หย่าแล้วฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่|หย่าแล้วฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

หย่าแล้วฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หย่าแล้วฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

คุณพรชฏา ตั้งกระทู้ถามเข้ามาที่เว็บไซต์ www.decha.com เรื่องหย่าแล้วฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

บทความวันที่ 3 เม.ย. 2550, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 22091 ครั้ง


หย่าแล้วฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

หย่าแล้วฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

 

คุณพรชฏา  ตั้งกระทู้ถามเข้ามาที่เว็บไซต์  www.decha.com   เรื่องหย่าแล้วฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

ดิฉันได้หย่ากับสามีตั้งแต่ปี 2546  เพราะเรื่องไม่ยอมช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร มีบุตรด้วยกัน 2 คน เป็นชายทั้งคู่ อายุ 12 และ 9 ปี ต่อมาได้คืนดีกัน และสามีได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านที่ดิฉันซื้อไว้ใหม่ สามีสัญญาว่าจะให้เงินเป็นค่าใช้จ่ายในบ้านและค่าเทอมลูก

ช่วงแรก ๆ ก็ให้บ้าง เพิ่มอีกเดือนละ 2000 - 3000 บาทแต่ไม่สม่ำเสมอ จำนวนเงินที่ได้เป็นประจำคือเดือนละ 4,500 บาท ปัจจุบันดิฉันได้ขอให้สามีจดทะเบียนสมรสแต่สามีไม่ยอมจดทะเบียนสมรส (เหตุผลอาจจะเป็นเพราะหวงสมบัติของเขาและดิฉันได้สังเกตพฤติกรรมว่าอาจจะมีเมียน้อย)

ที่ไม่ได้จดทะเบียนก่อนหน้านี้เพราะติดปัญหาธุรกิจ ดิฉันทนไม่ไหวกับความเห็นแก่ตัวอย่างมากของเขาและให้เขาออกจากบ้านของดิฉันไป แต่เขาไม่ยอมย้ายออกไป

1. ดิฉันสามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรจากสามีได้หรือไม่ เพราะจำนวนเงินที่ได้รับ จำนวน 4500 บาท ไม่พอใช้จ่าย เพราะดิฉันต้องจ่ายทุกอย่างภายในบ้าน และเขาก็อยู่ที่บ้านของดิฉันด้วย โดยให้หักจากเงินเดือนเลย เพราะเขาเป็นจ่ายเงินยากมาก

2. ดิฉันจะฟ้องเป็นผู้ดูแลบุตรได้หรือไม่ เพราะตอนหย่าได้ลงบันทึกไว้ว่าให้ บิดาเป็นผู้ดูแลบุตร เว้นแต่ว่าบิดาไม่สามารถดูแลบุตรให้ได้ความสุขทางกายและจิตใจได้ แต่ในความเป็นจริง เขาไม่เคยมาดูแลลูกเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน ชีวิตประจำวัน การพาไปเที่ยวพักผ่อนต่าง ๆ

3. ดิฉันจะฟ้องขับไล่เขาออกไปจากบ้านของดิฉันได้อย่างไร ไล่อย่างไรก็ไม่ยอมไป

 

คำแนะนำทนายคลายทุกข์

1. ได้ โดยให้ปรึกษาทนายยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชน เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นรายเดือน

2. คุณสามารถฟ้องเพิกถอนอำนาจปกครองของบิดา โดยให้คุณใช้อำนาจปกครองแต่ผู้เดียวได้ครับ

3. คุณสามารถฟ้องขับไล่เขาออกจากบ้านคุณได้ทันที ถ้าเขายังหน้าด้านอยู่

           

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 180

หย่ากับสามี เรียกร้องให้จ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร แต่ไม่เคยได้รับค่าเลี้ยงดู สามารถฟ้องอย่างไรได้บ้างคะ 

โดยคุณ ดอกไม้ 5 ส.ค. 2566, 00:37

ความคิดเห็นที่ 179

ตอบความคิดเห็นที่ 176

ดิฉันได้ทำการหย่ากับสามีโดยตกลงกันด้วยดี โดยอำนาจในการคุ้มครองดูแลบุตรลงไว้เป็นของแม่ ส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆของบุตรพ่อและแม่ช่วยกัน แต่หลังจากหย่าบุตรอยู่ในความดูแลของแม่ ส่วนพ่อได้ทำการตกลงกันว่าจะส่งให้ลูกเดือนละ 3,000-3,500 บาท โดยไม่ได้ลงไว้ท้ายใบหย่าเป็นการตกลงกันเอง แต่ที่ส่งให้ลูกตามจริงเพียงแค่ 2,000 บาทแล้วบางครั้งมีการพูดว่าจะไม่ส่งให้ลูก ซึ่งจำนวนเงินที่ส่งให้นั้นไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายของลูก อย่างนี้เราสามารถฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรเพิ่มเติมได้ไหมคะ

โดยคุณ มินทรา 2 พ.ค. 2565, 23:39

ความคิดเห็นที่ 178

ดิฉันตกลงกับสามีตอนที่ไปหย่าว่าสามีจะเป็นผู้ส่งเสียค่าเลี้ยงดูบุตรเพราะบุตรอยุ่กับดิฉันทั้ง2คนแต่ถ้าต่อไปค่าใช้จ่ายมันมากขึ้นดิฉันสามารถขอเพิ่มจากที่เค้าเคยส่งให้ได้รึป่าวส่วนค่าเทอมดิฉันไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ในตอนหย่าว่าจะช่วยกันรับผิดชอบดิฉันสามารถเพิ่มข้อนี้ได้มั้ยเพื่อที่จะให้เค้าช่วยรับผิดชอบเช่นกัน
โดยคุณ อาภรณ์ หาญวิชาชัย 13 มิ.ย. 2562, 19:43

ความคิดเห็นที่ 177

หย่าก่ะสามีมา 2 ปีแล้ว แต่ได้ลงบันทึกว่าจะต้องให้สามีจ่ายค่าเลี้ยง เพราะคิดว่าเขาคงจะจ่ายให้ไม่ได้เรียกร้องว่าเท่าไหร่ แต่เขาไม่เคยจ่ายเลยสักบาท เรามีสิทธิ์ฟ้องเอาเงินค่าเลี้ยงดูได้ไหมค่ะ

โดยคุณ นันทพร ต่างใจ 15 พ.ค. 2562, 00:50

ตอบความคิดเห็นที่ 177

คือจริงๆ จะถามว่า ไม่ได้เขียนตกลงว่าสามีจะจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร คือรอให้เขาให้เองเท่าไหร่ก็ได้ แต่เขาไม่เคยให้เลย และตอนนี้ดิฉันมีสามีใหม่แล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียน ฟ้องเอาค่าเลี้ยงดูบุตรได้ไหมค่ะ#ขอโทษด้วยค่ะที่พิมผิด

โดยคุณ นันทพร ต่างใจ 15 พ.ค. 2562, 00:55

ความคิดเห็นที่ 176

ดิฉันหย่ากับสามีมานานหลายปีแล้วซึ่งในใบหย่าได้จดบันทึกใว้ว่าดิฉันเป็นผู้ปกครองบุตรทั้งสามคนแต่เพียงผุ้เดียวดิฉันสามารถฟ้องเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้มั่ยค่ะ

โดยคุณ ปานภัสส์ บุญญานาม 30 เม.ย. 2562, 11:43

ตอบความคิดเห็นที่ 176

ดิฉันได้ทำการหย่ากับสามีโดยตกลงกันด้วยดี โดยอำนาจในการคุ้มครองดูแลบุตรลงไว้เปนของแม่ ส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆของบุตรพ่อและแม่ช่วยกัน แต่หลังจากหย่าบุตรอยู่ในความดูแลของแม่ ส่วนพ่อได้ทำการตกลงกันว่าจะส่งให้ลูกเดือนละ 3,000-3,500 บาท แต่ที่ส่งให้ลูกตามจริงเพียงแค่ 2,000 บาทและไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายของลูก อย่างนี้เราสามารถฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรได้ไหมคะ

โดยคุณ มินทรา 2 พ.ค. 2565, 23:35

ความคิดเห็นที่ 175

ดิฉันหย่ากับสามีตอนที่ยังอยู่ด้วยกันดีที่จ.ระยองคะอยู่บ้านที่เขากู้เป็นชื่อเขาเอง  โดยที่เขาอ้างว่าขอหย่ากันเพื่อเหตุผลทางธุรกรรมทางกฎหมายเรื่ิองอื่นๆของเขา เขาพูดจาดีมากบอกว่าค่อยมาเซ็นใบสมรสกันทีหลังได้ ดิฉันก็ยอมไปเซ็นหย่าให้แต่ไม่ได้บันทึกอะไรหลังใบหย่าเลย เพราะดิฉันรู้ไม่ทันเขาว่าเขาคิดอะไรอยู่เป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก 2 คน 8 ขวบ กับ 5 ขวบ  พออยู่ไปไม่นานเขาก็ไม่ดีกับฉันพูดจาไม่สุภาพกดดัน บอกว่าดิฉันไม่เคยช่วยค่าบ้าน เพราะไม่ได้มีงานทำเลี้ยงดูลูก ไปรร. ไม่มีญาติพี่น้องอยู่ด้วย เขาพูดขับไล่ดิฉันออกจากบ้านบอกว่าไปแต่ตัวกดดันด้วยคำพูดต่างๆนาๆ ไล่ให้ดิฉันไปหาสามีใหม่ ดิฉันทนไม่ได้ตอนนี้กลับมาอยู่บ้านภูมิลำเนาที่จ.เชีัยงรายแล้วคะ และได้หางานทำ เป็นคน รับ-ส่งลูกไปรร.เองคะ โดยที่เขาตกลงจะจ่ายค่าเลี้ยงดูลูกรายเดือน 12000 บ. / 2 คน พอมาอยู่จริงเขาโอนให้ดิฉันเพียง 8000 บ.  3 เดือนแล้วคะที่ส่งมาเท่านี้ ซึ่งไม่พอคะ  เขาบอกเหตุผลช่วยๆกันเลี้ยงเพราะดิฉันได้งานทำแล้วคะ

      ดิฉันจะโทรไปปรึกษาศูนย์ศาลเยาวชนครอบครัวจ.เชียงรายด้วยคะ ดิฉันไม่เคยคิดเลยว่าจะเป็นแบบนี้ ทั้งที่เงินเดือนตำแหน่งที่สูง  ทำงานที่บ.ในนิคมจ.ระยอง เกือบ 5 หมื่นบาทหลังจากหักประกันสังคมคะ เขาให้ได้เท่านี้ อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายของตัวเองมากส่งให้ได้เท่านี้อยากจะฟ้องก็ไปฟ้องได้เลย ดิฉันแคปไลน์บทสนทนาไว้แล้วคะ ดิฉันพอจะใช้เป็นหลักฐานได้ไหมคะ เพื่อฟ้องเขาคะ ขอบพระคุณอย่างสูงคะ

โดยคุณ น.สนงลักษณ์ หน่อขัติ 31 ก.ค. 2560, 09:59

ความคิดเห็นที่ 174

 ขอคำปรึกษาหย่ากับสามีมาหลายปีแล้วแต่เขาไม่เคยส่งเสียแต่มีสัญญาทำไว้ตอนหย่าจะฟ้องร้องได้มั้ยคะ

โดยคุณ สุวภัทร อินทโมรา 9 ก.พ. 2560, 14:56

ตอบความคิดเห็นที่ 174

 หากสามีไม่ปฏิบัติตามบันทึกท้ายการหย่าย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของท่านตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ท่านสามารถใช้สิทธิฟ้องคดีให้สามีของท่านปฏิบัติตามบันทึกท้ายการหย่าได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 16 มี.ค. 2560, 11:20

ความคิดเห็นที่ 173

 หากสามีไม่ปฏิบัติตามบันทึกท้ายการหย่าย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของท่านตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ท่านสามารถใช้สิทธิฟ้องคดีให้สามีของท่านปฏิบัติตามบันทึกท้ายการหย่าได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 16 มี.ค. 2560, 11:20

ความคิดเห็นที่ 172

 ผมอยากถามว้าผมจะหย่ากับแฟนผมซึ่งได้แยกท้างทางประมาณ3ปีแล้วผมกับเขามีบุตรหนึ่งคนซึ่งตัวผมได้ดูแลอยู่แต่ฝ่ายผู้หญิงได้หนีไปอยูกับแฟนใหม่ครอบครัวให่มก่อนผมและผมติดต่อไม่ได้เลยและเขาก็ไม่เคยติดต่อมาและมีวิธีไหนทีผมจะขอหย่าได้ครับ

โดยคุณ นายอดิศักดิ์ มาลัยทอง 3 ก.พ. 2560, 20:55

ความคิดเห็นที่ 171

 พอดีคุณพ่อเป็นตำรวจได้ทำสัญญาเมื่อหย่ากับคุณแม่ว่าจะเลี้ยงดูบุตรจนกว่าจะเกษียณถ้าพ่อไม่จ่ายค่าเลี้ยงดูเราฟ้องไปแล้วถ้าเงินเดือนเค้าไม่พอให้ตามที่สัญญาไว้จะมีผลยังไงบ้างคะ (แต่ในความเป็นจริงคุณพ่อส่งให้ได้เพราะมีงานนอกที่ทำอยู่ด้วยเช่นรับจ้างเข้าเวรเฝ้าร้านทองงานอีเว้นแต่มันเป็นเงินนอกจากเงินเดือนข้าราชการ ศาลเลยไม่เห็น)

โดยคุณ คุณกระต่าย 2 ม.ค. 2560, 16:31

ความคิดเห็นที่ 170

 ดิฉันได้หย่าขาดกับสามีเก่าแล้วเป็นเวลา 1 ปี ณ ปัจจุบัน ดิฉันมีสามีใหม่ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนกัน ส่วนสามีเก่าพอทราบเรื่องว่าดิฉันมีสามีใหม่แล้ว จะไม่ส่งค่าเลี้ยงดูบุตร ในใบหย่า ไม่มีสลักหลังไว้ แต่ได้ตกลงกันไว้ว่าสามีเก่าจะส่งเสียเลี้ยงดูบุตร จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ อยากสอบถามว่าสามีเก่าเป็นบุคคลว่างงาน แล้วจะไม่ส่งเสียค่าเลี้ยงดูบุตร ดิฉันสามารถฟ้องร้องได้มั้ยคะ

โดยคุณ เดือนร้อนจริงๆ 1 ส.ค. 2559, 22:32

ตอบความคิดเห็นที่ 170

 กรณีที่สามีท่านไม่ทำการส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามที่ตกลงกันไว้ท้ายทะเบียนหย่า ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของท่านตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ท่านจึงสามารถนำบันทึกท้ายทะเบียนหย่าไปฟ้องร้องให้สามีรับผิดชำระค่าเลี้ยงดูบุตรตามที่ตกลงกันไว้ในการหย่าได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 3 ส.ค. 2559, 11:04

ความคิดเห็นที่ 169

 กรณีที่สามีท่านไม่ทำการส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามที่ตกลงกันไว้ท้ายทะเบียนหย่า ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของท่านตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ท่านจึงสามารถนำบันทึกท้ายทะเบียนหย่าไปฟ้องร้องให้สามีรับผิดชำระค่าเลี้ยงดูบุตรตามที่ตกลงกันไว้ในการหย่าได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 3 ส.ค. 2559, 11:04

ตอบความคิดเห็นที่ 169

หย่ากับสามีแล้วส่งแค่ไม่กี่เดือนแล้วก็ไม่ส่งติดต่อไม่ได้จะทำอย่างไรคะ

โดยคุณ BUSSARAPORN 11 มิ.ย. 2560, 07:23

ความคิดเห็นที่ 168

 ดิฉันได้ฟ้องหย่าและเรียกร้องค่าเลี้ยงดู ส่วนค่าเล่าเรียนและค่ารักษาพยาบาลได้ร่วมกันจ่ายคนละครึ่ง ซึ่งศาลมีคำสั่งให้จ่ายจากคำไกล่เกลี่ยเมื่อ 11 กันยายน 2558 ซึ่งอดีตสามี จะจ่ายให้ช้ากว่าที่ศาลสั่งหรือต้องรอให้เราทวงถามถึงจะยอมจ่าย และตอนนี้เลยเวลาจ่ายมาแล้วทั้งที่เลยกำหนดจ่ายและไม่ทวงถามแล้ว อยากถามว่าถ้าเราขอให้ศาลเปลี่ยนเป็นยึดทรัพย์ที่เคยเป็นชื่ออดีตสามีแทนจะได้หรือไม่ เพราะเกรงว่าหากนานไป ทางอดีตสามีจะอ้างว่าไม่มีเงินจ่ายให้แล้วไม่ยอมจ่าย และทรัพย์ที่เคยมีการทำการโอนย้ายถ่ายเท หรือทำการขายไปหมดแล้ว จึงรบกวนปรึกษาค่ะ ตอนนี้ทุกข์ใจมากไม่รู้จะพึ่งใครค่ะ ช่วยตอบด่วนนะค่ะ 

โดยคุณ ดา 18 ม.ค. 2559, 08:37

ความคิดเห็นที่ 167

 ดิฉัน อย่ากับสามีแล้ว มีลูก 1 คน ลูกอยู่กับดิฉัน แต่ แฟน ไล่ให้ออกจากบ้าน ทำยังไงก็ไม่ไป มีวิธีไหนบ้างค้ะ แจ้งความได้ไหม

โดยคุณ ลัดดาวัลย์ 11 พ.ย. 2558, 09:11

ตอบความคิดเห็นที่ 167

ท่านอาจแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับอดีตสามีความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 364 ก็ได้ในฐานะเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 2(4), 123
 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 8 ธ.ค. 2558, 10:08

ความคิดเห็นที่ 166

ท่านอาจแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับอดีตสามีความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 364 ก็ได้ในฐานะเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 2(4), 123
 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 8 ธ.ค. 2558, 10:08

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก