เป็นบิดาโดยไม่ชอบ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู และค่าปลงศพ ได้หรือไม่|เป็นบิดาโดยไม่ชอบ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู และค่าปลงศพ ได้หรือไม่

เป็นบิดาโดยไม่ชอบ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู และค่าปลงศพ ได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เป็นบิดาโดยไม่ชอบ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู และค่าปลงศพ ได้หรือไม่

  • Defalut Image

ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรในระหว่างที่ยังเป็นผู้เยาว์

บทความวันที่ 27 ส.ค. 2561, 15:46

มีผู้อ่านทั้งหมด 1815 ครั้ง


เป็นบิดาโดยไม่ชอบ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดู และค่าปลงศพ ได้หรือไม่

             ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรในระหว่างที่ยังเป็นผู้เยาว์ และก็เช่นเดียวกันบุตรก็จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา แต่บิดาที่บุตรจะต้องมีหน้าที่เลี้ยงดูนั้น ศาลฎีกาวางแนวว่าจะต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้น บิดามารดาของเด็กจะต้องจดทะเบียนสมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้น เมื่อไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรจึงไม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้กระทำละเมิดได้
             ในส่วนของค่าปลงศพ จะไม่เกี่ยวว่าเป็นบิดาโดยชอบหรือไม่ ประเด็นอยู่ที่ว่า ถ้าไม่ปรากฏว่ามีพินัยกรรมแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการทำศพ หรือทายาทของผู้ตายไม่ได้มอบหมายตั้งให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือไม่ใช่เป็นผู้รับทรัพย์มรดกจำนวนมากสุด ก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าปลงศพเช่นกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 7116/2560
           โจทก์ที่ 1 มิได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 2 ผู้ตายจึงเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือโจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนว่าผู้ตายเป็นบุตร หรือมีคำพิพากษาของศาลว่าผู้ตายเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบิดาของผู้ตายโดยพฤตินัย มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องธรรมเนียมความเชื่อท้องถิ่นมาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมาย ผู้ตายจึงไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะโจทก์ที่ 1 ส่วนผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดทำศพของผู้ตายนั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการทำศพ หรือทายาทไม่มอบหมายตั้งให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการทำศพ รวมทั้งโจทก์ที่ 1 มิใช่่เป็นผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมจากผู้ตายเป็นจำนวนมากที่สุด โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เช่นกัน ดังนั้น โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพจากจำเลย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

    มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน  จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
    มาตรา 1563 บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา 
    มาตรา 1564  บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์
    บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว  แต่เฉพาะทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้
    มาตรา 1649 ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดั่งว่านั้น
    ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น

ปรึกษาข้อกฎหมายกับทีมทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700, 081-6161425
    

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก