คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

  • Defalut Image

ร่วมกันพิมพ์หนังสือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์กันระเบิดพร้อมระบุเงื่อนไขในการสั่งซื้อ ราคาขายและส่วนลด

บทความวันที่ 19 ก.ค. 2562, 11:07

มีผู้อ่านทั้งหมด 1166 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16

1.ร่วมกันพิมพ์หนังสือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์กันระเบิดพร้อมระบุเงื่อนไขในการสั่งซื้อ ราคาขายและส่วนลด เงื่อนไขในการชำระเงิน การส่งเสริมการขาย และเงื่อนไขที่ทำให้ตัวแทนจำหน่ายสิ้นสุดลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 264
คำพิพากษาฎีกาที่ 4311/2557

    การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันพิมพ์หนังสือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์กันระเบิด แบรนด์ บาร์เทค พร้อมรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ถือเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นวัตถุอื่นใดทำให้ปรากฏความหมายซึ่งสามารถอ่านหรือเห็นความหมายได้โดยบุคคลที่พิมพ์ตัวอักษรนั้นแล้วเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 สามารถนำไปใช้ได้เมื่อต้องการจะใช้ จึงเป็นเอกสารตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ได้นิยามความหมายของคำว่า “เอกสารสิทธิ์” หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ เมื่อหนังสือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์กันระเบิด แบรนด์ บาร์เทค ปลอม มีข้อความว่าผู้เสียหายตกลงให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการจำหน่ายอุปกรณ์กันระเบิด แบรนด์ บาร์เทค พร้อมระบุเงื่อนไขในการสั่งซื้อ ราคาขายและส่วนลด
    เงื่อนไขในการชำระเงินการส่งเสริมการขายและเงื่อนไขที่ทำให้ตัวแทนจำหน่ายสิ้นสุดลง หนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงเอกสารที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำนิติกรรมแทนผู้เสียหายเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิ
จึงไม่ใช่เป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) จำเลยที่ 3 จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 คงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 264,268 วรรคแรก ประกอบ 264 ประกอบมาตรา 83 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมนั้นเอง จึงให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียวตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 268 วรรคสอง

2.ลูกหนี้ที่จะต้องรับผิดใช้เงินแก่เจ้าหนี้ตามสัญญากู้และเช็คที่สั่งจ่ายชำระเงินกู้คือบริษัทจำกัด หากกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำกัด ทำความตกลงกับเจ้าหนี้ยอมรับผิดแทนโดยมีการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินด้วย ไม่ถือเป็นการประนีประนอมยอมความแต่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4576/2559

    จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 2,200,000 บาท และจำนวน 1,433,300 บาท ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คมีจำนวนเงินและวันถึงกำหนดตรงตามสัญญากู้ 2 ฉบับ มอบไว้แก่โจทก์ ต่อมาเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนด ธนาคารปฎิเสธการใช้เงินโจทก์นำเช็คทั้งสองฉบับฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาต่อจังหวัดตลิ่งชันในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 จำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งเรียกทรัพย์สินคืนต่อศาลแขวงนนทบุรี ระหว่างการพิจารณาในคดีแพ่งของศาลแขวงนนทบุรีโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำความตกลงกันได้ โดยจำเลยที่ 2 ขอถอนฟ้องในคดีแพ่งของศาลแขวงนนทบุรี ส่วนโจทก์ขอถอนฟ้องในคดีอาญาของศาลจังหวัดตลิ่งชัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแขวงนนทบุรี ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ถอนฟ้องทั้งสองคดีไปแล้ว แต่ยังไม่มีการปฎิบัตตามที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
    คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า ข้อตกลง ตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 แถลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแขวงนนทบุรี เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่
    พิเคราะห์แล้ว ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแขวงนนทบุรี มีความว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์แถลงร่วมกันว่า คดีนี้ตกลงกันได้แล้วและนอกจากคดีนี้โจทก์ยังได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามเช็ค 2 ฉบับ เป็นคดีอาญาของศาลจังหวัดตลิ่งชัน ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ยอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 35726 ให้โจทก์ โดยคิดราคาตามราคาประเมินกลาง และนอกจากนี้จำเลยที่ 2 จะนำอาคารชุดเลขที่ 235/237 ไปจำนองธนาคาร หากได้เงินมาเท่าใดจำเลยที่ 2 ยินยอมหักให้โจทก์ครึ่งหนึ่งเพื่อใช้หนี้บางส่วนที่เป็นหนี้ในคดีเช็คดังกล่าว ส่วนในคดีนี้จำเลยที่ 2 ขอถอนฟ้องตามคำร้องที่ยื่นไว้ โจทก์ไม่คัดค้าน ส่วนโจทก์จะไปยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในคดีเช็คดังกล่าวเช่นกันดังนี้
    เมื่อบุคคลที่จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญากู้และเช็คที่สั่งจ่ายชำระเงินกู้คือจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเพียงกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 ทำความตกลงกับโจทก์ยินยอมรับผิดแทน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งยอมผ่อนผันให้แก่โจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ให้เสร็จไปในอันที่จะถือว่าเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 หากแต่การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีอาญาว่าร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 ทำความตกลงดังกล่าวกับโจทก์อันนำไปสู่การถอนฟ้องคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกโจทก์ฟ้องต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 อยู่แล้วทำความตกลงกับโจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยที่ 2 และเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จากการชำระหนี้ด้วยเงินมาเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนด้วย จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349,350 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับคดีให้เป็นไปตามหนี้ใหม่และข้อตกลงดังว่ามานี้ มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ให้กู้กับผู้กู้ยืมทำความตกลงกันไว้ลวงหน้าก่อนหนี้เงินกู้ถึงกำหนดชำระขัดต่อประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง อันทำให้ข้อตกลงเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้และเช็คจึงเป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เดิม 

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 16
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก