป็นถ้อยคำอื่นและรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้

6. ศาลชั้นต้นไต่สวนคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกา
ฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 352  มีอัตราโทษไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3123/2560

    ความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมและฐานกระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วนบริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จึงเป็นการณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
    โจทก์หาได้บรรยายฟ้องในตอนใดเลยว่า การที่จำเลยทั้งสามเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ไปโดยทุจริตนั้น จำเลยทั้งสามได้กระทำในฐานที่ตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 354 ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)  เมื่อคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสามเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ไป จึงเป็นเพียงการยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และ 353 (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่า โจทก์ทำสัญญาซื้อหุ้นของบริษัท ซ. โจทก์จึงเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวจำเลยทั้งสามกระทำการดังที่กล่าวในฟ้องคดีโจทก์มีมูลความผิด จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงคดีของโจทก์ในความผิดฐานยักยอกจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ

7.การให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะพยานยังไม่ได้ถูกจับ ยังไม่ถือเป็นผู้ถูกจับ คำรับสารภาพไม่จำเป็นต้องแจ้งสิทธิก่อน
คำพิพากษาฎีกาที่ 3214/2560

    การที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อผู้ดำเนินกรรมวิธีซักถามในฐานะผู้ถูกดำเนินกรรมวิธีหรือผู้ต้องสงสัย และต่อพนักงานสอบสวนในฐานะพยาน มิใช่คำให้การของผู้ถูกจับที่ให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับเพราะขณะนั้นจำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้ถูกจับกุม กรณีไม่อยู่ในบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสี่ คำรับสารภาพและถ้อยคำอื่นของจำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องห้ามรับฟังตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว 
    การสอบปากคำจำเลยทั้งสี่โดยผู้ดำเนินกรรมวิธีและพนักงานสอบสวนก็เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ เพราะขณะนั้นยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะดำเนินการขอออกหมายจับจำเลยทั้งสี่ได้ เนื่องจากไม่รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้าย การสอบปากคำจำเลยทั้งสี่จึงเป็นเพียงการสอบถามเบื้องต้นในชั้นสืบสวนเท่านั้น ผู้ดำเนินกรรมวิธีและพนักงานสอบสวนไม่จำต้องแจ้งสิทธิใด ๆ ให้จำเลยทั้งสี่ทราบก่อน บันทึกผลการดำเนินตามกรรมวิธีและบันทึกคำให้การของพยานรวมทั้งรถจักรยานยนต์และถังดับเพลิงของกลางจึงเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นและได้มาโดยชอบ ไม่ต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 และมาตรา 226/1

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก