สิทธิในการรับเงินเดือนของข้าราชการโอนกันไม่ได้|ทนายคลายทุกข์,ทนาย

สิทธิในการรับเงินเดือนของข้าราชการโอนกันไม่ได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สิทธิในการรับเงินเดือนของข้าราชการโอนกันไม่ได้

  • Defalut Image

เจ้าหนี้จึงขออายัดเงินตามหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนส่งใช้หนี้ไม่ได้

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:14

มีผู้อ่านทั้งหมด 4821 ครั้ง


สิทธิในการรับเงินเดือนของข้าราชการโอนกันไม่ได้

    สิทธิในการรับเงินเดือนของข้าราชการโอนกันไม่ได้ เจ้าหนี้จึงขออายัดเงินตามหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนส่งใช้หนี้ไม่ได้  คำพิพากษาฎีกาที่ 3793/2535  ทนายคลายทุกข์นำมาฝากสำหรับข้าราชการที่เป็นหนี้ให้ดูคดีนี้ไว้เป็นอุทาหรณ์ครับ  ศาลวินิจฉัยว่า  บุคคลภายนอกทำหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนส่งใช้หนี้แก่จำเลย มีผลเท่ากับมอบอำนาจให้จำเลยรับเงินเดือนแทนมิใช่การโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยเพราะสิทธิรับเงินเดือนของข้าราชการโอนกันไม่ได้ โจทก์จึงขออายัดเงินตามหนังสือยินยอมดังกล่าวไม่ได้
มีข้อสงสัยสอบถามทนายคลายทุกข์สอบถาม 081-6161425 นะครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2535
    การที่ส.ซึ่งเป็นข้าราชการสำนักพระราชวังทำหนังสือยินยอมให้กองคลัง สำนักพระราชวัง หักเงินเดือนของตนส่งชดใช้หนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้นั้นมีผลเท่ากับ ส. มอบอำนาจให้จำเลยรับเงินเดือนแทนตนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลย เพราะสิทธิที่จะรับเงินเดือนของข้าราชการนั้นโอนกันไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ย่อมจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้ ปัญหาที่ว่า ศาลชั้นต้นควรทำการไต่สวนคำร้องของ โจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายอายัดเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่นั้น เมื่อตามคำร้อง ของโจทก์ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งได้แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องของ โจทก์ก่อนแต่อย่างใด

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก