งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ตามกฏหมายพนักงานทุพพลภาพต้องได้อะไรบ้าง
พนักงานของบริษัทประสบอุบัติเหตุในงาน ทุพพลภาพ โดยทางบริษัทได้ส่งตัวไปรักษาโรงพยาบาลที่ทางพนักงานไม่ได้มีประกันสังคมซึ่งมีค่ารักษารวมค่าผ่าตัดที่ทางบริษัทออกให้ก่อนเป็นจำนวนเงินกว่า 300,000 บาท โดยทางบริษัทได้ยื่นเรื่องประกันสังคมได้เงินประมาณ 200,000 กว่า คือได้ไม่เต็มจำนวนและรักษาพยาบาลอย่างดีจนจบการรักษาคือหมอลงความเห็นว่าทุพพลภาพและได้ดำเนินเรื่องกับทางกองทุนจนจบสิ้นโดยทางกองทุนจ่ายเงิน 60% ให้เป็นเวลา 15 ปีแล้ว
และในช่วงที่หมอยังไม่ลงความเห็นว่าทุพพลภาพทางบริษัทก็จ่ายเงินให้ทุกเดือนเป็นเวลาประมาณ 1 ปีกว่า (คือกองทุน 60% บริษัท 40%) (และเสนอให้สินน้ำใจ 50,000 บาทและให้กลับมาทำงานได้และจะรับภรรยามาทำงานด้วยแต่เขาไม่เอาเขาว่าจะกลับบ้านที่เชียงรายค่ะ) โดยพนักงานฟ้องร้องบริษัทจะเรียกเงินอีก 400,000 บาท เพราะเขาไม่สามารถทำงานได้และทางภรรยาก็ไม่ได้ทำงานเพราะต้องดูแลสามี อยากถามว่าทางบริษัทต้องทำอย่างไรบ้างค่ะขอคำแนะนำด้วยค่ะ
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 13 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที ตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยให้นายจ้างจ่ายค่าพยาบาลโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้นายจ้างทราบ
อนึ่ง สิทธิตามกฎหมายของลูกจ้าง เมื่อได้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้าง ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพ โดยจ่ายตามประเภทของการทุพพลภาพและตามระยะเวลาที่จะต้องจ่ายตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 15 ปี ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 18(3) ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ทางกองทุนเงินทดแทนได้จ่ายเงิน 60% เป็นเวลา 15 ปีแล้ว และทางบริษัทได้จ่ายเงิน 40% เป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นกรณีที่ทางบริษัทได้ปฏิบัติการจ่ายเงินทดแทนให้แก่พนักงานตามกฎหมายแล้ว ประกอบกับทางบริษัทได้เสนอสินน้ำใจ 50,000 บาทอีกด้วย จึงถือเป็นค่าทดแทนที่ทางบริษัทเสนอจ่ายให้แก่พนักงาน ซึ่งสิทธิได้รับค่าทดแทนดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิตามกฎหมายที่ทางพนักงานมีสิทธิได้รับเงื่อประสบอันตราย เนื่องจากการทำงานให้แก่บริษัทนายจ้างนั้น
เพราะฉะนั้น หากพนักงานคนนั้น ไม่พอใจในจำนวนค่าทดแทนที่ได้รับ ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้เขาไปฟ้องคดีต่อศาลเรียกค่าทดแทนเอาเอง เพื่อให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตัดสินต่อไป
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
มาตรา 13 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้าเมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้นายจ้างทราบ
มาตรา 18 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(3) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพ โดยจ่ายตามประเภทของการทุพพลภาพและตามระยะเวลาที่จะต้องจ่ายตามที่กระทรวงแรงงาน*ประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบห้าปี