คำว่าคดีมีมูลของพนักงานสอบสวนหมายความว่าอย่างไร|คำว่าคดีมีมูลของพนักงานสอบสวนหมายความว่าอย่างไร

คำว่าคดีมีมูลของพนักงานสอบสวนหมายความว่าอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำว่าคดีมีมูลของพนักงานสอบสวนหมายความว่าอย่างไร

  • Defalut Image

หมายความว่ามีพยานหลักฐานพอสมควรครบองค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายกำหนด

บทความวันที่ 14 มิ.ย. 2560, 11:54

มีผู้อ่านทั้งหมด 4374 ครั้ง


คำว่าคดีมีมูลของพนักงานสอบสวนหมายความว่าอย่างไร

           หมายความว่ามีพยานหลักฐานพอสมควรครบองค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายกำหนดที่พอจะแจ้งข้อกล่าวหาได้ก็พอแล้วครับตำรวจไม่มีหน้าที่ต้องตัดสินให้ใครแพ้ชนะเป็นหน้าที่ของศาลซึ่งจะชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเองครับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 วรรคสอง พนักงานสอบสวนจะกล่าวหาผู้ใดลอยๆโดยไม่มีหลักฐานตามสมควรไม่ได้  กรณีที่ไม่มีการแจ้งข้อหามีผลทำให้พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 3130/2556 การที่ตำรวจเข้าตรวจค้นพบพยานหลักฐานบางอย่างและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถือเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่มีความผิดอ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 858 / 2523 และฎีกาที่ 1459 / 2527 การวิพากษ์วิจารณ์คดีนี้สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ถ้าวิจารณ์ไปตามข้อเท็จจริงโดยสุจริตไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(3)อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 6310/2539

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2556 
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหาได้มีอำนาจที่จะตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม รายงานการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็มิได้ชี้มูลความผิดฐานนี้ การที่อนุกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนในความผิดฐานนี้มาด้วย จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ และแม้การสอบสวนของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงซึ่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรแต่งตั้งจะพบการกระทำความผิดฐานนี้ ก็มิใช่การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหานี้ให้จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนแก้ไขข้อความในสำนวนการสอบสวนจากเดิมที่มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาเป็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาหลังจากเสนอสำนวนการสอบสวนให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นลงชื่อแล้วเพื่อช่วยผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และ 200 วรรคแรก

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2523.
เจ้าพนักงานกล่าวแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ในฐานะเป็น เจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,326

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2527.
บรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกล่าวข้อความลงในหนังสือถึงกองทัพอากาศมีข้อความว่า โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเพราะโจทก์เป็นบุคคลมีมลทินมัวหมองดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์ซึ่งถ้อยคำ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว ปรากฏตามฟ้องของโจทก์และหนังสือที่โจทก์ส่งศาลว่าโจทก์ขอกลับเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ กองทัพอากาศสอบถามไปยังการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยถึงเหตุที่โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานฯ จำเลยในฐานะ ผู้ว่าการการท่าอากาศยานฯจึงมีหนังสือตอบกองทัพอากาศว่าโจทก์ ถูกปลดเพราะมีมลทินมัวหมอง ดังนี้ การที่จำเลยมีหนังสือ ถึงกองทัพอากาศดังกล่าว มิใช่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสารตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ถูกปลดเพราะถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทรัพย์สินของการท่าอากาศยานฯ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว จึงเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายในฟ้องไม่เป็นความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้องได้เลยโดยไม่จำต้องไต่สวน

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2539.
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่มีผู้สนทนากันกล่าวถึงผู้เสียหายทั้งสองมีพฤติกรรมในทางชู้สาวต่อกันที่โรงเรียนที่ผู้เสียหายทั้งสองสอนอยู่ไปเปิดให้นาย ส.ม.หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอกับพวกฟังที่บ้านของนาย ส.ม.โดยเกิดจากการแนะนำของนาย ส.กับนายส.ม. และผู้ร่วมฟังแถบบันทึกเสียงก็เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาทั้งสิ้น ทั้งไม่ใช่เปิดในที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะหากผู้เสียหายทั้งสองกระทำการในทางชู้สาวจริง นอกจากจะผิดต่อศีลธรรมแล้วยังผิดในทางวินัยข้าราชการอีกด้วย เนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองต่างรับราชการเป็นครูและต่างมีสามีและภรรยาแล้ว ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาที่จะใส่ความผู้เสียหายทั้งสองให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหาย แต่เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก