คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

  • Defalut Image

1.ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลา 21 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียนจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี

บทความวันที่ 12 ก.ค. 2562, 10:49

มีผู้อ่านทั้งหมด 2405 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

1.ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลา 21 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียนจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี หากครบกำหนด3ปีแล้วผู้เช่ายังคงอยู่ต่อและผู้ให้เช่าก็ไม่ได้ว่าอะไรจึงถือว่าเป็นการเช่าต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเมื่อไหร่ก็ได้ก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตาม ป.พ.พ มาตรา 570 ประกอบมาตรา 566
คำพิพากษาฏีกาที่ 1196/2552

ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติว่า "เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้หรือไม่ ถ้าเช่ามีกำหนดว่าสามปีขึ้นไป หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทำหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวพิพาท จากโจทก์เป็นเวลา 21 ปี นับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2532 แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี คือวันที่ 8 มิถุนายน 2535 เท่านั้น แต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้ว จำเลยยังคงเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปอีกโดยโจทก์มิได้ทักท้วง จึงต้องถือว่าเป็นการเช่าต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ซึ่งโจทก์จะบอกเลิกสัญญาเช่าเสียเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามวิธีที่กำหนดไว้ในมาตรา 566 เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 ตามใบตอบรับไปรษณีย์ การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์จึงมีผลตามกฎหมายแล้ว จำเลยต้องออกไปจากตึกแถวพิพาท หาใช่โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ 

2.การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ได้มาไม่จำเป็นต้องรู้ว่าใครเป็นเจ้าของที่ดินนั้น แม้จะเข้าใจว่าที่ดินนั้นของตนเองก็ตาม
คำพิพากษาฏีกาที่ 1325/2556

การได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามป.พ.พ. มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งก็คือให้นำมาตรา 1382 มาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าวคือ การที่โจทก์ทั้งสองจะได้ภาระจำยอมโดยอายุความในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงอันเป็นสามทรัพย์ต้องใช้ทางในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่10 ของจำเลยทั้งสี่โดยปรปักษ์ ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอมโดยสงบเปิดเผยเป็นเวลา 10 ปีซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ถือเอาการใช้ประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์เป็นสำคัญโดยไม่ได้คำนึงว่าภารยทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้ใดหรือเจ้าของสามยทรัพย์จะต้องรู้ว่าใครเป็นเจ้าของสามยทรัพย์นั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีเจตนาถือเอาทางพิพาทโดยสงบโดยเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แม้โจทก์ทั้งสองจะสำคัญผิดว่าทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 37098 ของผู้อื่นแต่เมื่อกฎหมายมุ่งประสงค์ที่ให้ถือเอาการใช้ประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์เป็นสำคัญแล้วทางพิพาทในที่ดินจำเลยทั้งสี่ตามแผนที่พิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 3093/2559
การที่รัฐใช้อำนาจเวนคืนที่ดิน เป็นเรื่องของการใช้บังคับกฎหมายมหาชน แม้การจดทะเบียนโอนที่ดินใช้คำว่าซื้อขาย ก็ไม่ใช่การซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 ซึ่งจะต้องเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตามมาตรา 149 จึงไม่อาจนำเรื่องการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมตามมาตรา 156 อันเป็นกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับได้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินของผู้อื่น แม้จะเข้าใจผิดคิดว่าครอบครองที่ดินของตนเองก็สามารถนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้ 
แต่เมื่อที่ดินพิพาทดังกล่าวถูกรัฐเวนคืน การนับระยะเวลาแย่งการครอบครองจึงต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งให้เพิกถอนฯ

3.แม้โจทก์จะซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป เพราะสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นสิทธิที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5103/2547

การขอทางผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมจะต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต กล่าวคือ ต้องไม่รู้ว่าที่ดินที่ตนได้มาถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะมาก่อน หากรู้มาก่อนถือว่าไม่สุจริตไม่มีสิทธิผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมออกสู่ทางสาธารณะได้แต่อย่างใด ดังนั้นแม้โจทก์จะซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป เพราะสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นสิทธิที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้

คำพิพากษาฎีกาที่ 811-812/2540
แม้เดิมผู้อยู่ในที่ดินแปลงที่โจทก์รับโอนมาจะมีสิทธิใช้ทางในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจะได้สิทธิในทางเดินนั้นมาด้วยอย่างภารจำยอมเพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วยทางจำเป็นเกิดขึ้นและมีอยู่ตามความจำเป็นเมื่อโจทก์ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางนั้นเพราะโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งโจทก์สามารถใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่ว่าจะเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 หรือมาตรา 1350

คำพิพากษาฎีกาที่ 5672/2546
การที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับโอนมามีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า โจทก์จะได้สิทธิในทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภารจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วยทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์ เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น

4.นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1156/2545

ขณะที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับขายฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่านิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจตนาลวง จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น โจทก์จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการแสดงเจตนาลวงดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากได้ เมื่อการขายฝากมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอน จำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขายต่อให้จำเลยที่ 4 นิติกรรมการให้และการซื้อขายก็ไม่อาจเพิกถอนเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 10243/2556
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 สมคบกันจดทะเบียนโอนขายและให้ที่ดินพิพาททั้งแปลงโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์บังคับคดีจากจำเลยที่ 1 ได้ การแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กัน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตา 155 วรรค หนึ่ง
แต่จะยกขึ้นต่อสู้บุคคลหายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองดังกล่าวได้ คงเพิกถอนได้แต่เฉพาะนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายและยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เท่านั้น

ที่มา :  หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก