คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 6|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 6

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 6

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 6

  • Defalut Image

ผู้รับโอนทรัพย์สินโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิแล้ว มีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ไม่ได้จดทะเบียนการได้มา

บทความวันที่ 4 ก.ค. 2562, 09:33

มีผู้อ่านทั้งหมด 1656 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 6

ผู้รับโอนทรัพย์สินโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิแล้ว มีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
คำพิพากษาฎีกาที่  8873/2559 

            แม้จำเลยได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2525  เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ก็ตาม แต่เมื่อบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. รับโอนสิทธิจำนองที่ดินพิพาทจากเจ้าหนี้จำนองของเจ้าของที่ดินเดิมและยังเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 แล้ว  จำเลยย่อมไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง แล้วต่อมาขายและโอนแก่บริษัท ส. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 ต่อมาวันที่ 4 เมษายน 2555 โจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทจากบริษัท ส. อันเป็นระยะเวลาภายใน 10 ปี นับแต่วันที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. โอนขายแก่บริษัท  ส. และต่อมาโอนขายแก่โจทก์ ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นยันโจทก์ผู้รับโอนคนต่อๆ มาได้เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ได้ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรก  แม้จำเลยจะยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแต่เป็นการครอบครองในช่วงหลังจากที่โจทก์รับโอนที่ดินพิพาท เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่ครบ 10 ปี  จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ครบเวลาได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วหาได้ไม่

การโอนสิทธิเรียกร้องเกิดหลังจากลูกหนี้ผิดนัดแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6334/2550
 
              ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่าหนี้ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระแล้วจะโอนให้แก่กันไม่ได้ และผู้รับโอนจะต้องมีส่วนได้เสียในมูลหนี้ที่รับโอน แม้การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างเจ้าหนี้กับโจทก์จะกระทำภายหลังจำเลยผิดนัดชำระหนี้แล้วและโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในมูลหนี้ดังกล่าว ก็มิใช่เรื่องการซื้อขายความและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือและโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีผลสมบูรณ์และใช้ยันจำเลยได้ โจทก์ผู้รับโอนซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่มีอยู่จากจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้

การโอนสิทธิเรียกร้อง เกิดขึ้นก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2508  

                จำเลยทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้นและได้รับความยินยอมแล้วสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาจึงตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลย แม้ว่าขณะโอนสิทธิเรียกร้องจะยังไม่ถึงกำหนดงวดที่จำเลยจะได้รับเงินตามสัญญาจ้างเหมาก็ตาม และเมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะโอนผู้ร้องได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นรวมทั้งโจทก์ต้องเสียเปรียบโจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนนี้ได้

ผู้ขายนำนส.3.ก.ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปขายให้ผู้อื่น สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเงินค่าที่ดินคืนได้ไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15919/2555 

                การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4410 เป็นการออกเฉพาะราย โดยมีการนำหลักฐาน ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาเป็นหลักฐาน เป็นการออก น.ส.3 ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องเพิกถอนตามมาตรา 61 แห่ง ป.ที่ดิน ซึ่งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า จำเลยนำ น.ส.3 ก. ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาหลอกขายให้โจทก์และได้รับเงิน 660,000 บาท จำเลยไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินแปลงนั้น โจทก์ซื้อที่ดินมาไม่ได้สิทธิครอบครอง การที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยจึงเป็นการทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จึงต้องคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 412 ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินได้ และการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการติดตามเอาเงินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่ามีการทวงถามจำเลยให้ชำระเงินคืนเมื่อไร จำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

ลูกจ้างไม่นำเงินค่าสินค้าที่ขายได้ไปเข้าบัญชีของนายจ้าง เป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างไม่ใช่ยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10369/2559 

                จำเลยขายสินค้าของผู้เสียหายได้รับเงินค่าสินค้ามา  แทนที่จำเลยจะรวบรวมนำส่งเงินไปฝากธนาคาร แต่จำเลยนำเงินนั้นไป เป็นของจำเลยแล้วใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้ยอดสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตรงกับจำนวนเงินที่ผู้เสียหายควรได้รับมาจากการจำหน่ายอันเป็นวิธีการที่ผู้เสียหายจะไม่ทราบว่าจำเลยไม่ได้นำส่งเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้เสียหายต่อเมื่อตรวจสอบสต๊อกสินค้าแล้วจึงจะทราบว่าจำนวนสินค้าไม่ตรงกับจำนวนเงินที่มีการจำหน่าย ดังนี้  เงินที่จำเลยรับมาจากลูกค้าซึ่งได้จากการจำหน่ายสินค้าเป็นการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างของผู้เสียหาย  เพียงแต่ให้จำเลยยึดถือไว้ชั่วคราวอำนาจในการครอบครองควบคุมดูแลทรัพย์สินยังเป็นของนายจ้าง  ผู้เสียหายไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป จึงเป็นการเอาเงินไปโดยเจตนาทุจริต  เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหายที่เป็นนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) วรรคแรก  มิใช่เป็นความผิดฐานยักยอก

จำเลยหลอกลวงให้ส่งมอบสัญญาให้ เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เพราะกระดาษถือเป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2536 

              ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสิทธิของโจทก์ไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริต แต่จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เพราะการเอาไปไม่ใช่การถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้หลอกลวงเอาเอกสารสิทธิของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีมีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน เอกสารสัญญาแม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียวก็ถือว่าเป็นทรัพย์จำเลยหลอกลวงเอาเอกสารสัญญาดังกล่าวไปจากภริยาโจทก์โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ราคาเกินสองหมื่นบาทขึ้นไป จะทำสัญญาเป็นหนังสือ หรือวางมัดจำ หรือชำระหนี้บางส่วนอย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทั้งหมดถึงจะฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7735/2555 

                ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม นอกจะบัญญัติให้การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้แล้ว ยังได้บัญญัติอีกว่า "...หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว..." ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เช่นกัน คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในการซื้อขายต้นอ้อย โจทก์และจำเลยไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายหรือมีหลักฐานการซื้อขายเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายโจทก์หรือจำเลยผู้ต้องรับผิดไว้เป็นสำคัญ แต่ในวันที่ตกลงซื้อขายกัน โจทก์ได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์ต้นอ้อยให้แก่จำเลยและจำเลยเข้าไปตัดต้นอ้อยของโจทก์ไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล อันถือได้ว่าโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายคือส่งมอบต้นอ้อยให้จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาต้นอ้อยได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

ที่มา : บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 6

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก